แม้ว่าคุณผู้อ่านจะเข้าสู่วัยทองแล้ว และหลายคนอาจมองว่าวัยทอง คือ จุดสิ้นสุดของชีวิต เพราะเป็นช่วงที่เราอาจจะต้องวางแผนในการหยุดทำสิ่งต่างๆ แต่อยากจะบอกคุณผู้อ่านทุกคนว่า วัยทองเปรียบเสมือนเป็นช่วงเวลาพิเศษของชีวิตที่เราได้ผ่านประสบการณ์มามากมาย มีความพร้อมทั้งวุฒิภาวะและความเข้าใจในชีวิต เพราะชีวิตยังดำเนินต่อไปเรื่อยๆ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นช่วงที่ร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ต้องการการดูแลเอาใจใส่มากขึ้น ซึ่งการมีเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้เราใช้ชีวิตในวัยทองได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพ
มาลองเริ่มค้นหา…และเริ่มต้นชีวิตในบทใหม่ที่คุณผู้อ่านสามารถใช้ประสบการณ์และความเข้าใจที่สั่งสมมาสร้างความสุขและความสำเร็จได้อย่างลงตัว ปี 2025 จึงเป็นโอกาสดีที่เราจะวางแผนและตั้งเป้าหมายใหม่ๆ ให้ชีวิต
เป้าหมาย 5 ด้าน ที่อยากให้วัยทองทุกคนตั้งเป้าไปให้ถึง
เป้าหมายที่ 1: สุขภาพกายแข็งแรง หัวใจฟิต
สุขภาพกายเป็นรากฐานสำคัญของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในวัยทอง การดูแลสุขภาพอย่างเป็นระบบจะช่วยให้คุณผู้อ่านสามารถใช้ชีวิตได้อย่างกระฉับกระเฉง และลดความเสี่ยงจากโรคต่างๆ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญสู่การมีสุขภาพที่ดีในวัยทอง การออกกำลังกายที่ดีจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ปรับปรุงการทรงตัว เสริมสร้างสุขภาพหัวใจ และช่วยให้จิตใจแจ่มใส มาลองดูกันว่าวันนี้เรารวบรวมท่าออกกำลังกายอะไรมาฝากคุณผู้อ่านกันบ้าง
1. การเดินเร็ว กิจกรรมพื้นฐานง่ายๆ ที่มีประโยชน์มหาศาล
การเดินเป็นการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุดและปลอดภัยที่สุด เพราะสามารถทำที่ไหน เวลาใดก็ได้ที่คุณผู้อ่านมีความสะดวกที่จะทำ แต่จะให้ได้ประโยชน์สูงสุด ก็ต้องมีเทคนิคการเดินที่ถูกต้อง เพราะนอกจะช่วยให้ได้ประโยชน์สูงสุดแล้ว ยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บ สร้างสุขภาพดีไปกับวัยทอง (16/12)
- ท่าทางการเดิน ยืดตัวตรง ไม่ก้มหน้าจนคอตั้งฉาก มองตรงไปข้างหน้าประมาณ 10 – 15 เมตร เพื่อให้คอและหลังอยู่ในแนวที่เหมาะสมต่อการเดิน
- การแกว่งแขน แกว่งแขนเป็นจังหวะธรรมชาติ โดยงอข้อศอกเล็กน้อย 90 องศา แกว่งแขนสลับกับขาตรงข้าม จะช่วยให้การเดินมีความสมดุลและเผาผลาญพลังงานได้มากขึ้น
- การหายใจ หายใจเข้าออกลึกๆ และสม่ำเสมอทางจมูก จังหวะการหายใจควรสัมพันธ์กับการก้าวเดิน เช่น หายใจเข้า 2 ก้าว หายใจออก 2 ก้าว
- การลงน้ำหนักที่เท้า เริ่มจากส้นเท้า กลิ้งไปที่ฝ่าเท้า และดันด้วยปลายเท้า ย่อเข่าเล็กน้อยขณะก้าวเพื่อลดแรงกระแทกที่ข้อเข่า
สำหรับผู้เริ่มต้นใหม่ ควรเริ่มต้นจากการค่อยๆ เดินช้าๆ สบายๆ อย่างน้อย 15 นาทีต่อวัน ก่อนเพิ่มความเข้มข้นและระยะเวลา รวมถึงเส้นทางการเดินที่ท้าทายมากขึ้น เพื่อให้ร่างกายค่อยๆ ปรับตัวไปทีละนิดนั้งเอง
2. การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ
การสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมีความสำคัญมากในวัยทอง เพราะจะช่วยชะลอการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ เพิ่มความมั่นคงให้กับข้อต่อ และช่วยป้องกันการหกล้มที่อาจเกิดขึ้นได้อีกด้วย มาดูท่าออกกำลังกายพื้นฐานที่เหมาะสมและทำตามได้ง่ายๆ กัน
- ท่านั่งลุกยืนกับเก้าอี้
ท่านี้เป็นท่าที่จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและสะโพกได้เป็นอย่างดี เริ่มต้นจากการให้คุณผู้อ่าน มองหาเก้าอี้ในบ้านที่มั่งคงสัก 1 ตัว มีระยะความสูงที่สามารถลุกนั่งได้พอดีและสบาย จากนั้นวางเท้าห่างกันเท่ากับไหล่ของตัว หันปลายเท้าออกเล็กน้อย ค่อยๆ นั่งลงช้าๆ ระหว่างนั้นให้ยื่นก้นไปด้านหลัง เมื่อนั่งลงแล้วลุกขึ้นยืนกลับมาอีกครั้ง โดยใช้กำลังขาและไม่ใช้แรงดันจากมือ
- ให้ทำ 8 – 12 ครั้งต่อเซ็ต
- พักระหว่างเซ็ต 1 นาที
- ทำ 2 – 3 เซ็ตต่อวัน
- ท่ายกแขนด้านข้าง
ท่านี้มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อไหล่และต้นแขนของวัยทองให้มีความแข็งแรงและกระชับ เฟิร์มมากยิ่งขึ้นผ่านการเล่นดัมเบิลนั้นเอง โดยให้คุณผู้อ่านหรือผู้เริ่มต้น เริ่มด้วยดัมเบลน้ำหนักเบาประมาณ 0.5 – 1 กิโลกรัม จากนั้นยืนตัวตรงแขนแนบลำตัว และค่อยๆ ยกแขนขึ้นด้านข้างช้าๆ จนขนานกับพื้น และค่อยๆ ลดแขนลงช้าๆ จนกลับสู่ท่าเริ่มต้น
- ทำ 10-15 ครั้งต่อเซ็ต
- พัก 1 นาที
- ทำ 2 – 3 เซ็ตต่อวัน
- ท่าบริหารกล้ามเนื้อหลัง
คุณผู้อ่านหรือวัยทองท่านใดที่มีการอาการปวดหลังจะต้องชอบท่านี้อย่างแน่นอน เพราะสามารถช่วยลดอาการปวดหลังอยู่ด้วยได้นั้นเอง เริ่มจากให้คุณผู้อ่านยืนห่างจากผนังห้องประมาณ 1 ฟุต และค่อยๆ พิงหลังไปชิดกับผนัง เท้าห่างจากผนังเล็กน้อย เลื่อนแขนขึ้นลงช้าๆ จากผนัง ขณะเดียวกันต้องพยายามให้หลังชิดกำแพงอยู่เสมอตลอดการเคลื่อนไหว
- ทำ 10 ครั้งต่อเซ็ต
- พัก 1 นาที
- ทำ 2 – 3 เซ็ตต่อวัน
3. การควบคุมน้ำหนัก
เมื่อก้าวเข้าสู่วัยทอง ร่างกายของคุณผู้อ่านจะมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง โดยเฉพาะเรื่องฮอร์โมนและการเผาผลาญทางร่างกายที่ช้าลง ทำให้เสี่ยงต่อการเพิ่มน้ำหนักได้ง่าย การดูแลเรื่องน้ำหนักและอาหารการกินจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะจะช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคกระดูกพรุน ยังสามารถช่วยลดน้ำหนักของวัยทองได้ดีอีกด้วย (11/12)
1. ตั้งเป้าหมายน้ำหนักที่เหมาะสม
การคำนวณค่า BMI (ดัชนีมวลกาย) ค่า BMI เป็นตัวบ่งชี้ว่าน้ำหนักของเราอยู่ในเกณฑ์ใด โดยคำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูง วิธีคำนวณทำได้โดยนำน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง เช่น
คนที่มีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม สูง 160 เซนติเมตร
(1.60 เมตร) BMI = 60 ÷ (1.60 × 1.60) = 23.4
ค่า BMI ที่ได้สามารถแปลผลได้ดังนี้
- ต่ำกว่า 18.5 แสดงว่าผอมเกินไป อาจขาดสารอาหารบางอย่าง
- 18.5 – 24.9 คือ น้ำหนักที่เหมาะสม ควรรักษาไว้
- 25.0 – 29.9 คือ น้ำหนักเกิน ควรระวังและควบคุมอาหาร
- 30.0 ขึ้นไป ถือว่าอ้วน เสี่ยงต่อโรคต่างๆ ควรปรึกษาแพทย์
2. การวางแผนอาหารที่เหมาะสม
โปรตีน – ช่วยรักษามวลกล้ามเนื้อและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
- ควรรับประทาน 1 – 1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
- เลือกโปรตีนคุณภาพดี เช่น
- ปลาทะเล (มีโอเมก้า 3 สูง)
- เนื้อไก่ส่วนอก (โปรตีนสูง ไขมันต่ำ)
- ไข่ขาว (ย่อยง่าย ไขมันต่ำ)
- ถั่วเมล็ดแห้ง (มีใยอาหารและแร่ธาตุ)
- เต้าหู้ ถั่วเหลือง (ดีสำหรับผู้หญิงวัยทอง)
คาร์โบไฮเดรต – ให้พลังงานแก่ร่างกาย
- เลือกคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ที่มีใยอาหารสูง เช่น
- ข้าวกล้อง (วิตามินบี ใยอาหาร แร่ธาตุสูง)
- ขนมปังโฮลเกรน (ย่อยช้า น้ำตาลในเลือดขึ้นช้า)
- มันเทศ (วิตามินเอสูง ใยอาหารดี)
- หลีกเลี่ยงน้ำตาลและแป้งขัดขาว เพราะทำให้น้ำหนักขึ้นง่าย
ผักและผลไม้ – แหล่งวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ
- ผักสีเขียวเข้ม เช่น คะน้า ผักบุ้ง บรอกโคลี
- อุดมด้วยวิตามินเค ช่วยในการแข็งตัวของเลือด
- มีแคลเซียมสูง ช่วยบำรุงกระดูก
- มีใยอาหารมาก ช่วยระบบขับถ่าย
- มีธาตุเหล็ก ป้องกันภาวะโลหิตจาง
- ผักสีส้ม/แดง เช่น แครอท มะเขือเทศ ฟักทอง
- มีเบต้าแคโรทีน ช่วยบำรุงสายตา
- มีไลโคปีน ช่วยต้านมะเร็ง
- มีวิตามินซีสูง เสริมภูมิคุ้มกัน
- ช่วยชะลอความเสื่อมของผิวพรรณ
- แอปเปิ้ล มีใยอาหารสูง ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด
- ส้ม วิตามินซีสูง ช่วยการดูดซึมธาตุเหล็ก
- กล้วย โพแทสเซียมสูง ช่วยควบคุมความดัน
- มะละกอ เอนไซม์ช่วยย่อย มีวิตามินซีสูง
ไขมันดี – จำเป็นต่อการดูดซึมวิตามินและการทำงานของระบบประสาท
- น้ำมันมะกอก มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ดีต่อหัวใจ
- อะโวคาโด มีไขมันดี ช่วยลดคอเลสเตอรอล
- ถั่วและเมล็ดพืช มีโอเมก้า 3 และวิตามินอี
- ปลาทะเลน้ำลึก มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง ดีต่อสมอง
และสุดท้ายกับการดื่มน้ำเปล่า น้ำเปล่ามีความสำคัญมากต่อวัยทอง เนื่องจากร่างกายจะรู้สึกว่ากระหายน้ำน้อยลง แต่ความต้องการน้ำยังคงมีเท่าเดิม โดยแนะนำให้ดื่มน้ำ 8 – 10 แก้วต่อวัน ซึ่งมีส่วนช่วยในการขับถ่ายของเสืย รักษาความชุ่มชื้นให้กับผิว ป้องกันท้องผูก และช่วยควบคุมการอยากอาหารได้อีกด้วย และสุดท้าย
3. การเสริมสร้างมวลกระดูก
เพราะเมื่ออายุมากขึ้น…ในวัยทองยิ่งมีความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนสูง(04/11) การใส่ใจและให้ความสำคัญเรื่องอาหารที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและเราย้ำเตือนให้คุณผู้อ่านอยู่เสมอมา โดยสามารถหาได้จาก…
แหล่งแคลเซียมธรรมชาติ
- ผลิตภัณฑ์นม เช่น นมพร่องมันเนย โยเกิร์ต ชีส
- ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง ปลากระป๋องที่กินได้ทั้งก้าง
- ผักใบเขียวเข้ม เช่น คะน้า ผักกวางตุ้ง บรอกโคลี
การได้รับวิตามินดี:
- รับแดดอ่อนๆ ตอนเช้า 15-20 นาที
- รับประทานอาหารที่มีวิตามินดี เช่น ไข่แดง ปลาแซลมอน
- อาจต้องรับประทานวิตามินดีเสริมตามคำแนะนำของแพทย์
การดูแลเรื่องน้ำหนักและโภชนาการในวัยทองไม่ใช่เรื่องยาก หากเราเข้าใจและค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเน้นการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำให้เพียงพอ และเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ร่วมกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีและมีความสุขในวัยทองได้อย่างแท้จริง และหากท่านใดที่รู้ตัวว่าไม่มีเวลา ไม่สามารถทานตามที่แนะนำได้ และยังอยากดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีมากขึ้นกว่าเดิม
เราขอแนะนำกับนี่เลย “ดีเน่ ฟวาโวพลัส” DNAe Flavoplus และ “ดีเน่ แอนโดรพลัส DNAe Andro plus” อาหารเสริมที่ผลิตและจัดทำขึ้นมาเพื่อคนวัยทองโดยเฉพาะ เรียกได้ว่าเป็นอีกส่วนที่จะเข้ามาช่วยเติมเต็มอาการต่างๆ ที่คุณอาจพบได้เมื่อเข้าสู่วัยทอง โดยเป็นการเข้าไปบรรเทาอาการวัยทองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อาการร้อนวูบวาบ อาการนอนไม่หลับ อาการอารมณ์แปรปรวนง่าย และอื่นๆ ที่สามารถพบเจอได้ผ่านผลิตภัณฑ์สูตรคุณหมอที่คัดสรรสารสกัดจากธรรมชาติรวมไว้ให้ภายใน 1 แคปซูล
“ดีเน่ แอนโดรพลัส DNAe Andro plus” อาหารเสริมสำหรับคุณผู้ชาย เพียงทานวันละ 1 แคปซูล หลังอาหารมื้อใดก็ได้ที่สะดวก คุณก็จะได้รับคุณประโยชน์ เช่น
- ช่วยเพิ่ม สมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย
- ช่วยเพิ่ม ฮอร์โมนในเพศชายสูงอายุ – วัยทอง
- ช่วยป้องกัน โรคต่อมลูกหมาก
- ช่วยสร้าง กล้ามเนื้อ ลดอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- ช่วยเพิ่ม ในเรื่องระบบหัวใจและหลอดเลือด
- ช่วยบำรุง ไขข้อและกระดูก ต้านอักเสบ ลดอาการปวด
“ดีเน่ ฟวาโวพลัส” DNAe Flavoplus ผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับคุณผู้หญิง กับสารสกัดเด่นอย่าง “ถั่วเหลือง” ที่นำเข้าจากสเปน มีส่วนช่วยในการลดและแก้อาการร้อนวูบวาบในวัยทองได้ดี เพียงทานครั้งละ 1 แคปซูลหลังมื้ออาหารใดก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีสารสกัดตัวอื่นๆ ที่คุณหมอหลายๆ ท่านแนะนำให้ทานในมื้ออาหารสำหรับวัยทองอีก เช่น
- งาดำ ช่วยบำรุงเส้นผม ลดการอักเสบของกระดูกและข้อ
- ตังกุย บำรุงเลือดให้ไหลเวียนได้ดีขึ้น ลดอาการร้อนวูบวาบ
- แปะก๋วย เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปบำรุงสมอง ช่วยเพิ่มความจำ หลับสบาย
- อินูลิน พรีไบโอติก ช่วยปรับสมดุลทางเดินอาหารและลำไส้ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
- สารสกัด Organic แครนเบอร์รี่ ช่วยให้ผิวเรียบเนียนกระจ่างใส เพิ่มคอลลาเจน ทำให้ผิวไม่เหี่ยวย่นแก่ก่อนวัยและมีงานวิจัยว่าสามารถลดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ลดอาการแสบขัด กะปริดกะปรอยได้
มั่นใจได้กับสารสกัดเข้มข้นจากธรรมชาติ คัดเกรดพรีเมียม ที่มีเลขทะเบียน อย. มีใบวิเคราะห์การันตีสารสกัดนำเข้า มีค่าเปอร์เซนต์สารสำคัญ และไม่ตัดแต่งพันธุกรรม จากการพัฒนาสูตรและคิดค้นโดยทีมเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญจากโรงงานมาตรฐานสากล
4. การตรวจสุขภาพประจำปี
การตรวจสุขภาพประจำปีไม่เพียงช่วยในการค้นพบโรคแต่เนิ่นๆ แต่ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว การรักษาโรคในระยะเริ่มต้นมักมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าและมีโอกาสหายดีสูงกว่า ทำให้การตรวจสุขภาพประจำปีในวัยทองจึงเป็นมากกว่าการตรวจหาโรค แต่เป็นโอกาสในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ทั้งกาย ใจ และการป้องกันโรคในอนาคต การให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพจะช่วยให้คุณผู้อ่านก้าวผ่านวัยทองได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข
เป้าหมายที่ 2: สุขภาพใจเบิกบาน ชีวิตมีความสุข
สุขภาพจิตเป็นอีกมิติหนึ่งที่ต้องใส่ใจ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในวัยทองอาจส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึก ทำให้สุขภาพจิตที่ดีเป็นกุญแจสำคัญสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีในวัยทอง การดูแลจิตใจให้แจ่มใสจะช่วยให้เราสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างมั่นคงและราบรื่น เช่น การทำสมาธิ การหากิจกรรมผ่อนคลายความเครียดอย่างการฟังเพลง อ่านหนังสือ หรือทำสิ่งที่เช้า รวมถึงการสร้างทัศนคติด้านบวก ฝึกขอบคุณกับทุกอย่างที่ผ่านเข้ามา เพื่อลดความเครียดระหว่างวัน
สิ่งสำคัญ คือ การเข้าใจตนเองอย่างลึกซึ้ง เข้าใจโลก เข้าใจสัจธรรมของการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้คุณผู้อ่านมั่นคงในจิตใจมากยิ่งขึ้น
เป้าหมายที่ 3: การเงินมั่นคง วางแผนเกษียณอย่างมั่นใจ
การวางแผนการเงินเพื่อวัยเกษียณเป็นสิ่งสำคัญที่ควรเริ่มตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะจะช่วยให้ชีวิตของคุณผู้อ่านที่เมื่อเข้าสู่วัยทองนั้น มีชีวิตที่สุขสบายในบั้นปลายโดยไม่ต้องเป็นภาระของลูกหลาน การวางแผนการเงินที่ดี คื อการมองการณ์ไกลและเตรียมพร้อมสำหรับทุกสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้เราสามารถใช้ชีวิตในวัยทองได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีโดยไม่ลำบากลูกหลาน โดยเราหยิบยกง่ายๆ มาฝากดังนี้
- การประเมินค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ
การประเมินค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นหลังเกษียณอย่างละเอียดเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ เราควรพิจารณาทั้งค่าใช้จ่ายประจำและค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น
- ค่าอาหาร
- ค่าสาธารณูปโภค (น้ำ ไฟ โทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต)
- ค่าที่พักอาศัย (ค่าเช่า หรือค่าบำรุงรักษาบ้าน)
- ค่าเดินทาง
- ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ
- ค่าประกันต่างๆ (บ้าน สุขภาพ รถยนต์)
- และอื่นๆ
- การบริหารเงินออม
การบริหารเงินออมที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้เงินที่มีเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยควรคำนึงถึงหลักการสำคัญ ดังนี้
การจัดสรรเงินออมอย่างเป็นสัดส่วน
- คุณผู้อ่านควรมีการแบ่งเงินออมเป็นส่วนๆ ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน เช่น เงินใช้จ่ายประจำ เงินสำรองฉุกเฉิน และเงินลงทุนระยะยาว
- กำหนดสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
- พิจารณาผลตอบแทนที่ต้องการเทียบกับอัตราเงินเฟ้อ
เลือกการลงทุนอย่างรอบคอบ
- เลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำแต่ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้บริษัทที่มีความน่าเชื่อถือสูง
- กระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลายประเภทเพื่อลดความเสี่ยง
- รักษาสภาพคล่องให้เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายประจำและเหตุฉุกเฉิน
- ติดตามและปรับพอร์ตการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยทุก 6 เดือน
- การสร้างรายได้เสริม
การมีรายได้เสริมในวัยเกษียณช่วยเพิ่มความมั่นคงทางการเงินและรักษาคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะปัจจุบันเรียกได้ว่าเงินอยู่ท่ามกลางอากาศ อยู่ที่ว่าใครจะเป็นคนหยิบจับนำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น
- ขายสินค้าออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ
- ให้เช่าทรัพย์สินที่มี เช่น ห้องว่าง พื้นที่จอดรถ
เป้าหมายที่ 4: สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้แน่นแฟ้น
ความสัมพันธ์ในครอบครัวก็เปรียบเสมือนรากแก้วของต้นไม้ใหญ่ที่ต้องได้รับการดูแลและเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในวัยทอง วัยที่เราต้องการความรัก ความเข้าใจ และการสนับสนุนจากคนในครอบครัวมากยิ่งขึ้น การมีความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวจะช่วยให้เรารู้สึกอบอุ่น มีคุณค่า และมีความสุขในการใช้ชีวิต อาทิ
กิจกรรมครอบครัวประจำสัปดาห์
- กำหนดวันเวลาที่แน่นอน เช่น ทุกเย็นวันอาทิตย์ เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน
- เลือกกิจกรรมที่ทุกคนสนใจ เช่น ทำอาหาร เล่นเกมส์ครอบครัว ออกไปท่องเที่ยวคาเฟ่
- หมุนเวียนให้แต่ละคนได้เลือกกิจกรรมที่อยากทำ เพื่อให้ทุกคนรู้สึกมีส่วนร่วม
การรับประทานอาหารร่วมกัน
- พยายามจัดเวลาทานอาหารพร้อมหน้าพร้อมตากันอย่างน้อยหนึ่งมื้อต่อวัน หรือตามโอกาสสำคัญ
- ปิดโทรศัพท์หรือทีวีระหว่างรับประทานอาหาร เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการพูดคุยกัน และสร้างใกล้ชิดได้มากยิ่งขึ้น
- ชวนทุกคนมีส่วนร่วมในการเตรียมอาหาร ล้างจาน หรือจัดโต๊ะ ให้ทุกคนได้มีความใส่ใจในกันระและ
การท่องเที่ยวพักผ่อน
- วางแผนท่องเที่ยวครอบครัวอย่างน้อยปีละ 1 – 2 ครั้ง ร่วมกัน
- เลือกสถานที่ที่เหมาะกับทุกวัย มีกิจกรรมให้ทำร่วมกัน
- สร้างความทรงจำดีๆ ผ่านการถ่ายรูป บันทึกวิดีโอ หรือเขียนไดอารี่ท่องเที่ยว
สิ่งสำคัญ คือ การที่ทุกคนในครอบครัวได้มีการสื่อสารที่ดี พูดคุยร่วมกันที่ดี เพื่อเชื่อมความรักและความเข้าใจระหว่างทุกคนในครอบครัว ผ่านการไม่ด่วนตัดสินจากคำพูด พร้อมแสดงความตั้งใจในการรับฟังเรื่องราวต่างๆ พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมองของกันและกัน ยอมรับความแตกต่าง ไม่พยายามเปลี่ยนแปลงอีกฝ่ายนั่นเอง
เป้าหมายที่ 5: พัฒนาตนเองไม่หยุดนิ่ง
ในขณะที่หลายคนอาจมองว่าวัยทองเป็นช่วงเวลาแห่งการพักผ่อนและผ่อนคลาย แต่แท้จริงแล้ว นี่ คือ ช่วงเวลาที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาตนเอง ด้วยประสบการณ์ชีวิตที่สั่งสมมาตลอดอายุ ความเข้าใจในตนเองที่มากขึ้น และเวลาที่มีให้กับตัวเองมากขึ้น วัยทองจึงเป็นโอกาสทองในการเรียนรู้และเติบโต โดยเฉพาะโลกปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างในด้านเทคโนโลยี การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้เราก้าวทันการเปลี่ยนแปลง สามารถใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการติดต่อสื่อสารกับลูกหลาน จัดการธุรกรรมทางการเงิน หรือเข้าถึงข้อมูลความรู้ต่างๆ ได้อย่างมั่นใจ
ตลอดจนการสร้างคุณค่าและความหมายให้กับชีวิต วัยทองเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการค้นหาความหมายและเป้าหมายใหม่ของชีวิต การพัฒนาตนเองจะช่วยเปิดมุมมองใหม่ๆ ทำให้คุณผู้อ่านค้นพบความสนใจและความสามารถที่ซ่อนอยู่ บางคนอาจค้นพบงานอดิเรกที่สร้างรายได้ บางคนอาจพบความสุขในการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้อื่น
เทคนิคง่ายๆ ให้บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้
การเข้าสู่วัยทองเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในชีวิต เป็นโอกาสอันดีในการทบทวนและวางแผนชีวิตใหม่ การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้เรามีทิศทางและแรงผลักดันในการดำเนินชีวิต แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือ การลงมือทำให้เป้าหมายเหล่านั้นเป็นจริง ผ่านการกำหนดเป้าแบบ SMART หรือเป้าหมายที่ดี โดยแยกเป็น…
- Specific (เฉพาะเจาะจง)
แทนที่จะบอกว่า “อยากสุขภาพดี” ให้ระบุว่า “เราต้องการลดน้ำหนัก 5 กิโลกรัม” หรือ “เราต้องการเดินออกกำลังกายวันละ 30 นาที” เพื่อให้ร่างกายและคุณผู้อ่านได้รับฟังและทำให้เกิดผล
- Measurable (วัดผลได้)
กำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนเพื่อให้ภาพและกำลังใจการการทำต่อไปมากยิ่งขึ้น เช่น จำนวนครั้งของการออกกำลังกาย ระดับน้ำตาลในเลือด หรือเงินออม ทำออกมาให้เห็นความแตกต่าง
- Achievable (เป็นไปได้)
ตั้งเป้าหมายที่ท้าทาย…แต่อยู่ในวิสัยที่ทำได้ตามความเป็นจริง โดยคำนึงถึงข้อจำกัดด้านเวลา ทรัพยากร และความสามารถที่คุณผู้อ่านสามารถทำได้
- Relevant (สอดคล้องกับชีวิต)
เป้าหมายควรมีความสอดคล้องกับค่านิยม ไลฟ์สไตล์ และสถานการณ์ชีวิตปัจจุบัน
- Time-bound (มีกำหนดเวลา)
กำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน เช่น 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ต้องเห็นผล เพื่อให้เราไปให้ถึงฝั่งที่เราตามความต้องการ โดยไม่ไร้จุดหมายและเกิดแรงผลักดันมากยิ่งขึ้น
นอกจากการสร้างเป้าหมายในการบรรลุเป้าหมายต่างๆ ตามตั้งใจไว้แล้ว การสร้างแรงจูงใจ ก็เป็นอีกหนึ่งพลังที่ช่วยขับเคลื่อนให้คุณผู้อ่านเดินทางสู่ความสำเร็จได้ ผ่านการให้รางวัลกับตัวเองเล็กๆ น้อยๆ ระหว่างทาง เป็นการเสริมแรงบวกในการสร้างนิสัยใหม่ สิ่งสำคัญคือต้องอดทน ให้เวลากับตัวเอง และเชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง
สรุป
การตั้งเป้าหมายในวัยทองเป็นการวางแผนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว การประสบความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายต้องอาศัยความมุ่งมั่น ความอดทน และการวางแผนที่ดี อย่าลืมว่าทุกก้าวย่างมีความสำคัญ แม้จะเป็นก้าวเล็กๆ ก็ตาม การเริ่มต้นวันนี้จะนำไปสู่ความสำเร็จในวันข้างหน้า
ขอให้ปี 2025 เป็นปีแห่งการเริ่มต้นที่ดี เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะทำให้คุณภาพชีวิตในวัยทองของคุณดียิ่งขึ้น ด้วยการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและลงมือทำอย่างจริงจัง คุณจะพบว่าวัยทองเป็นช่วงเวลาที่มีคุณค่าและมีความสุขอย่างแท้จริง