คอเลสเตอรอลคืออะไร? ทำไมจึงอันตรายเมื่อสูงขึ้น

คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คือ ไขมันชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ในส่วนของผนังเซลล์ของร่างกายเรา เป็นสารตั้งแต่ที่ช่วยในการสังเคราะห์น้ำดี ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนต่อมหมากไต และยังเป็นองค์ประที่สำคัญของเยื่อหุ้มเซวล์และปลอกประสาท

คอเลสเตอรอล แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ 

  1. HDL (High-Density Lipoprotein) คอเลสเตอรอลตัวดี ที่ช่วยขนย้ายไขมันออกจากเส้นเลือด
  2. LDL (Low-Density Lipoprotein) คอเลสเตอรอลตัวร้าย ที่ก่อให้เกิดการอุดตันในเส้นเลือด

แม้คอเลสเตอรอลจะเป็นสารไขมันที่จำเป็นต่อร่างกายของเรา แต่คุณผู้อ่านเชื่อไหมว่า… ในกลุ่มที่ชื่นชอบการรับประทานอาหารเป็นชีวิตจิตใจ จนเกิด “คอเลสเตอรอลสูง” ได้กลายมาเป็นปัญหาสุขภาพที่น่าเป็นห่วงสำหรับคนวัยทอง จากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เมแทบอลิซึม และวิถีชีวิตที่ที่เปลี่ยนไปของคนในปัจจุบัน จึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย

สาเหตุของคอเลสเตอรอลสูงในวัยทอง

1. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

เมื่อเข้าสู่วัยทอง ฮอร์โมนเอสโตรเจนเริ่มลดลง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระดับคอเลสเตอรอล โดยเฉพาะในผู้หญิงหลังวัยหมดประจำเดือน

2. พฤติกรรมการกิน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าอาหารประเทศไทยมันช่างล่อตาล่อใจ เมนูไหนก็อร่อยไปหมด แต่การที่ทานทุกอย่างโดยไม่เลือกรับประทาน ก็ทำให้คุณคอเลสเตอรอลสูงในวัยทองได้ โดยเฉพาะเมนูยอดนิยมอย่างของทอด หมูกระ เป็นต้น

  • การบริโภคอาหารไขมันสูง
  • ทานเนื้อสัตว์ติดมัน
  • ชอบของทอด และอาหารแปรรูป

3. ขาดการออกกำลังกาย

การใช้ชีวิตที่เนือยนิ่งและขาดการเคลื่อนไหวเป็นประจำ ทำให้ระบบการเผาผลาญในร่างกายทำงานได้ไม่ดี จนเกิดการสะสมไขมันในร่างกาย ซึ่งอาจทำให้คุณผู้อ่านเข้าสู่โรคอ้วน และมีโรคอื่นๆ ตามมา

4. ความเครียด

ไม่เชื่อ! ก็ต้องเชื่อ เพราะความเครียดเรื้อรังนั้นส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลสูงขึ้น เพราะความเครียดกระตุ้นให้ร่างกายผลิตพลังงานเพิ่มขึ้นในรูปของสารให้พลังงานอย่าง กรดไขมัน และกลูโคส สารเหล่านี้จะทำให้ตับของคุณผู้อ่านเพิ่มการผลิตและหลัง LDL คอเลสเตอรอลตัวร้ายนั่นเอง

5 อาหารหาทานง่าย ลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย

  1. ปลาที่มีกรดไขมันดี

ปลาหลายชนิดในท้องตลาดมีกรดไขมันโอเมก้า ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจ และอาจช่วยลดระดับไตรกีเซอไรด์ ลดความดัน และเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดดีให้มากขึ้น เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า หรือปลาแมคเคอเรล เป็นต้น

  1. ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเหลือง

ถั่วเหลืองเป็นหนึ่งในพืชตระกูลถั่วที่ส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจ ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี และเพิ่มประมาณคอเลสเตอรอลชนิดดีให้มากขึ้น รวมถึงผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองต่างๆ เช่น น้ำหู้ หรือนมถั่วเหลือง

  1. น้ำมันมะกอก

น้ำมันมะกอก มีกรดไขมันดี ที่อาจช่วยเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดดี รวมถึงลดชนิดไม่ดี นอกจากนี้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ และลดการอักเสบได้ด้วย

  1. ผักและผลไม้

อโวคาโด อุดมไปด้วยไขมันดีและใยอาหาร สามารถทานเล่น ทำเป็นอาหารหลักอย่างสลัดผัก หรือทำเป็นแซนวิชก็ได้ ซึ่งจะกินแบบไหนก็ให้รสชาติที่อร่อยและมีประโยชน์ต่อวัยทอง

กระเทียม นับเป็นผักอีกชนิดที่มีสารอาหารสำคัญประกอบอยู่เยอะ หนึ่งในนั้นสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลรวมและคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีผักใบต่างๆ เช่น คะน้า ฝรั่ง รวมถึงผลไม้อย่าง ส้ม เม็ดแมงลัก เพื่อให้ร่างกายได้รับกากไยมากขึ้น ลดการดูดซึมไขมันสู่ร่างกายน้อยลงนั่นเอง

  1. ธัญพืช

ธัญพืชหลากหลายชนิดนับว่ามีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเราขอแนะเป็นในส่วนของข้าวโอ๊ต และข้าวบาร์เลย์ เพราะทั้งสองชนิดนี้อัดแน่นไปด้วยไฟเบอร์อย่างสารเบต้ากูลแคนอัน ที่มีส่วนช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลรวมและชนิดไม่ดี ให้คุณห่างไกลจากคอเลสเตอรอลสูงในวัยทอง

สำหรับคุณผู้อ่านท่านใดที่ไม่สามารถรับประทานมื้อหลักให้ได้สารอาหารที่ครบถ้วน และยังอยากหาสารอาหารที่มีประโยชน์ ดีต่อร่างกาย รวมถึงยังช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นในช่วงวัยทองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลาง นอนไม่หลับ เราขอแนะนำอาหารเสริม…

ดีเน่ ฟลาโวพลัส (DNAe Flavoplus) อาหารเสริมวัยทองสำหรับคุณผู้หญิงที่มีสารสกัดเข้มข้นจากธรรมชาติเกรดนำเข้า โดยคัดสรรผลิตจากธรรมชาติที่มั่นได้ว่าปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย และผ่านการรับรองด้วยมาตรฐานจาก อย. มีงานวิจัยรองรับมากถึง 7 ชนิด อาทิ

  • ถั่วเหลือง นำเข้าจากสเปน ที่มีงานวิจัยรองรับว่ามีไฟโตเอสโตรเจนแบบเดียวกับฮอร์โมนที่ช่วยลดอาการวัยทองต่างๆ ดีต่อสุขภาพหัวใจ เพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลชนิดดีให้กับร่างกาย
  • อินูลิน พรีไบโอติก นำเข้าจากเบลเยี่ยม ปรับสมดุลทางอาหารและลำไส้ ให้คุณดูดซึมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายได้ดีขึ้น เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

นอกจากนี้ยังมีสารกัดสำคัญอีกมากมายที่ช่วยส่งเสริมให้สุขภาพชีวิตของผู้รับประทานมากถึง 6 ชนิดด้วยกัน ผลิตโดยคุณหมอและเภสัชกร มั่นใจได้ว่าปลอดภัย ไม่ก่ออันตรายต่อร่างกาย เพียงทานครั้งละ 1 แคปซูล หลังอาหารมื้อที่สะดวก เพียงเท่านี้คุณก็ได้ดูแลตนเองไปมากขึ้นอีกหนึ่งระดับ

อาหารที่ต้องระวังและหลีกเลี่ยง

  1. เนื้อสัตว์ติดมันและอาหารไขมันสูง เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู แกงกะทิ เป็นต้น
  2. ของทอด เช่น ลูกชิ้นทอด ไก่ทอด กล้วยแขก ปาท่องโก๋ เป็นต้น
  3. อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก ลูกชิ้นต่างๆ เป็นต้น
  4. ขนมหวาน น้ำหวานต่างๆ เช่น ชานมไข่มุก เค้ก พาย โดนัท น้ำอัดลม เป็นต้น
  5. เครื่องในสัตว์ โดยเฉพาะที่มีติดหนัง ติดมัน
  6. ไข่แดง

วิธีป้องกันคอเลสเตอรอลสูงในวัยทอง

1. การออกกำลังกาย

คุณผู้อ่านเชื่อหรือไม่ว่า… การออกกำลังกายนอกจากจะเสริมสร้างสุขภาพ สร้างกล้ามเนื้อ ให้ร่างกายมีความแข็งแรง ทนทานต่อโรคภัยแล้ว ยังสามารถลดระดับคอเลสเตอรอลลงได้ หากออกกำลังกายหนักเป็นเวลา 40 นาที 3 – 4 วันต่อสัปดาห์ หรือ 150 นาที สัปดาห์ โดยเริ่มจากการออกกำลังกายในแบบที่ชอบ หรือออกกำลังกาย เช่น

  • การเดินเร็ว
  • การว่ายน้ำ
  • การปั่นจักรยาน
  • แอโรบิก

2. การควบคุมอาหารเพื่อลดคอเลสเตอรอลสูงในวัยทอง

เพราะคอเลสเตอรอสูงในวัยทอง สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายจากการรับประทานอาหาร ดังนั้น คุณผู้อ่านควรเริ่มต้นจากการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ คำนวณปริมาณแคลอรี่หรือพลังงานที่ได้รับต่อวัน ก็สามารถช่วยลดลงได้ แล้วอาหารอะไรบ้างที่ควรรับประทาน…

  • เพิ่มผักและผลไม้เพื่อเพิ่มปริมาณไฟเบอร์ วิตามิน ธัญพืช ถั่วเหลือง
  • รับประทานโปรตีนไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา หรือเนื้อไก่
  • ดื่มน้ำให้มากขึ้น
  • ปรุงอาหารผ่านนึ่ง ย่าง แทนการทอด
  • ลดอาหารไขมันสูง ผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันเต็มส่วน อาหารทอด อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก

3. การตรวจสุขภาพประจำปี

คุณผู้อ่านควรตรวจสุขภาพ ด้วยการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี เพื่อป้องกันภัยจากโรคคอเลสเตอรอลสูงในเลือด

โรคที่เกิดจากคอเลสเตอรอลสูง

เพราะคอเลสเตอรอลไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับคนอ้วนเท่านั้น สามารถได้ขึ้นได้ทั้งกับคนผอม คนอ้วน และคนปกติทั่วไป เพราะส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง จากกรรมพันธ์ และโรคต่างๆ ซึ่งหากปล่อยให้คอเลสเตอรอลสูงมากเกินไป จะเป็นใบเบิกทางให้เกิดสารพัดโรคตามมา เช่น

  1. โรคหัวใจ
  2. โรคหลอดเลือดตีบ
  3. โรคหลอดเลือดสมอง
  4. โรคความดันโลหิตสูง

สรุป

แม้ “คอเลสเตอรอลสูงในวัยทอง” จะเป็นปัญหาที่สามารถพบเจอได้ในทุกคน แต่ก็เป็นปัญหาที่สามารถป้องกันและควบคุมได้ ด้วยการใส่ใจของตัวเราเอง จากการเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อร่างกาย การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดี และการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้คุณใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข