ทำความเข้าใจอาการขาดฮอร์โมนในวัยทอง

“อาการขาดฮอร์โมนในวัยทอง” เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้หญิงอายุ 45 – 55 ปี เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจหลายด้าน ทำให้เกิดอาการต่างๆ ที่อาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน การทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะขาดฮอร์โมนในวัยทองที่เรากำลังจะนำเสนอนี่… เชื่อว่าจะช่วยให้คุณผู้อ่านสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น

สาเหตุของอาการขาดฮอร์โมนในวัยทอง

เมื่อคุณผู้อ่านได้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และทำให้เกิดอาการขาดฮอร์โมนคร่าวๆ ไปข้างต้นแล้ว เรามาลองดูสาเหตุกันว่า อาการขาดฮอร์โมนในวัยทองมีสาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติของร่างกาย โดยมีปัจจัยสำคัญอะไรบ้าง?

  1. การเสื่อมของรังไข่ตามวัยตามธรรมชาติ เมื่อผู้หญิงมีอายุมากขึ้น และค่อยๆ ก้าวเข้าสู่ช่วงวัยทอง รังไข่จะค่อยๆ ลดการทำงานลง ส่งผลให้การผลิตฮอร์โมนในร่างกายลดลงตามไปด้วย ซึ่งกระบวนการนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเข้าสู่วัยทองตามธรรมชาติ
  2. การผ่าตัดรังไข่ ในบางกรณีผู้หญิงบางท่าน อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดรังไข่ออกด้วยเหตุผลทางการแพทย์ ซึ่งส่วนนี้จะส่งผลให้ระดับฮอร์โมนลดลงอย่างฉับพลัน
  3. การรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา การรักษามะเร็งบางชนิด อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของรังไข่ และทำให้เกิดอาการขาดฮอร์โมนตามมาได้

อาการและผลกระทบของการขาดฮอร์โมนในวัยทอง

อาการทางร่างกาย

  1. อาการร้อนวูบวาบและเหงื่อออกกลางคืน

อาการร้อนวูบวาบเป็นหนึ่งในอาการที่พบบ่อยที่สุดเมื่อคุณมีอาการขาดฮอร์โมนในวัยทอง คุณผู้อ่านอาจจะรู้สึกจู่ๆ ก็ร้อนขึ้นมาโดยเฉพาะบริเวณใบหน้า คอ และหน้าอก และอาจมีอาการเหงื่อออกมากตามมาด้วย ซึ่งอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้หลายครั้งต่อวัน และรบกวนการนอนหลับในเวลากลางคืนของวัยทองบางรายเป็นอย่างมาก

  1. การเปลี่ยนแปลงของผิวและเส้นผม 

เพราะ “ฮอร์โมนเอสโตรเจน” มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการรักษาความชุ่มชื้นของผิวพรรณและความแข็งแรงของเส้นผม ซึ่งเมื่อการผลิตฮอร์โมนลดลงจนเกิดอาการขาดฮอร์โมนในวัยทอง ก็อาจทำให้พบอาการต่างๆ เหล่านี้ตามมา

  • ผิวมีลักษณะแห้ง บาง ไม่มีความชุ่มชื้น และสูญเสียความยืดหยุ่น
  • เส้นผมบางลง และร่วงง่าย
  • เล็บเปราะบาง และแตกหักได้ง่าย
  1. ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะและช่องคลอด

นอกจากอาการภายนอกต่างๆ แล้ว อาการขาดฮอร์โมนในวัยทองก็ทำให้อวัยวะอื่นๆ ในร่างกายมีผลต่างๆ ตามมา เช่น ทำให้เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อรอบๆ ท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะมีการฝ่อลีบ และหย่อนตัว จนเกิดอาการปวดแสบปวดร้อนขณะปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเล็ดขณะไอ จาม หรือหัวเราะ รวมทั้งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะได้ง่าย ความไม่สบายขณะมีเพศสัมพันธ์เนื่องจากช่องคลอดแห้งนั่นเอง

อาการทางจิตใจและอารมณ์

  1. อารมณ์แปรปรวน 

การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนส่งผลกระทบโดยตรงต่อสมดุลทางอารมณ์ ทำให้เกิด

อาการขาดฮอร์โมนในวัยทอง อย่างฮอร์โมนเอสโตรเจน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสมดุลทางอากรณ์และมีผลต่อจิตใจ ทำให้เกิดอาการ

  • อารมณ์หงุดหงิดง่าย
  • ความวิตกกังวล
  • ภาวะซึมเศร้า
  • ความเครียดเพิ่มขึ้น
  1. ปัญหาด้านความจำและสมาธิ

เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทอง ก็อาจทำให้มีอาการหลงลืมง่ายตามมา ไม่ว่าจะเป็นการจดจำชื่อคน หรือข้อมูลสำคัญ

  • ขาดสมาธิในการทำงาน
  • ความจำระยะสั้นลดลง
  • การตัดสินใจช้าลง

ผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาว

  1. กระดูกพรุน 

ฮอร์โมนเอสโตรเจนมีบทบาทสำคัญในการรักษามวลกระดูก โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะมีการสร้างกระดูกใหม่และสลายกระดูกอยู่ตลอดเวลา แต่เกิดอาการขาดฮอร์โมนในวัยทอง การสร้างกระดูกลดลง แต่การสลายกระดูกยังเท่าเดิม ทำให้เพิ่มความเสี่ยง…

  • กระดูกบาง ความหนาแน่นของกระดูกน้อยลง
  • กระดูกหักง่าย แม้บาดเจ็บเพียงเล็กน้อย
  • ปวดหลังเรื้อรัง
  1. โรคหัวใจและหลอดเลือด 

อาการขาดฮอร์โมนในวัยทองเพิ่มความเสี่ยงต่อไขมันและระบบหลอดเลือด การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนมีผลทำให้ระดับไขมัน Cholesterol และไขมันเลว LDL เพิ่มสูงขึ้น ส่วนไขมัน HDL จะลดต่ำลง ทำให้เกิดการสร้างลิ่มเลือดไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดได้มากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเกิดอาการ

  • ความดันโลหิตสูง
  • ไขมันในเลือดผิดปกติ
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด

วิธีป้องกัน ดูแล และรักษาอาการขาดฮอร์โมนในวัยทอง

อาหารที่ควรรับประทาน

นอกจากการดูแลร่างกายจากภายนอกแล้ว การดูแลร่างกายจากภายในด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย สารอาหารครบถ้วน ถูกหลักตามโภชนาการ ก็มีความสำคัญไม่แพ้กันที่ช่วยบรรเทาและป้องกันอาการขาดฮอร์โมนในวัยทองได้

  • ผักและผลไม้สด เช่น ดอกกะหล่ำ หัวใชเท้า บล็อกโคลี แอปเปิ้ล ส้ม กล้วย
  • โปรตีนคุณภาพดี เช่น ปลาแซลมอน ไข่
  • อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น โยเกิร์ตไขมันต่ำ นมไขมันต่ำ ผักใบเขียวและผลไม้ตระกูลเบอร์รี่
  • ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล่อง ธัญพืช ถั่วต่างๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ได้จากถั่วเหลืองทุกชนิด

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

อาการกลุ่มเหล่านี้จะส่งผลให้ไขมันสะสมบริเวณหน้าท้องได้ง่าย รวมถึงการกระตุ้นอาการต่างๆ เช่น ร้อนวูบวาบ เป็นต้น เมื่อเข้าสู่อาการขาดฮอร์โมนในวัยทอง

  • อาหารรสจัด เช่น อาหารที่มีโซเดียมสูง อาหารเผ็ดร้อน
  • อาหารรสหวานจัด เช่น ขนมคบเคี้ยว ขนมหวาน
  • คาเฟอีน เช่น การดื่มชา กาแฟ
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 

ด้วยความเร่งรีบในปัจจุบัน และการใช้เวลาอย่างจำกัดหมดไปกับเรื่องต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ก็อาจทำให้การรับประทานอาหารได้ไม่ครบตามหลักโภชนาการ เพื่อลดและบรรเทาอาการขาดฮอร์โมนในวัยทอง หากคุณผู้อ่านท่านใดกำลังทำพฤติกรรมที่เราได้กล่าวข้างต้น เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อวัยทอง เราขอแนะนำด้วยการทานอาหารเสริม ง่ายๆ คร้ังละ 1 เม็ดต่ออาหารมื้อที่เราสะดวก แค่นี้ก็ทำให้คุณหายห่วงได้ แล้วจะทานยี่ห้อไหนดี… เราขอเลือกเป็น

  • ดีเน่ ฟลาโวพลัส (DNAe Flavoplus) อาหารเสริมวัยทองสำหรับคุณผู้หญิง ที่มีสารสกัดเข้มข้นจากธรรมชาติเกรดนำเข้าที่มีงานวิจัยรองรับมากถึง 7 ฉบับ และได้รับการรับรองจาก อย. อย่างถูกต้อง
  • มีส่วนผสมหลักจากถั่วเหลือง ให้สารสำคัญอย่างไฟโตเอสโตรเจน ซึ่งมีส่วนช่วยลดอาการวัยทองแล้ว ยังมีโปรตีนที่ช่วยสร้างกล้ามเนื้อและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และรักษามวลกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดีให้คุณห่างไกลจากโรคกระดูกพรุน
  • มีสารสกัดจากผลไม้จากแคนเบอร์รี่ ที่มีงานวิจัยรองรับว่าสามารถลการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ลดอาการแสบขัด ฉี่กะปริดกะปรอยได้
  • มีสารสกัดจากแปะก๊วย เพิ่มการไหลเวียนเลือดให้ไปบำรุงสมองได้ดี ช่วยเพิ่มความจำ ทำให้หลับสบาย ตื่นเช้ามาแล้วสดชื่น

ที่เราแนะนำ ดีเน่ ฟลาโวพลัส (DNAe Flavoplus) ให้คุณผู้อ่านเพราะอาหารเสริมกระปุกนี้ เป็นการร่วมกันค้นคว้าและพัฒนาสูตรผ่านคุณหมอท็อปและเภสัชกรออย จากประสบการณ์ของคุณแม่ทั้ง 2 ท่านได้พบเจอ อาหารเสริมกระปุกนี้จึงเป็นความตั้งใจของทั้งสองท่านให้อาหารขาดฮอร์โมนในวัยทองของแต่ละคนผ่านพ้นไปได้อย่างมีความสุขนั่นเอง

การออกกำลังกายที่เหมาะสม

การออกกำลังกาย นอกจากจะช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงแล้ว ยังทำให้หัวใจและปอดแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน โดยอย่างน้อยควรใช้เวลาออกกำลังกายอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เวลา 15 – 30 นาที เช่น

  • การเดินเร็ว, การวิ่งเหยาะๆ
  • การว่ายน้ำ
  • การปั่นจักรยาน
  • การเต้นแอโรบิก

การดูแลสุขภาพจิต

การมีสุขภาพจิตที่ดีนับเป็นเรื่องดีมากๆ ต่ออาการขาดฮอร์โมนในวัยทองที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในร่างกายของผู้หญิง ซึ่งส่งกระทบทั้งร่างกายและจิตใจ การเริ่มต้นในแต่ละวันด้วยสุขภาพจิตที่ดี ก็จะทำให้ร่างกายมีความเครียดน้อยลงได้ตลอดทั้งวัน 

โดยสามารถเริ่มต้นจากนั่งสมาธิ หลีกเลี่ยงความเครียดและความวิตกกังวล รู้จักปล่อยวาง คิดบวก ทำจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน รวมทั้งพยายามนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยลดความแปรปรวนของอารมณ์ และสุขภาพจิตดีขึ้น

การรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy – HRT)

การรักษาอาการขาดฮอร์โมนในวัยทองโดยใช้ยากลุ่มฮอร์โมน โดยในสุภาพสตรีจะใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน ชนิดสกัดจากธรรมชาติ (Bio-identical Hormone) ที่มีโครงสร้างเดียวกับฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย โดยจะต้องให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาการรักษาและรูปแบบของประเภทฮอร์โมน

ประเภทของฮอร์โมนทดแทน

  • เอสโตรเจนอย่างเดียว
  • เอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสเตอโรน
  • ฮอร์โมนชนิดเฉพาะที่

ข้อดีของการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน

  • บรรเทาอาการร้อนวูบวาบ
  • ลดความแห้งของช่องคลอด
  • ป้องกันกระดูกพรุน
  • ปรับปรุงคุณภาพการนอน

ข้อควรระวังและผลข้างเคียง

  • ความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม
  • ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
  • ปัญหาถุงน้ำดี

สรุป

“อาการขาดฮอร์โมนในวัยทอง” เป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติที่ล้วนเกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคน แม้จะมีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ การเข้าใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งเรียนรู้ที่จะดูแลตนเองอย่างเหมาะสม เราเชื่อว่าคุณผู้อ่านทุกท่านจะสามารถผ่านช่วงเวลานี้ไปได้อย่างราบรื่น และมีคุณภาพชีวิตที่ดี การปรึกษาแพทย์เมื่อพบอาการผิดปกติ การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว และการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม จะช่วยให้การก้าวผ่านช่วงวัยทองเป็นไปอย่างมั่นใจและมีความสุขได้อย่างแน่นอน