ความเชื่อมโยงวัยทอง อากาศร้อน และอาการไมเกรน

ท่ามกลางอากาศที่ร้อนระอุในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้หญิงวัยทองกับ “อาการปวดศีรษะไมเกรน” ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในวัยทอง มักทวีความรุนแรงขึ้นเมื่ออากาศร้อนจัด เนื่องจากความร้อน สามารถเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้ง่ายขึ้น

“วัยทอง” เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในผู้หญิง หรือฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในผู้ชาย การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อระบบประสาทและหลอดเลือดในสมอง ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้ง่ายขึ้น จากการศึกษาทางการแพทย์หลายฉบับพบว่า ผู้หญิงที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหรือวัยทองมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนมากขึ้นถึง 2 – 3 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงก่อนวัยทอง เนื่องจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงอย่างรวดเร็วส่งผลต่อการทำงานของสารสื่อประสาทเซโรโทนิน และสารสื่อประสาทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอาการปวด

ผลกระทบของอากาศร้อนต่อร่างกายในวัยทอง

คุณผู้อ่านน่าจะทราบดีว่า “อากาศร้อน” เป็นหนึ่งในปัจจัยกระตุ้นอาการไมเกรนที่พบบ่อยที่สุด โดยเฉพาะในคนวัยทอง เพราะเมื่ออากาศร้อนจัดร่างกายต้องทำงานหนักเพื่อระบายความร้อนออก ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือดทั่วร่างกาย รวมถึงหลอดเลือดในสมอง ซึ่งสามารถกระตุ้นเส้นประสาทไทรเจมินัล ซึ่งเป็นเส้นประสาทหลักที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน 

นอกจากนี้…อากาศร้อนยังทำให้วัยทองเกิดภาวะขาดน้ำได้ง่าย ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นสำคัญของอาการปวดศีรษะไมเกรน การสูญเสียน้ำและเกลือแร่จากร่างกายเนื่องจากการเหงื่อออกมาก ส่งผลให้ปริมาณเลือดลดลง ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง และเกิดการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง 

ทั้งหมดนี้สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้ และด้วยในวัยทอง ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้การควบคุมอุณหภูมิร่างกายด้อยประสิทธิภาพลง อาการร้อนวูบวาบที่พบบ่อยในวัยทอง ทำให้ร่างกายยิ่งรับมือกับอากาศร้อนภายนอกได้ยากขึ้น เมื่อรวมกับภาวะความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดที่มักไม่คงที่ในวัยนี้ ทำให้คนวัยทองมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนจากอากาศร้อนมากกว่าคนในวัยอื่น

แล้วอะไร คือ กลไกหรือสาเหตุของการเกิดไมเกรนในวัยทองได้บ้าง?

กลไกการเกิดไมเกรนในวัยทอง

คุณผู้อ่านทราบหรือไม่ว่า? “การปวดศีรษะไมเกรน” เกิดจากกลไกซับซ้อนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหลอดเลือด เส้นประสาท และสารสื่อประสาทในสมอง เมื่อมีสิ่งกระตุ้น เช่น อากาศร้อน ความเครียด หรือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน จะเกิดการอักเสบของเส้นประสาทไทรเจมินัลและการขยายตัวของหลอดเลือดในสมอง และทำให้เกิดอาการปวดศีรษะแบบตุบๆ ที่มักรุนแรงเพียงข้างใดข้างหนึ่งของศีรษะตามที่วัยทองบางท่านหรือคุณผู้อ่านต้องเคยประสบมาบ้าง

และด้วยในวัยทอง…การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนส่งผลให้สมองผลิตสารสื่อประสาทเซโรโทนินลดลง สารนี้มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการรับรู้ความเจ็บปวดและการทำงานของหลอดเลือด เมื่อระดับเซโรโทนินลดลง หลอดเลือดในสมองจะตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นไวขึ้น ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้ง่ายและรุนแรงขึ้น 

นอกจากนี้ในวัยทองยังพบการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งควบคุมการทำงานของหลอดเลือดและการตอบสนองต่อความเครียด ทำให้ร่างกายปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง เช่น อากาศร้อนได้ยากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนในวัยทอง

อาการและสัญญาณเตือนของไมเกรนในวัยทอง

ลองมาตรวจเช็คอาการไมเกรนในวัยทองกันบ้าง ว่าคุณผู้อ่านเคยมีลักษณะอาการเหล่านี้หรือไม่? โดยลักษณะที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างจากอาการไมเกรนในวัยอื่นๆ

  1. อาการปวดศีรษะที่เชื่อมโยงกับอาการร้อนวูบวาบ
    พบว่าวัยทองหลายท่านมีอาการปวดศีรษะไมเกรนเกิดขึ้น พร้อมกับหรือหลังจากมีอาการร้อนวูบวาบ ซึ่งเป็นอาการทั่วไปของวัยทอง
  1. ความถี่และความรุนแรงที่เปลี่ยนแปลงไม่แน่นอน

ในวัยทองอาการปวดศีรษะไมเกรนมักมีความถี่และความรุนแรงที่เปลี่ยนแปลงไปตามระดับฮอร์โมนที่ผันผวน

  1. อาการปวดศีรษะเรื้อรังมากขึ้น

ผู้หญิงวัยทองบางคนพบว่า อาการปวดศีรษะไมเกรนที่เคยเป็นแบบเป็นๆ หายๆ กลายเป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรังที่เกิดขึ้นเกือบทุกวัน

  1. อาการนำ (Aura) ที่เปลี่ยนแปลง

วัยทองบางคนอาจพบว่าอาการนำก่อนเกิดไมเกรนเปลี่ยนแปลงไป เช่น อาจเห็นจุดสว่างวูบวาบ ขอบตาเห็นแสงกระพริบ หรือมีอาการชาที่ใบหน้าและแขนข้างใดข้างหนึ่ง โดยอาการเหล่านี้อาจรุนแรงขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยเป็นในช่วงก่อนวัยทอง

  1. อาการคลื่นไส้และอาเจียนที่รุนแรงขึ้น

ผู้ป่วยวัยทองมักรายงานว่ามีอาการคลื่นไส้และอาเจียนที่รุนแรงมากขึ้นเมื่อเป็นไมเกรน โดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด

  1. ความไวต่อแสงและเสียงเพิ่มขึ้น

ความไวต่อแสงและเสียง (Photophobia และ Phonophobia) มักทวีความรุนแรงขึ้นในผู้ป่วยไมเกรนวัยทอง บางรายอาจรู้สึกไวต่อกลิ่นที่เข้มข้นมากขึ้นด้วย

สัญญาณเตือนที่ควรสังเกต

เพื่อให้คุณผู้อ่านที่เป็นวัยทองสามารถรับรู้และสังเกตอาการมาของไมเกรนได้ การรู้จักสัญญาณเตือนล่วงหน้าก่อนเกิดอาการไมเกรนจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยให้วัยทองอย่างเราๆ สามารถเตรียมตัวรับมือและรักษาได้ทันท่วงที สัญญาณเตือนที่ควรสังเกตในวัยทองมี ดังนี้

  1. อาการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์

วัยทองที่มีอาการหงุดหงิด ซึมเศร้า วิตกกังวล หรืออารมณ์เปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าจะเกิดอาการไมเกรนในอีก 24 – 48 ชั่วโมงข้างหน้า

  1. ความอยากอาหารที่ผิดปกติ

วัยทองบางคนอาจมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างผิดปกติ หรืออยากอาหารบางชนิดโดยเฉพาะก่อนจะเกิดอาการไมเกรน

  1. อาการง่วงนอนที่ผิดปกติ

วัยทองบางท่านอาจมีความรู้สึกง่วงนอนผิดปกติ หรืออาการนอนไม่หลับ 03: 01/68 อย่างเฉียบพลัน อาจเป็นสัญญาณเตือนของไมเกรน

  1. อาการหาวบ่อย

การหาวบ่อยผิดปกติโดยไม่มีสาเหตุจากการอดนอน อาจเป็นสัญญาณเตือนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยไมเกรนวัยทอง

  1. ความรู้สึกไม่สบายบริเวณต้นคอ

อาการปวดเมื่อย แข็งเกร็ง หรือไม่สบายบริเวณต้นคอและไหล่ มักเป็นสัญญาณเตือนที่วัยทองพบได้บ่อย ก่อนเกิดอาการไมเกรน

  1. อาการขาดน้ำ

ในวัยทองโดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อน ร่างกายมีความเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำสูงขึ้น สัญญาณเตือนของภาวะขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ผิวแห้ง ปัสสาวะเข้มข้น อาจนำไปสู่อาการไมเกรนได้ วัยทองจึงควรดื่มน้ำให้เพียงพอ 05: 03/68

เชื่อว่าคุณผู้อ่านหลายท่านน่าจะมีความสงสัยตามมาไม่แพ้กันว่า แล้วพวกเราจะสามารถแยกอาการปวดหัวธรรมดา และอาการปวดหัวไมเกรนได้อย่างไร?

ความแตกต่างระหว่างไมเกรนในวัยทองและอาการปวดศีรษะทั่วไป

  • ลักษณะของอาการปวด อาการไมเกรน มักมีอาการปวดเป็นจังหวะหรือตุบๆ และมักปวดเพียงซีกเดียวของศีรษะ ในขณะที่อาการปวดศีรษะทั่วไป มักเป็นอาการปวดต่อเนื่องที่ไม่มีจังหวะ และอาจปวดทั่วศีรษะ
  • อาการร่วม อาการไมเกรนมักมีอาการร่วมอื่นๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ไวต่อแสงและเสียง ซึ่งไม่พบในอาการปวดศีรษะทั่วไป
  • ระยะเวลาที่เป็น ไมเกรนมักมีระยะเวลาตั้งแต่ 4 – 72 ชั่วโมง หากไม่ได้รับการรักษา ส่วนอาการปวดศีรษะทั่วไปอาจมีระยะเวลาสั้นกว่า
  • ปัจจัยกระตุ้น ไมเกรนในวัยทองมักถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยเฉพาะ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อากาศร้อน ความเครียด หรืออาหารบางชนิด ในขณะที่อาการปวดศีรษะทั่วไปอาจเกิดจากความเหนื่อยล้าหรือความเครียดที่สะสม
  • ผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ไมเกรนมักส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิตอย่างมาก ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยทำได้ในช่วงที่มีอาการ ในขณะที่อาการปวดศีรษะทั่วไปอาจไม่รุนแรงถึงขั้นที่ทำให้การใช้ชีวิตหยุดชะงัก

ปัจจัยเสี่ยงที่กระตุ้นอาการไมเกรนเมื่ออากาศร้อน

อย่างที่เราบอกคุณผู้อ่านวัยทองทุกท่านกันว่า…อากาศร้อนเป็นอีกหนึ่งปัจจัยกระตุ้นสำคัญที่ทำให้อาการไมเกรนในวัยทองรุนแรงขึ้น โดยมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่ควรระวังเป็นพิเศษ จะมีอาการอะไรบ้าง ลองมาหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน

1. ภาวะขาดน้ำ

ในสภาพอากาศปัจจุบันในประเทศไทยที่หลายๆ พื้นที่เริ่มมีอากาศที่ร้อนจัด ร่างกายของวัยทองจึงสูญเสียน้ำผ่านการเหงื่อออกมากขึ้น ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้ง่ายโดยเฉพาะในวัยทองที่กลไกการควบคุมอุณหภูมิร่างกายทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าเดิม ซึ่งภาวะขาดน้ำส่งผลให้ปริมาณเลือดลดลง ความหนืดของเลือดเพิ่มขึ้น และเกิดการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้

2. การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน

ในวัยทองระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในผู้หญิง หรือเทสโทสเตอโรนในผู้ชาย มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และเมื่ออากาศยิ่งร้อน ก็ยิ่งทำให้ความผันผวนของฮอร์โมนเหล่านี้รุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอาการปวด เช่น เซโรโทนิน ทำให้อาการปวดศีรษะไมเกรนรุนแรงขึ้น

3. อาการร้อนวูบวาบ

อาการร้อนวูบวาบ 06:10/67 เป็นอาการยอดฮิตที่สามารถพบได้บ่อยมากๆ ในวัยทอง ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เมื่อเจอกับอากาศร้อนภายนอก อาการร้อนวูบวาบจะยิ่งเกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงขึ้น ทำให้อุณหภูมิร่างกายเพิ่มสูงขึ้นในช่วงสั้นๆ ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของหลอดเลือดในสมอง ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นสำคัญของอาการปวดศีรษะไมเกรน

4. ความเครียดที่เพิ่มขึ้น

เชื่อว่าคุณผู้อ่านหลายท่านน่าจะเป็นกัน ยิ่งอากาศร้อน ก็ยิ่งทำให้ร่างกายเกิดความเครียดมากขึ้น ส่งผลให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนความเครียด เช่น คอร์ติซอล ในปริมาณสูง ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทและหลอดเลือดในสมอง ในวัยทองที่ร่างกายมีความไวต่อความเครียดอยู่แล้ว อากาศร้อนจึงเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้ง่ายขึ้น

5. การนอนหลับที่ผิดปกติ

นอกจากเรื่องของอารมณ์แล้ว อากาศร้อนยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพการนอนหลับวัยทอง ทำให้หลับยาก หลับไม่ลึก หรือตื่นบ่อยระหว่างคืน ในวัยทองที่มักมีปัญหาการนอนหลับอยู่แล้วจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อากาศร้อนยิ่งทำให้ปัญหาการนอนหลับรุนแรงขึ้น 07:03/68 การนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพเป็นปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญของอาการปวดศีรษะไมเกรน

6. การเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิต

อากาศร้อน…ทำให้หลอดเลือดขยายตัวเพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย ส่งผลให้ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในวัยทองที่มักมีปัญหาความดันโลหิตสูงหรือความดันโลหิตที่ไม่คงที่อยู่แล้ว การเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิตที่เกิดจากอากาศร้อนสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้

7. การได้รับแสงแดดจ้าและแสงจ้ามากเกินไป

ในช่วงที่อากาศร้อน มักมีแสงแดดจ้าและแสงสว่างมากเกินไป ซึ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นที่พบบ่อยของอาการปวดศีรษะไมเกรน ในวัยทองที่ร่างกายมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ มากขึ้น การได้รับแสงแดดจ้าหรือแสงสว่างที่มากเกินไปจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดอาการไมเกรน

8. การรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่เป็นตัวกระตุ้น

ในช่วงที่อากาศร้อน ผู้คนมักรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่อาจเป็นตัวกระตุ้นอาการไมเกรน เช่น เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง อาหารแปรรูป ไอศกรีม หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งการบริโภคสิ่งเหล่านี้ร่วมกับสภาพอากาศที่ร้อนจัด ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนในวัยทอง

9. มลพิษทางอากาศที่เพิ่มขึ้น

ในช่วงที่อากาศร้อนมักมีมลพิษทางอากาศเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ตามหัวเมืองต่างๆ  มลพิษเหล่านี้สามารถกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในร่างกาย ส่งผลต่อระบบประสาทและหลอดเลือดในสมอง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนมากขึ้น โดยเฉพาะในวัยทองที่ร่างกายมีความไวต่อสารพิษและมลพิษมากกว่าปกติ

ไม่เพียงแค่การสังเกต รับรู้ และเข้าใจอาการของการเกิดไมเกรนในวัยทองที่ถูกต้องเท่านั้น แต่การเปลี่ยนแปลงความเชื่อผิดๆ ที่รับรู้กันมา ก็สามารถทำให้คุณผู้อ่านเข้าใจอาการไมเกรนได้มากขึ้นเช่นกัน

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับไมเกรนในวัยทอง

คุณผู้อ่านบางท่านยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาการไมเกรนในวัยทอง ซึ่งอาจนำไปสู่การจัดการอาการที่ไม่เหมาะสมและส่งผลต่อคุณภาพชีวิต แล้วความเข้าใจผิดส่วนใหญ่ที่คุณผู้อ่านทราบกันมีอะไรบ้าง เรารวบรวมมาให้แล้ว ดังนี้ 

  • ไมเกรนในวัยทองเป็นเพียงอาการปวดหัวธรรมดา

ความเข้าใจผิดนี้…อาจทำให้หลายคนโดยเฉพาะผู้ที่เป็นวัยทองละเลยการรักษาที่เหมาะสม แท้จริงแล้วไมเกรนในวัยทองเป็นความผิดปกติทางระบบประสาทที่ซับซ้อน เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดในสมอง การอักเสบของเส้นประสาท และการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาท อาการไม่ได้จำกัดเพียงแค่ปวดศีรษะ แต่อาจรวมถึงอาการคลื่นไส้ อาเจียน ความไวต่อแสงและเสียง และอาการนำ (Aura) เช่น เห็นแสงวาบหรือจุดบอดนั่นเอง

  • อาการไมเกรนจะหายไปเองเมื่อเข้าสู่วัยทอง

คุณผู้อ่านวัยทองหลายคนเชื่อว่า…อาการไมเกรนจะดีขึ้นหรือหายไปเมื่อเข้าสู่วัยทอง แต่ความเป็นจริง คือ ประสบการณ์ของแต่ละคนล้วนมีความแตกต่างกันออกไป วัยทองบางคนอาจพบว่าอาการไมเกรนดีขึ้นหลังจากหมดประจำเดือนอย่างสมบูรณ์ แต่ก็ยังมีผู้หญิงจำนวนมากที่พบว่าอาการไมเกรนกลับแย่ลงหรือมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไประหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านสู่วัยทอง การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างรวดเร็วอาจกระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรนรุนแรงขึ้นในช่วงนี้

  • อากาศร้อนไม่มีผลต่ออาการไมเกรนในวัยทอง

ความเข้าใจผิดนี้อาจทำให้ผู้ป่วยวัยทองขาดการเตรียมตัวที่เหมาะสมเมื่อต้องเผชิญกับอากาศร้อน ในความเป็นจริงอากาศร้อนเป็นปัจจัยกระตุ้นสำคัญของอาการไมเกรนโดยเฉพาะในวัยทอง เมื่อร่างกายเผชิญกับอุณหภูมิสูง หลอดเลือดจะขยายตัวเพื่อระบายความร้อน ซึ่งอาจกระตุ้นอาการไมเกรนได้ นอกจากนี้อากาศร้อนยังทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้ง่าย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยกระตุ้นอาการไมเกรนที่สำคัญ

  • การรักษาไมเกรนในวัยทองเหมือนกับการรักษาไมเกรนทั่วไป

แม้ว่าหลักการรักษาพื้นฐานจะคล้ายคลึงกัน แต่การรักษาไมเกรนในวัยทองอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและสภาพร่างกายที่เปลี่ยนไป การรักษาอาจรวมถึงการใช้ยาป้องกันที่แตกต่างออกไป การพิจารณาผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับสตรีวัยทอง และการผสมผสานวิธีการรักษาที่คำนึงถึงอาการวัยทองอื่นๆ ร่วมด้วย

  • ไมเกรนในวัยทองเป็นเพียงอาการทางจิตใจ

บางคนเข้าใจผิดว่าอาการไมเกรนในวัยทองเป็นเพียงผลจากความเครียด หรือภาวะทางจิตใจ แม้ว่าปัจจัยทางจิตใจอาจมีส่วนกระตุ้นอาการไมเกรน แต่ไมเกรนในวัยทองเป็นความผิดปกติทางระบบประสาทที่มีพื้นฐานทางชีวภาพชัดเจน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนส่งผลต่อระดับสารสื่อประสาทเซโรโทนิน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการรับรู้ความเจ็บปวดและการทำงานของหลอดเลือดในสมอง

  • การทานอาหารไม่มีผลต่ออาการไมเกรนในวัยทอง

อาหาร…ยังคงเป็นปัจจัยกระตุ้นสำคัญของอาการไมเกรนในวัยทอง โดยเฉพาะอาหารที่มีสารไทรามีนสูง เช่น เนยแข็งบางชนิด อาหารหมักดอง ไวน์แดง และช็อกโกแลต นอกจากนี้สารกันบูด สารเพิ่มรสชาติ และแอลกอฮอล์ก็อาจกระตุ้นอาการไมเกรนได้ ในวัยทองร่างกายอาจมีความไวต่อสารกระตุ้นเหล่านี้มากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบเมแทบอลิซึมและการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน

  • การใช้ฮอร์โมนทดแทนจะแก้ไขอาการไมเกรนในวัยทองได้อย่างสมบูรณ์

แม้ว่าการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน (Hormone Replacement Therapy – HRT) อาจช่วยบรรเทาอาการไมเกรนในผู้หญิงวัยทองบางคน แต่ไม่ใช่วิธีแก้ไขที่ได้ผลสำหรับทุกคน ผลของ HRT ต่ออาการไมเกรนแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางคนอาจพบว่าอาการไมเกรนดีขึ้น ในขณะที่บางคนอาจพบว่าอาการแย่ลงหรือไม่เปลี่ยนแปลง การตัดสินใจใช้ HRT ควรพิจารณาถึงประโยชน์และความเสี่ยงโดยรวม โดยปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

  • ไม่สามารถป้องกันการเกิดไมเกรนในวัยทองได้

ความเข้าใจผิดนี้ อาจทำให้ผู้ป่วยวัยทองรู้สึกหมดหวังและขาดการดูแลตนเองที่เหมาะสม แต่แท้จริงแล้ว…มีวิธีการป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดไมเกรนในวัยทองได้หลายวิธี เช่น การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ การดื่มน้ำอย่างเพียงพอ การหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทราบ การจัดการความเครียด การออกกำลังกายสม่ำเสมอ และการนอนหลับให้เพียงพอ การทำความเข้าใจรูปแบบการเกิดอาการไมเกรนของตนเองและการวางแผนป้องกันล่วงหน้าสามารถช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การเข้าใจความเข้าใจผิดเหล่านี้และเรียนรู้ข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง จะช่วยให้ผู้ที่อยู่ในวัยทองสามารถจัดการกับอาการไมเกรนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแม้ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนและสภาพอากาศที่ร้อนระอุของไทย

และแน่นอนว่า…เราได้รวบรวมวิธีบรรเทาอาการไมเกรนในวัยทองมาฝากทุกท่านอีกเช่นเคย ลองดูกันว่า คุณผู้อ่านเคยใช้วิธีบรรเทาข้อไหนบ้างที่เรานำเสนอ

15 วิธีบรรเทาอาการไมเกรนในวัยทองเมื่ออากาศร้อน

1. รักษาระดับน้ำในร่างกายให้เพียงพอ

การดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีอาการไมเกรนในวัยทอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงอากาศร้อน ภาวะขาดน้ำ เป็นปัจจัยกระตุ้นสำคัญของอาการปวดศีรษะไมเกรน 

ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 – 10 แก้ว และเพิ่มปริมาณมากขึ้นในวันที่มีอากาศร้อนจัด น้ำมะพร้าวหรือเครื่องดื่มเกลือแร่ธรรมชาติ สามารถช่วยทดแทนเกลือแร่ที่สูญเสียไปจากเหงื่อได้ดี และเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย เรียกว่าเป็นเครื่องดื่มคลายร้อนสำหรับวัยทองที่ดีเลยทีเดียว 02: 03/68

2. อยู่ในที่มีอากาศเย็นและถ่ายเทสะดวก

แนะนำให้วัยทองหลีกเลี่ยงความร้อนโดยตรง ซึ่งนี่เป็นวิธีป้องกันอาการไมเกรนที่มีประสิทธิภาพที่สุด พยายามอยู่ในห้องปรับอากาศหรือใช้พัดลมในช่วงที่อากาศร้อนจัด 

หากต้องออกนอกบ้าน ควรวางแผนทำกิจกรรมในช่วงเช้าหรือเย็นเมื่ออุณหภูมิลดลง และหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดเป็นเวลานาน

3. ประคบเย็นที่ศีรษะและต้นคอ

การประคบเย็น ช่วยลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวดไมเกรนให้กับวัยทองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ใช้ถุงน้ำแข็งหรือผ้าเย็นประคบบริเวณขมับ หน้าผากหรือต้นคอเป็นเวลา 15 – 20 นาที สามารถทำซ้ำได้ทุก 1 – 2 ชั่วโมง 

นอกจากนี้…การสวมหมวกเย็นหรือผ้าพันคอเย็น ก็สามารถช่วยลดอุณหภูมิร่างกายของวัยทองได้ดีในวันที่อากาศร้อน

4. ฝึกเทคนิคการหายใจและการผ่อนคลาย

วัยทองท่านใดที่ชอบมีอาการเครียด จะบอกว่าความเครียดเป็นปัจจัยกระตุ้นไมเกรนที่สำคัญไม่แพ้กัน การฝึกเทคนิคการหายใจลึกๆ การทำสมาธิ หรือโยคะเบาๆ จะช่วยลดความเครียดและบรรเทาอาการปวดศีรษะในวัยทองได้ การฝึกผ่อนคลายเป็นประจำทุกวัน 15 – 20 นาที ช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการไมเกรนในระยะยาวได้อีกด้วย

5. ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร

อาหารบางประเภทอาจกระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรนได้ โดยเฉพาะในช่วงวัยทองที่ร่างกายมีความอ่อนไหวมากขึ้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารไทรามีน เช่น เนยแข็งบ่ม ไวน์แดง อาหารหมักดอง และอาหารที่มีผงชูรส 

รวมถึงอาหารรสจัด ชา กาแฟ และแอลกอฮอล์ ควรรับประทานอาหารให้เป็นเวลา และไม่ควรงดมื้อใดมื้อหนึ่ง

6. เสริมอาหารที่มีแมกนีเซียมและวิตามินบี2

การรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมสูงในวัยทอง เช่น ผักใบเขียว ถั่ว เมล็ดฟักทอง และธัญพืชไม่ขัดสี ช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการไมเกรนได้ 

นอกจากนี้วิตามินบี2 ซึ่งพบในนม ไข่ และผักใบเขียว ก็มีงานวิจัยรองรับว่าช่วยป้องกันอาการไมเกรนได้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ

นอกจากการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การเสริมอาการที่มีแมกนีเซียมและวิตามินบี 2 แล้ว ในช่วงที่อากาศร้อนระอุแบบนี้ การทานอาการเสริมที่ดีต่อสุขภาพของวัยทองที่ไม่เพียงช่วยบรรเทาอาการวัยทองเท่านั้น แต่ยังเป็นการดูแลสุขภาพอย่างองค์รวม สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายก็เป็นสิ่งที่ดีไม่ใช่น้อย โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจาก

ดีเน่ ฟลาโวพลัส (DNAe Flavoplus) ทางเลือกธรรมชาติสำหรับการบรรเทาอาการไมเกรนในวัยทองของคุณผู้หญิง ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากคุณหมอและเภสัชกรที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลวัยทอง โดยใช้ส่วนผสมจากสารสกัดธรรมชาติ 6 ชนิดที่ทำงานประสานกันเพื่อช่วยบรรเทาอาการต่างๆ รวมถึงอาการปวดศีรษะไมเกรนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและผลกระทบจากอากาศร้อน ประกอบด้วย…

  • สารสกัดจากถั่วเหลือง สารสกัดจากถั่วเหลืองที่นำเข้าจากประเทศสเปนเป็นแหล่งของไอโซฟลาโวน ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน สามารถช่วยเติมเต็มระดับเอสโตรเจนที่ลดลงในวัยทอง 
  • สารสกัดจากตังกุย สมุนไพรที่ใช้ในการแพทย์แผนจีนมายาวนานเพื่อบรรเทาอาการวัยทองในสตรี สารออกฤทธิ์ในตังกุยช่วยขยายหลอดเลือดและปรับสมดุลฮอร์โมน ส่งผลให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้น 
  • สารสกัดจากแปะก๊วย มีคุณสมบัติในการปกป้องเซลล์สมองและระบบประสาทจากภาวะอนุมูลอิสระ พร้อมทั้งปรับปรุงการไหลเวียนเลือดไปยังสมอง
  • สารสกัดจากงาดำ อุดมด้วยวิตามินอี แคลเซียม และกรดไขมันจำเป็น ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการรักษาสมดุลการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
  • ออร์แกนิค แครนเบอร์รี่ มีสารแอนโทไซยานินสูง ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดการอักเสบทั่วร่างกายรวมถึงในสมองและระบบประสาท 
  • อินูลิน พรีไบโอติก ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ การมีสุขภาพลำไส้ที่ดี ช่วยเพิ่มการดูดซึมสารอาหาร ลดการผลิตสารก่อการอักเสบ และปรับปรุงการเมแทบอลิซึมของฮอร์โมน

*ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

ด้วยส่วนผสมที่ได้รับการคัดสรรมาอย่างพิถีพิถัน ดีเน่ ฟลาโวพลัสมอบประโยชน์มากมายสำหรับผู้ที่ประสบปัญหาไมเกรนในวัยทอง โดยเฉพาะเมื่ออากาศร้อน…

  1. ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน สารสกัดจากถั่วเหลืองและตังกุยช่วยเติมเต็มและปรับสมดุลฮอร์โมน ลดความผันผวนของระดับฮอร์โมนซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของอาการปวดศีรษะไมเกรนในวัยทอง
  2. ปรับปรุงการไหลเวียนเลือด สารสกัดจากแปะก๊วยและตังกุยช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของหลอดเลือดและปรับปรุงการไหลเวียนเลือด ลดการขยายตัวผิดปกติของหลอดเลือดในสมองที่เกิดจากอากาศร้อน
  3. ต้านการอักเสบ แครนเบอร์รี่ งาดำ และแปะก๊วยมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ช่วยลดการอักเสบของเส้นประสาทไทรเจมินัลซึ่งเป็นกลไกหลักของการเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน
  4. เสริมสร้างระบบประสาท สารต้านอนุมูลอิสระจากส่วนผสมต่างๆ ช่วยปกป้องเซลล์ประสาทจากความเสียหาย ทำให้ระบบประสาทแข็งแรงและลดความไวต่อสิ่งกระตุ้นอาการไมเกรน
  5. สนับสนุนสุขภาพลำไส้ อินูลินพรีไบโอติกช่วยเสริมสร้างจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ ส่งผลดีต่อการผลิตสารสื่อประสาทและการควบคุมการอักเสบทั่วร่างกาย
  1. ช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำ สารสกัดธรรมชาติในดีเน่ ฟลาโวพลัสช่วยรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย ช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยกระตุ้นสำคัญของอาการปวดศีรษะไมเกรนในสภาพอากาศร้อน
  2. บรรเทาอาการร้อนวูบวาบ ไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองและสารสกัดจากตังกุยช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการร้อนวูบวาบ ซึ่งมักพบว่าเป็นสาเหตุหรือมีความเชื่อมโยงกับการเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนในวัยทอง และ
  3. เพิ่มความทนทานต่อความเครียด ส่วนผสมหลายชนิดในดีเน่ ฟลาโวพลัสช่วยปรับสมดุลระบบประสาทอัตโนมัติ ทำให้ร่างกายสามารถรับมือกับความเครียดและการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เช่น อากาศร้อน ได้ดีขึ้น

แนะนำให้คุณผู้อ่านรับประทานวันละ 1 แคปซูล หลังอาหารเช้าหรืออาหารเย็น พร้อมน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิปกติ เพื่อให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ยิ่งรับประทานอย่างต่อเนื่องก็เปรียบเสมือนเป็นกุญแจสำคัญในการเห็นผลลัพธ์ที่ดี 

และมั่นใจได้อย่าง 100% เพราะ ดีเน่ ฟลาโวพลัส (DNAe Flavoplus) ได้ผ่านการรับรองและขึ้นทะเบียนกับ อย. ของประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และได้รับมาตรฐานการผลิตระดับฮาลาลอีกด้วย

7. นวดกดจุดบรรเทาอาการปวด

การนวดและกดจุดบริเวณขมับ คิ้ว และต้นคอ สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรนในวัยทองได้ โดยใช้นิ้วกลางและนิ้วชี้กดเบาๆ เป็นวงกลมบริเวณขมับทั้งสองข้าง หรือกดจุดระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ ซึ่งเป็นจุดที่ช่วยบรรเทาอาการปวดตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน

8. ใช้น้ำมันหอมระเหยบรรเทาอาการ

น้ำมันหอมระเหยบางชนิด เช่น น้ำมันลาเวนเดอร์ น้ำมันเปปเปอร์มินต์ หรือน้ำมันยูคาลิปตัส ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะและลดความเครียดได้ที่อาจนำไปสู่อาการไมเกรนในวัยทองได้ 

ซึ่งคุณผู้อ่านสามารถหยดน้ำมันหอมระเหยลงในเครื่องพ่นไอน้ำ หรือผสมกับน้ำมันพื้นฐาน เช่น น้ำมันมะกอก แล้วนวดเบาๆ บริเวณขมับและต้นคอ

9. จัดตารางการนอนให้สม่ำเสมอ

การนอนไม่เพียงพอหรือนอนมากเกินไปล้วนกระตุ้นอาการไมเกรนได้ โดยเฉพาะในวัยทองที่มักมีปัญหาการนอนอยู่แล้ว พยายามเข้านอนและตื่นนอนในเวลาเดียวกันทุกวัน สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการนอนหลับ เช่น ห้องเย็น มืด และเงียบ ขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอน 1 – 2 ชั่วโมง

10. ออกกำลังกายเบาๆ สม่ำเสมอ

การออกกำลังกายแบบแอโรบิกเบาๆ เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ หรือโยคะ ช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการไมเกรนให้กับวัยทองได้ เพราะการออกกำลังกายช่วยลดความเครียด กระตุ้นการหลั่งสารเอนดอร์ฟิน และปรับสมดุลฮอร์โมน 

แนะนำให้วัยทองควรออกกำลังกายในช่วงเช้าหรือเย็นในช่วงที่อากาศไม่ร้อนเกินไป และค่อยๆ เพิ่มความเข้มข้นในการออกกำลังกายอย่างช้าๆ

11. สวมแว่นกันแดดและหมวกปีกกว้าง

แสงแดดจ้า เป็นปัจจัยกระตุ้นอาการไมเกรนที่พบบ่อย โดยเฉพาะในวัยทองที่อาจมีความไวต่อแสงมากขึ้น การสวมแว่นกันแดดที่มีการป้องกัน UV และหมวกปีกกว้างเมื่อออกไปข้างนอกช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการไมเกรนได้ ควรเลือกแว่นกันแดดที่มีเลนส์สีเขียวหรือน้ำตาลซึ่งช่วยลดความไวต่อแสงได้ดีกว่าเลนส์สีอื่น

12. ติดตามและบันทึกปัจจัยกระตุ้น

การจดบันทึกอาการและปัจจัยกระตุ้นช่วยให้เข้าใจรูปแบบการเกิดไมเกรนของตนเองได้ดีขึ้น บันทึกวันเวลาที่มีอาการ อาหารที่รับประทาน กิจกรรมที่ทำ สภาพอากาศ และระดับความเครียด การรู้ปัจจัยกระตุ้นของวัยทองจะช่วยให้หลีกเลี่ยงหรือเตรียมรับมือกับสิ่งเหล่านั้นได้ดีขึ้น

13. ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการบำบัดด้วยฮอร์โมน

สำหรับที่มีอาการไมเกรนรุนแรงในช่วงวัยทอง การบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน (HRT) อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง การรักษาระดับฮอร์โมนให้คงที่ช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการไมเกรนได้ 

แต่การรักษาด้วยวิธีนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย อยากให้คุณผู้อ่านท่านใดที่สนใจวิธีนี้เข้ารับการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความเหมาะสมเป็นรายบุคคล

14. ใช้เทคนิคการบำบัดความปวดด้วยความเย็นอุณหภูมิต่ำ

มีอุปกรณ์บำบัดความปวดศีรษะด้วยความเย็นที่ออกแบบมาเฉพาะ เช่น ที่ครอบศีรษะเย็น หรือแผ่นเจลเย็นที่มีรูปทรงเหมาะกับการประคบบริเวณศีรษะและต้นคอ อุปกรณ์เหล่านี้ช่วยลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวดได้ดีในช่วงอากาศร้อน บางรุ่นสามารถพกพาไปใช้นอกบ้านได้

15. พิจารณาการรักษาทางเลือก

การรักษาทางเลือก เช่น การฝังเข็ม การนวดบำบัด หรือการฝึกไบโอฟีดแบ็ก (biofeedback) อาจช่วยบรรเทาอาการไมเกรนในวัยทองได้ การฝังเข็มช่วยปรับสมดุลการไหลเวียนของพลังงานในร่างกาย การนวดบำบัดช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ตึงเครียด และการฝึกไบโอฟีดแบ็กช่วยให้เรียนรู้วิธีควบคุมการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มการรักษาทางเลือกใดๆ

สรุป

การรักษาสมดุลของร่างกายทั้งทางกายภาพและจิตใจ เป็นกุญแจสำคัญในการควบคุมอาการไมเกรนในวัยทอง การดูแลสุขภาพโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การพักผ่อนเพียงพอ และการจัดการความเครียด ล้วนส่งผลต่อการลดความถี่และความรุนแรงของอาการไมเกรน

ที่สำคัญ…หากอาการไม่ดีและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน แนะนำว่าอย่าลังเลที่จะปรึกษาแพทย์หากมีอาการไมเกรนที่รุนแรงหรือมีความถี่เพิ่มขึ้น การรับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องและการรักษาที่เหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยให้สามารถควบคุมอาการได้ดียิ่งขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีแม้ในช่วงวัยทองและในสภาพอากาศที่ร้อนระอุในประเทศไทยอีกหลายเดือน