“วัยทอง” หรือ “วัยกลางคน” เป็นช่วงชีวิตอีกหนึ่งช่วงที่มีสำคัญยิ่งสำหรับผู้ชาย โดยเฉพาะช่วงอายุระหว่าง 40 – 60 ปี ที่ร่างกายจะเริ่มแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงท จากการที่ฮอร์โมนที่มีชื่อว่า “เทสโทสเตอโรน” จะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางกายและใจได้แก่
- ระบบสืบพันธุ์
- กล้ามเนื้อและมวลกล้ามเนื้อ
- น้ำหนักและการกระจายของไขมัน
- พลังงานและอารมณ์
ซึ่งแตกต่างจากผู้หญิงวัยทอง ที่ฮอร์โมนจะลดลงเรื่อยๆ จนท้ายที่สุดก็หมดไปอย่างถาวร เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้คุณผู้อ่านที่เป็นผู้ชายหรือผู้กำลังจะเข้าสู่วัยทองว่าต้องทราบเรื่องอะไรบ้าง? โรคอะไรที่สามารถพบได้บ่อยในผู้ชายวัยทอง แนวทางการป้องกันและการปรับตัวต่อสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในผู้ชายวัยทองต้องทำอย่างไร…มาติดตามและทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันได้เลย
โรคสำคัญที่ผู้ชายวัยทองต้องระวัง
- ความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด
เมื่อผู้ชายเข้าสู่ช่วงวัยทอง ผู้ชายจะมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และโรคนี้ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ที่สามารถพบได้ ซึ่งมีสาเหตุมาจาก
ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้
- เพศ: เพราะเพศชายมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าเพศหญิง
- อายุ: อายุมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงอวัยวะต่างๆ ก็เสื่อมสภาพลง
- กรรมพันธ์ุ: หากพบว่าในครอบครัวมีคนเป็นโรคหัวใจ เท่ากับว่าคุณมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป
ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้
- การสะสมไขมันในหลอดเลือดสูง
- ความดันโลหิตสูง
- ระดับคอเลสเตอรอลที่ผิดปกติ
- พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น การรับประทานอาหาร, การนอน
อาการใดบ้าง? ที่ผู้ชายวัยทองควรนึกถึงโรคหัวใจ
- อาการเจ็บหน้าอก
หากคุณผู้อ่านมีลักษณะอาการเจ็บหน้าอก เช่น ลักษณะแน่นหน้าอกเหมือนมีอะไรมากดทับ มีอาการร้าวไปแขน ไหล่เพิ่มเติม, ลักษณะเจ็บหน้าอกจากการออกแรงเยอะ และอาการแน่นหน้าอกดีขึ้นเมื่อได้นั่งพัก หรือทานยาขยายหลอดเลือก…
อาการเหล่านี้ อยากให้คุณผู้อ่านที่เป็นผู้ชายวัยทองอนุมานได้ว่า นี่…อาจเป็นสัญญาณเตือน หรืออาการเริ่มต้นที่คุณผู้ชายวัยทองทุกคนท่านควรสังเกตอาการตัวเองอย่างต่อเนื่อง และปรึกษาแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุและแนวทางการป้องกันต่อไป
- อาการใจสั่น ใจเต็นเร็ว
หากคุณผู้ชายวัยทอง มีอาการใจสั่น เช่น หัวใจเต้นสะดุด หัวใจเต็นเร็วและแรง แม้จะสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หรือไม่มีความรุนแรงและเป็นอันตราย แต่อาการนี้ที่เป็นซ้ำๆ อาจเป็นสัญญาเตือนหรือสาเหตุที่กำลังบอกคุณผู้ชายวัยทองว่า หัวใจของคุณกำลังผิดปกติ
- อาการวูบ หน้ามืด อ่อนเพลีย
อาการวูบ หน้ามืด หมดสติ อ่อนเพลีย อาจเป็นอาการที่ใครๆ ก็สามารถพบเจอได้ แต่หากคุณมีอายุมากขึ้น และเป็นผู้ชายวัยทอง มีอาการวูบหมดสติเป็นเวลานาน มีอการชักร่วมด้วย ใจสั่น เจ็บหน้าอก หน้าเบี้ยวน่วม อ่อนแรง หรือท้องเสีย อาเจียน ควรนำส่งโรงพยาบาลอย่างเร็วที่สุด
2. โรคเบาหวาน
ปัจจุบันโรคเบาหวาน กลายเป็นโรคเรื้อรังที่สามารถพบบ่อยในผู้ชายวัยกลางคน และเริ่มพบมากขึ้นในผู้ชายที่มีอายุน้อยกว่า 30 ในระยะเริ่มแรก จากพฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนไป รวมถึงอาหารที่อร่อยและหลากหลายมากขึ้นในทุกวันนี้ ทำให้คนเราเริ่มละเลยการดูแลสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุปัจจัยเสี่ยง อื่นๆ เช่น
- พันธุกรรม
- ภาวะอ้วน
- การขาดการออกกำลังกาย
อาการเริ่มแรกของโรคเบาหวาน
- อาการระดับน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ ทานเก่งขึ้น หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย อ่อนเพลีย
- อาการภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง เช่น ตามัว ไตวาย ชาปลายมือปลายเท้า เป็นต้น
- อาการของน้ำตาลสูงเฉียบพลัน มีความอ่อนเพลียมาก คลื่นไส้อาเจียน หายใจหอบ ซึมลง
- อาการ/โรคที่สัมพันธ์กับโรคเบาหวาน เช่น แผลหายช้ากว่าปกติ ติดเชื้อราที่ช่องคลอด ผิวหนัง
3. โรคต่อมลูกหมากโต
เป็นภาวะที่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อคุณผู้ชายเข้าสู่วัยทอง และมีอายุที่มากขึ้นนั่นเอง โดยเป็นภาวะที่ต่อมลูกหมากที่อยู่ใต้กระเพราะปัสสาวะล้อมรอบท่อ ทำให้มีขนาดใหญ่ผิดปกติจนไปบีบท่อปัสสาวะให้แคบลงนั่นเอง ซึ่งสามารถพบได้ในผู้ชายอายุ 45 ปี ขึ้นไป โดยคุณผู้อ่านสามารถสังเกตอาการได้ดังนี้
อาการที่สามารถบอกโรคได้
- มีอาการปัสสาวะขัด
- ปัสสาวบ่อยมากขึ้น โดยเฉพาะตอนกลางคืน
- กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือต้องเบ่งจนกว่าจะออก
- เมื่อปัสสาวะแล้วไม่พุ่ง สะดุดเป็นช่วงๆ ปัสสาวะไม่สุด
- ปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลัน
- ปวดปัสสาวะรุนแรงมาก
4. โรคกระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุน สามารถพบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งมีสาเหตมาจากการสูญเสียมวลกระดูก ทำให้กระดูกในร่างกายเสียคุณสมบัติสำหรับการรับน้ำหนัก กระดูกเปราะ หักง่าย
ยิ่งคุณผู้ชายที่เข้าสู่วัยทองและเป็นโรคกระดูกพรุน ก็ยิ่งมีโอกาสกระดูกหักได้ง่ายกว่าคนปกติมากขึ้น ไม่ว่าจะเกิดจากลมปะทะ, การขยับตัวอย่างทันที, การไอ, จาม หรือลื่นล้มก็ทำให้หักได้
ปัจจัยเสี่ยงที่เลี่ยงได้
- ทานอาหาร เพิ่มแคลเซียล
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- รับแสงแดดในยามเช้าเพิ่มวิตามินดีใหกับร่างกาย
- เลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์
5. โรคเครียด
แน่นอนว่าภาวะความเครียด เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย แต่ความแตกต่างของความเครียดในวัยทองที่ผู้ชายต้องเจอนั้น อาจจะแตกต่างจากช่วงวัยอื่นๆ เช่น
- ด้านร่างกาย
สุขภาพและการเจ็บป่วย ทั้งการเจ็บป่วยอย่างรุนแรง หรือไม่รุนแรงหากเกิดขึ้น ย่อมทำให้เกิดความเครียด และส่งผลกระทบต่อจิตใจ เกิดการพักผ่อนไม่เพียง และอาจมีอาการนอนไม่หลับตามมาได้
- ด้านจิตใจ
เมื่ออายุมากขึ้น การตัดสินใจ ความรับผิดชอบต่างๆ ย่อมมีมากขึ้น เรื่องต่างๆ เหล่านั้นก็สามารถเข้ามากระตุ้นจนเกิดเป็นความเครียดและวิตกกังวลได้
- ด้านสังคม
เมื่ออายุมากขึ้น คนรอบข้าง คนที่คอยให้คำปรึกษาหรือพูดคุยก็จะลดน้อยลง จนขาดผู้ที่คอยให้ความช่วยเหลือ ขาดคนคอยรับฟัง การไม่กล้าพูดต่อสิ่งที่เกิดขึ้นหรือรับมา และเก็บไว้อยู่คนเดียว
วิธีสังเกตผู้ชายวัยทองมีความเครียดหรือไม่
- นิ่ง พูดน้อย ไม่ตอบสนองเหมือนปกติ หรือไม่อยากคุยกับใคร
- รับประทานอาหารน้อยลง หรือแทบไม่กินเลย
- ไม่อยากทำอะไร เฉยชา ความสนใจจากสิ่งต่างๆ ที่เคยชอบทำน้อยลง
- ชอบนอนเฉยๆ ชวนไปไหนก็ไม่อยากไป แยกตัวจากคนอื่น
- นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไปเกือบทุกวัน
แนวทางป้องกันให้คุณเป็นผู้ชายวัยทองที่มีความสุข
- ตรวจสุขภาพประจำปี
ยิ่งคุณผู้อ่านมีอายุมากขึ้น การตรวจสุขภาพประจำปีก็ยิ่งมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นตามเช่นกัน โดยเฉพาะเมื่อคุณเป็นผู้ชายเข้าสู่วัยทอง การที่เราสามารถพบโรคต่างๆ ได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการ ยิ่งทำให้เราสามารถป้องกันการลุกลามของโรคได้ดียิ่งขึ้น ทำให้อาจมีแนวทางการรักษาที่เยอะมากขึ้น รักษาง่ายขึ้น และรักษาได้ทันท่วงที สิ่งสำคัญ คือ เป็นผู้ชายวัยทองที่ปลอดโรคนั่นเอง
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
“ความสุข” เริ่มต้นจากการมีสุขภาพที่ดี เป็นจริงดั่งตามคำที่ใครหลายคนชอบพูดกันว่า “การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” เพราะการออกกำลังกายมีส่วนช่วยในการเพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ร่างกายของเรา นอกจากนี้ระหว่างออกกำลังกายก็จะมีการหลั่งสารฮอร์โมนซึ่งจะทำให้คุณมีจิตใจที่เบิกบานแจ่มใส ที่สำคัญยังช่วยชะลอความเสื่อมสมรรถภาพทางร่างกาย และรักษาอาการวัยทองต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น อาการร้อนวูบวาบ อาการนอนไม่หลับ อาการอารมณ์แปรปรวน ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณผู้ชายวัยทองควรทำอย่างสม่ำเสมอเป็นอย่างยิ่ง โดยอาจจะเริ่มจากง่ายๆ วันละ 15 – 30 นาที เช่น
- การเดิน
- การวิ่งเหยาะๆ
- การเต้นแอโรบิก
- ธาราบำบัด
- ควบคุมอาหาร – รับประทานถูกหลัก
อ้วนง่าย แต่ผอมยาก นี่เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ชายวัยทองอาจพบเจอได้ จึงควรต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ขนมขบเคี้ยว ขนมหวาน และอาหารแปรรูป เนื่องจากเมื่อฮอร์โมนลดต่ำลงและระบบเผาผลาญที่ไม่เหมือนเหมือนส่งผลให้ไขมันสะสมที่หน้าท้อง อาจนำมาสู่การเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้
นอกจากนี้ยังมีอาการร้อนวูบวาบ อาการนอนไม่หลับ อาการเหงื่อออกมาก อารมณ์แปรปรวน ที่อาจพบได้เมื่อคุณผู้ชายเข้าสู่วัยทอง การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการก็จะช่วยลดอาการต่างๆ เหล่านี้ได้ดีเช่นกัน
อาหารที่แนะนำ
- ปลาน้ำลึก (โอเมก้า 3) เช่น ปลาแซลมอน ปลาทู
- ถั่วและเมล็ดพืช เช่น ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วดำ ลูกเดือย งาดำ
- ผักใบเขียว เช่น ผักโขม ผักคะน้า บล็อกโคลี
- โยเกิร์ตไขมันต่ำ นมไขมันต่ำ
- ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวโอ้ต ข้าวบาร์เลย์ ข้าวกล้อง เป็นต้น
เสริมฮอร์โมนเพศชายง่ายๆ ด้วยอาหารเสริมจากสูตรคุณหมอ
“ดีเน่ แอนโดรพลัส DNAe Andro plus” อาหารเสริมจากสูตรคุณหมอและเภสัชกรที่ร่วมกันคิดค้นอยู่นานร่วมหลายปี จนปัจจุบันได้สูตรที่มีคุณภาพจากสารสกัดเข้มข้นจากธรรมชาติ คัดเกรดพรีเมียม ที่มีเลขทะเบียน อย. รับรองอย่างถูกต้อง, มีใบวิเคราะห์การีนตีสารสกัดนำเข้า, มีค่าเปอร์เซนต์สารสำคัญ และไม่ตัดแต่งพันธุกรรม เพื่อให้ให้คุณผู้ชายใช้ชีวิตได้อย่างมีความ ลดและบรรเทาอาการวัยทองผู้ชาย
“ดีเน่ แอนโดรพลัส DNAe Andro plus” กับสรรพคุณประโยชน์ที่ช่วยให้คุณผู้ชายวัยทอง กลับมามีสุขภาพร่างกายที่เต็มเปี่ยมอีกครั้ง ด้วยการทานง่ายๆ วันละ 1 เม็ด หลังอาหารมื้อที่คุณผู้ชายวัยทองสะดวก ซึ่งมีส่วนช่วย…
- ช่วยเพิ่ม สมรรถภาพทางเพศของผู้ชายให้กลับมาดีขึ้น
- ช่วยเพิ่ม ฮอร์โมนในเพศชายสูงอายุ – วัยทองตามที่ร่างกายต้องการ
- ช่วยป้องกัน โรคต่อมลูกหมากที่อาจมีได้ เมื่ออายุมากขึ้น
- ช่วยสร้าง กล้ามเนื้อร่างกาย ลดอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรงระหว่างวัน
- ช่วยเพิ่ม เรื่องระบบหัวใจและหลอดเลือด ให้ไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น
- ช่วยบำรุง ไขข้อและกระดูก ต้านอาการอักเสบ ลดอาการปวดตามข้อต่างๆ
ยังมีส่วนช่วยต่างๆ อีกมากมาย เพราะ “ดีเน่ แอนโดรพลัส DNAe Andro plus” คัดแล้ว คัดอีก เพื่อให้ผู้ทานมีความสุขในการใช้ชีวิตในทุกๆ วันกับคนที่คุณรัก
- งดสูบบุหรี่ – แอลกอฮอล์
เมื่ออายุมากขึ้น และเมื่อผู้ชายเข้าสู่วัยทองควรต้องดูแลตัวเองให้ดียิ่งขึ้นกว่าแต่เก่ามากขึ้น บุหรี่เป็นอันตรายต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบตันได้ง่าย และผู้ที่เลิกสูบบุหรี่มาแนวโน้มลดลงในการเป็นโรคหัวใจในอนาคต ลดความเสี่ยงโรคอื่นๆ ที่เชื่อมโยงกับหัวใจ
สำหรับแอลกอฮอล์ควรมีการจำกัดการดื่ม และลดปริมาณให้น้อยลงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะจะสามารถลดโอกาสเสี่ยงโรคร่างต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน ทั้งนี้แอลกอลฮอล์ยังมีโอกาสที่จะสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการในวัยทอง เช่น อาการร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับ ได้ด้วย
- ลดความเครียด
เพราะความเครียดเป็นสิ่งที่ทำให้จิตใจไม่แจ่มใส รู้สึกไม่มีความสุข และเมื่อสมองรับรู้ก็จะส่งผลต่อความรู้สึกในจิตใจ ทำให้เรานิ่งเฉย เมิน ไม่อยากจะทำอะไรสักอย่าง และอาจเกิดภาวะซึมเศร้าตามมาได้ ดังนั้นเพื่อลดความเครียด ควรที่จะ
- พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายและจิตใจไม่เครียด หรือวิตกกังวลเกิดเหตุ
- พบปะสังสรรค์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว ลดอาการที่ทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว เหงา
- หากิจกรรมอดิเรก จากกิจกรรมที่ชอบไม่ว่าจะเป็นการดูหนัง ฟังเพลง
สรุป
การดูแลสุขภาพของผู้ชายในวัยทองนั้นเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องให้ความใส่ใจไม่แพ้กับเรื่องอื่นๆ ผู้ชายวัยทองทั้งหลาย… จึงควรเตรียมตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น โดยการเริ่มดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อรักษาอาการวัยทองรวมถึงโรคอื่นๆ การมีวินัยในการดำเนินชีวิตที่ดี พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมง งดสูบบุหรีและดื่มเหล้า กินอาหารที่มีประโยชน์ถูกสัดส่วน ลดอาหารประเภทน้ำตาลและไขมันให้น้อยที่สุด หลีกเลี่ยงความเครียด ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ และควรพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพเป็นประจำ การป้องกันและตรวจเช็คสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณมีชีวิตที่มีความสุขและยืนยาว