เข้าใจร่างกายของผู้หญิงในวัย 35+

ภาวะซึมเศร้าในผู้หญิงวัยทอง เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก เพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนไม่เพียงส่งผลต่อสภาพร่างกายเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อสภาพจิตใจและอารมณ์เพิ่มเติมเข้ามาอีกด้วย โดยมักที่จะเริ่มตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป ในช่วงนี้รังไข่ ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญในการผลิตฮอร์โมนเพศหญิงจะค่อยๆ ทำงานน้อยลง

และเมื่อรังไข่ทำงานน้อยลง การผลิตฮอร์โมนที่สำคัญในร่างกายอย่าง เอสโตรเจน และ โปรเจสเตอโรน ก็จะลดลงตามไปด้วย ฮอร์โมนทั้งสองตัวนี้เปรียบเสมือนตัวควบคุมระบบต่างๆ ในร่างกายของผู้หญิง เมื่อมีปริมาณลดลง จึงส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลย

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่พบได้บ่อยจนเป็นที่มาของอาการวัยทอง

  1. ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ คาดว่าคุณผู้อ่านบางท่านน่าจะเคยพบกับอาการนี้มาบ้างแล้ว กับประจำเดือนที่บางเดือนมาเร็ว บางเดือนมาช้า หรือบางครั้งก็ขาดหายไป เพราะฮอร์โมนที่ควบคุมการมีประจำเดือนนั้นไม่มีความสมดุล
  1. อาการร้อนวูบวาบและเหงื่อออกมาก ร่างกายของคุณผู้อ่านจะรู้สึกร้อนขึ้นมาทันทีโดยไม่มีสาเหตุ เหมือนถูกคลื่นความร้อนซัดเข้าใส่ ตามด้วยเหงื่อที่ออกมากผิดปกติ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน ทำให้นอนหลับไม่สบาย จนเกิดอาการนอนไม่หลับ ทำให้ต้องมองหาวิธีแก้อาการร้อนวูบวาบตามมา (01/11)
  1. ผิวหนังเปลี่ยนแปลง พอฮอร์โมนที่ผลิตทำได้ลดลง ก็ส่งผลทำให้ผิวขาดความชุ่มชื้น เหมือนต้นไม้ที่ขาดน้ำ ผิวจึงแห้ง เหี่ยว และเกิดริ้วรอยได้ง่าย
  1. กระดูกบางลง ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ผลิตลดน้อยลงนั้น มีส่วนสำคัญในการรักษาความแข็งแรงของกระดูก เมื่อฮอร์โมนนี้ลดลง กระดูกจะค่อยๆ บางลง เหมือนโครงสร้างที่ถูกกัดเซาะทีละน้อย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนและกระดูกหักง่าย
  1. น้ำหนักเพิ่มขึ้นง่าย การเผาผลาญในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดการสะสมไขมันได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง แม้คุณผู้อ่านจะรับประทานอาหารในปริมาณเท่าเดิมก็ตาม ก็จะรู้สึกว่าร่างกายของตนเองนั้นอ้วนง่ายขึ้น
  1. กล้ามเนื้อและข้อต่ออ่อนแอ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง ข้อต่อต่างๆ อาจรู้สึกปวดเมื่อยง่าย ทำให้การเคลื่อนไหวไม่คล่องแคล่วเหมือนเดิม

ผลกระทบต่อสุขภาพจิตกับอาการวัยทอง

นอกจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพแล้วตามที่เราได้นำเสนอให้คุณผู้อ่านข้างต้นก่อนหน้านั้น หากเข้าสู่วัยทองแล้ว เมื่อฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงยังส่งผลต่อสภาพจิตใจอย่างมาก เช่น

  • อารมณ์แปรปรวนง่าย
  • วิตกกังวลโดยไม่มีสาเหตุ
  • ความจำเสื่อมลง
  • ขาดสมาธิ
  • นอนไม่หลับ
  • ความมั่นใจในตัวเองลดลง

ความเชื่อมโยงระหว่างวัยทองและภาวะซึมเศร้า

เพราะวัยทองเป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในชีวิตผู้หญิง ที่ส่งผลกระทบทั้งต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยทองที่ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงอย่างมาก 

ซึ่งฮอร์โมนนี้ไม่ได้มีผลแค่เรื่องระบบสืบพันธุ์เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองด้วย เปรียบเสมือนกุญแจที่ไขให้สมองผลิตสารเคมีที่ทำให้เรามีความสุข

เมื่อเอสโตรเจนลดลง จะส่งผลให้สารสื่อประสาทสำคัญสองตัวลดลงตามไปด้วย

  • เซโรโทนิน เป็นสารที่ช่วยให้เรารู้สึกมีความสุข ผ่อนคลาย และนอนหลับสบาย
  • นอร์อีพิเนฟริน เป็นสารที่ช่วยควบคุมอารมณ์ แรงจูงใจ และพลังงานในร่างกาย

นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องของปัจจัยรอบตัวต่างๆ ที่ยิ่งทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า เมื่อเข้าสู่วัยทอง ไม่ว่าจะเรื่องปัจจัยทางสังคมการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงานหน้าที่หลังอายุที่เพิ่มสูงมากขึ้น ความกังวลเรื่องของรูปร่างที่ไม่เหมือนแต่ก่อน การหมดประจำเดือนที่ทำให้รู้สึกว่ามีอายุเพิ่มสูงขึ้น และเรื่องอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนี้เมื่อเกิดการสะสมมากๆ และไม่มีทางแก้ไข หรือลดความเครียดไปได้ก็อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าตามมาได้อย่างไม่รู้ตัว

สัญญาณเตือนภาวะซึมเศร้าในวัยทอง

ภาวะซึมเศร้าในวัยทองเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยและมักถูกมองข้าม เพราะหลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นเพียงอาการปกติของวัยทอง การรู้จักสังเกตสัญญาณเตือนตั้งแต่เนิ่นๆ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที

การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ สัญญาณที่มองเห็นได้ชัดเจนที่สุด

  • อารมณ์เศร้าที่ไม่ใช่แค่ความเศร้าธรรมดา เมื่อความรู้สึกเศร้าหรือหดหู่นั้นติดตัวคุณไปทุกที่ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ยังรู้สึกเศร้า และอาการนี้คงอยู่ต่อเนื่องนานกว่า 2 สัปดาห์ นี่คือสัญญาณที่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด
  • ความสุขที่หายไป กิจกรรมที่เคยสร้างรอยยิ้มให้คุณผู้อ่าน ไม่ว่าจะเป็นงานอดิเรก การพบปะเพื่อนฝูง หรือกิจกรรมครอบครัว กลับกลายเป็นเรื่องที่ไม่น่าสนใจอีกต่อไป
  • ความรู้สึกไร้คุณค่า เริ่มมีความคิดว่าตัวเองไม่มีประโยชน์ ไม่มีความสำคัญ หรือรู้สึกสิ้นหวังกับชีวิต และบางครั้งอยากจบชีวิตตัวเอง
  • อารมณ์ที่ควบคุมยาก หงุดหงิดง่ายกว่าปกติ โกรธรุนแรงกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ หรือร้องไห้โดยไม่รู้สาเหตุ เกิดเป็นอารมณ์แปรปรวนสร้างสถานการณ์ที่ไม่ดีต่อคนรอบข้าง (06/11)

สัญญาณทางร่างกาย เมื่อจิตใจส่งผลถึงร่างกาย

  • พฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนไป บางคนอาจเบื่ออาหาร ทานได้น้อยลงจนน้ำหนักลด ในขณะที่บางคน อาจกินมากขึ้นผิดปกติเพื่อกลบเกลื่อนความรู้สึกที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นกับตนเอง
  • การนอนที่ผิดปกติ ปัญหาการนอนมักมาพร้อมกับภาวะซึมเศร้า ไม่ว่าจะเป็นนอนไม่หลับ นอนหลับๆ ตื่นๆ หรือนอนมากเกินไปจนรู้สึกเพลียตลอดเวลา ไม่มีแรงในการดำเนินชีวิต
  • ความเหนื่อยล้าที่ไม่หายไป รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง แม้จะพักผ่อนเต็มที่แล้วก็ตาม
  • อาการปวดที่อธิบายไม่ได้ มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณหลังและไหล่ โดยไม่มีสาเหตุทางกายที่ชัดเจน
  • ระบบย่อยอาหารแปรปรวน ท้องผูก ท้องเสีย หรือมีอาการปวดท้องบ่อยๆ ซึ่งเป็นผลมาจากความเครียดและภาวะซึมเศร้า

การเปลี่ยนแปลงทางความคิด เมื่อจิตใจถูกครอบงำด้วยความคิดด้านลบ

  • วงจรความคิดลบ จิตใจจดจ่ออยู่กับความคิดด้านลบ มองทุกอย่างในแง่ร้าย และคิดวนเวียนอยู่กับปัญหาที่แก้ไม่ตก ทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน เครียดและส่งผลกระทบต่อตนเอง
  • การตัดสินใจที่ยากขึ้น แม้แต่การตัดสินใจในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน ก็กลายเป็นเรื่องที่ยากและใหญ่ต่อชีวิต สร้างความกังวลไม่รู้จบ
  • สมาธิที่หายไป มีปัญหากับการจดจ่อกับงานหรือกิจกรรมต่างๆ ที่กำลังทำอยู่ในขณะนั้น ความจำแย่ลง และทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเหมือนเดิม อ่อนล้า สมองไม่พร้อมทำงาน
  • ความคิดทำร้ายตัวเอง นี่คือสัญญาณอันตรายที่ต้องได้รับความช่วยเหลือโดยด่วน หากคุณผู้อ่านมีความคิดอยากทำร้ายตัวเอง ควรปรึกษาหรือเข้าพบจิตแพทย์ทันที

ป้องกันภาวะซึมเศร้า สร้างภูมิคุ้มกันให้กายและใจวัยทอง

การดูแลตัวเองอย่างเป็นองค์รวมเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกันและจัดการกับภาวะซึมเศร้าในวัยทอง โดยต้องให้ความสำคัญทั้งด้านร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆ กัน

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต: เริ่มต้นจากพื้นฐานที่สำคัญ

  1. การออกกำลังกาย 

การออกกำลังกายไม่เพียงแต่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงสำหรับวัยทองเท่านั้น แต่ยังเป็นยาแก้ซึมเศร้าตามธรรมชาติที่ดีที่สุดที่สามารถพบได้ง่าย เพราะการออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอนดอร์ฟิน ซึ่งเป็นที่ช่วยให้เรารู้สึกมีความสุขและผ่อนคลายในตัวเอง โดยขอแนะนำให้เลือกกิจกรรมที่เหมาะกับวัยและสภาพร่างกาย เช่น 

  • การเดินเร็ววันละ 30 นาที 
  • การว่ายน้ำที่ช่วยลดแรงกระแทกของข้อต่อ 
  • หรือโยคะที่ช่วยเสริมสร้างความยืดหยุ่นและสมาธิไปพร้อมกัน
  1. การรับประทานอาหาร

โภชนาการเพื่อสมดุลฮอร์โมน อาหารที่เหมาะสมและมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายไม่เพียงช่วยควบคุมน้ำหนักแก่คุณผู้อ่านเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อการทำงานของฮอร์โมนและสารเคมีในสมองอีกด้วย โดยเราขอแนะนำให้คุณผู้อ่านควรเน้นอาหารที่มีประโยชน์ต่อผู้หญิงวัยทอง เช่น 

  • อาหารที่อุดมด้วยแคลเซียมเพื่อป้องกันกระดูกพรุน 
  • ผักและผลไม้สดที่มีวิตามินและแร่ธาตุครบถ้วน
  • โปรตีนคุณภาพดีจากปลา ไข่ และถั่วเหลือง 
  • รวมถึงกรดไขมันโอเมก้า – 3 ที่ช่วยบำรุงสมองและลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้า

และคุณผู้อ่านท่านใดที่มองหาตัวจบเดียวที่ทานแล้วเรียกว่าได้บำรุงเหมือนกับโภชนาการที่เราแนะนำได้บน คุณเข้าใจถูกแล้ว เพราะเรากำลังจะแนะนำอาหารเสริมที่สร้างมาเพื่อวัยทองอย่างเราๆ กับ

ดีเน่ ฟลาโวพลัส (DNAe Flavoplus) อาหารเสริมวัยทองสำหรับคุณผู้หญิงที่มีสารสกัดเข้มข้นจากธรรมชาติเกรดนำเข้าที่ช่วยแก้ไขปัญหาทางด้านร่างกายและจิตใจของวัยทอง โดยคัดสรรผลิตจากธรรมชาติที่มั่นได้ว่าปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อาทิ

  • อินูลิน พรีไบโอติก นำเข้าจากเบลเยี่ยม ช่วยปรับสมดุลทางอาหารและลำไส้ ให้คุณดูดซึมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายได้ดีขึ้น เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • แปะก๊วย ที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่ไปบำรุงสมอง ทำให้คุณหลับสบาย ไม่เครียด ตื่นเช้ามาแล้วสดชื่น ใช้ชีวิตต่อได้อย่างไร้ปัญหา
  • ถั่วเหลือง นำเข้าจากสเปน ที่มีงานวิจัยรองรับว่ามีไฟโตเอสโตรเจนแบบเดียวกับฮอร์โมนที่ช่วยลดอาการวัยทองต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

นี่เป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งของสารสกัดจาก ดีเน่ ฟลาโวพลัส (DNAe Flavoplus) ที่เขาคัดสรรมาให้คุณ เพียงทานวันละ 1 แคปซูล หลังอาหารมื้อที่สะดวก หรือใครที่สงสัยเพิ่มเติม อยากสอบถาม เราก็มีทีมคุณหมอและเภสัชกรคอยให้คำตอบให้คุณมั่นใจได้ว่าเลือกผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับวัยทองไม่ผิดแน่นอน(16/11)

  1. การพักผ่อน 

คุณภาพการนอน คือ รากฐานของสุขภาพจิตที่ดี การนอนหลับที่เพียงพอและมีคุณภาพเป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันภาวะซึมเศร้า โดยคุณผู้อ่านควรสร้างสุขอนามัยการนอนที่ดี เช่น 

  • การเข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลา 
  • การจัดห้องนอนให้เย็นสบายและมืดสนิท 
  • การหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์หรือแท็บเล็ตก่อนนอน 
  • และการทำกิจกรรมผ่อนคลายก่อนเข้านอน เช่น การอ่านหนังสือ การฟังเพลงเบาๆ หรือการทำสมาธิ

การดูแลสุขภาพจิต: เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางใจ

  1. การฝึกสติและการทำสมาธิ

การฝึกสติและสมาธิของเราให้อยู่กับปัจจุบันนั้นไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถอย่างที่หลายคนคาดคิด สามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ จากการหายใจอย่างมีสติ การเดินสมาธิในสวน หรือการทำกิจกรรมประจำวันอย่างมีสติ เช่น การรับประทานอาหาร การล้างจาน การฝึกสติอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความวิตกกังวล ความเครียด และความคิดด้านลบที่วนเวียนอยู่ในหัวของเราได้นั้นเอง

  1. การสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม

เพราะมนุษย์เรานั้นเป็นสัตว์สังคม การมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อนสนิท สังคมที่ทำงาน หรือคนรอบข้าง สามารถเป็นยาแก้ซึมเศร้าชั้นที่มีประสิทธิภาพมากๆ ควรรักษาการติดต่อกับเพื่อนและครอบครัว เข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมที่สนใจ หรือทำงานอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น 

การได้พูดคุย ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ และช่วยเหลือผู้อื่น จะช่วยให้คุณผู้อ่านรู้สึกว่าชีวิตของเรานั้นมีคุณค่าและมีความหมายในชีวิต สิ่งสำคัญที่สุดคือ การตระหนักว่าภาวะซึมเศร้าในวัยทองไม่ใช่เรื่องน่าอาย และไม่ใช่สิ่งที่ต้องอดทนทนทุกข์อยู่คนเดียว หากสังเกตเห็นสัญญาณเตือนต่างๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพราะภาวะซึมเศร้าสามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ด้วยการดูแลที่เหมาะสม ทั้งการรักษาด้วยยา การทำจิตบำบัด และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

สรุป

การเผชิญกับภาวะซึมเศร้าในช่วงวัยทองเป็นความท้าทายที่ผู้หญิงหลายคนต้องเผชิญ แต่ด้วยความเข้าใจ การดูแลตนเองอย่างเหมาะสม และการสนับสนุนจากคนรอบข้าง จะช่วยให้ผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปได้ด้วยดี สิ่งสำคัญคือการยอมรับการเปลี่ยนแปลง ไม่ปล่อยให้ตัวเองโดดเดี่ยว และกล้าที่จะขอความช่วยเหลือเมื่อต้องการ การดูแลทั้งร่างกายและจิตใจอย่างสมดุล จะช่วยให้ผู้หญิงวัยทองสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดี