คุณผู้อ่านเชื่อเหมือนกันไหมว่า… วัยทองกับโรคหัวใจเป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยทอง จากการศึกษาพบว่าผู้หญิงวัยทองมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 2 – 4 เท่า จากการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงเมื่อเข้าสู่วัยทอง ได้อ่านแบบนี้แล้ว… เราจะป้องกันได้อย่างไร? และสัญญาณอะไรบ้าง? ที่บอกว่าเราอาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ
สัญญาณเตือนโรคหัวใจในวัยทอง
เพราะไม่มีใครรู้ความผิดปกติของร่างกายได้เท่าตัวเรา การสังเกตอาการผิดปกติจึงเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ในการป้องกันวัยทองกับโรคหัวให้ห่างจากกัน โดยสัญญาณเตือนที่ควรใส่ใจมีดังนี้
- รู้สึกว่าตัวเองมีลักษณะอาการเหนื่อยง่ายผิดปกติ
- มีอาการใจสั่น หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ
- มีอาการแน่นหน้าอก หรือเจ็บหน้าอก
- หายใจลำบากไม่เต็มอิ่ม
- วิงเวียนศีรษะบ่อยๆ
- เหงื่อออกมากผิดปกติ
- อาการปวดกราม ปวดไหล่ ปวดแขน
- อ่อนเพลียไม่มีแรง เหนื่อยง่ายแม้ทำกิจกรรมเบาๆ
ผลกระทบของวัยทองต่อสุขภาพหัวใจ
- การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน
- การเปลี่ยนแปลงของระดับคอเลสเตอรอล
- ความดันโลหิตที่ผันผวน
- การสะสมไขมันที่เพิ่มขึ้น
วิธีป้องกันโรคหัวใจวัยทองด้วยตัวเอง
- ควบคุมน้ำหนัก
นอกจากอายุที่มากขึ้นแล้ว ผู้หญิงในช่วงวัยกลางคน อาจเผชิญปัจจัยเฉพาะตัวที่ส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นของผู้หญิงวัยกลางคนเป็นผลมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้นและการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต ดังนั้น ควรที่จะควบคุมแคลอรี่ในแต่ละมื้ออาหารเพื่อรักษาดัชนีมวลกายให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
เมื่อเข้าสู่ช่วง “วัยทอง” ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงมากมายทั้งด้านสรีระ อารมณ์ ตลอดจนเรื่องของกระดูก การออกกำลังกายที่เหมาะสมจึงเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาสุขภาพ บรรเทาและลดอาการวัยทองได้ โดยคุณผู้อาจจะเริ่มจากกีฬาเบาๆ อย่างการเดินหรือการวิ่งเหยาะๆ 15 – 30 นาทีต่อวัน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง และเพิ่มความเข้มข้นไปเรื่อยๆ เมื่อร่างกายมีความทนทานมากขึ้น
- รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ
ที่ต้องเน้นเรื่องการรับประทานอาหาร เพราะร่างกายคนวัยทองเผาผลาญสารอาหารไม่ค่อยดี ทำให้เสี่ยงต่อโรคไขมันในเลือดสูง นอกจากนี้ไตก็ทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้เสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจวัยทองอีกต่อหนึ่ง
ดังนั้น ควรจะต้องเน้นทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยในการขับถ่าย ย่อยง่าย เพิ่มอาหารที่มีโอเมก้า 3 อย่างปลาทะเล และควรลดอาหารมัน เค็ม หวาน
- พักผ่อนให้เพียงพอ
อาการนอนไม่หลับมักมาพร้อมกับอาการวัยทอง ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้คุณตอบสนองได้ช้าลงและอาจะเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้น โดยอาจจะเริ่มต้นจากการจัดตารางการนอนให้เป็นเวลาให้ร่างกายได้จดจำช่วงเวลา สร้างบรรยากาศห้องให้เอื้อต่อกันพักผ่อน ไม่มีแสงมารบกวน และควรนอนหลับอย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมงต่อวัน
- จัดการความเครียด
เริ่มต้นด้วยการทำสภวะจิตใจให้แจ่มใส มีความสุข และเข้มแข็งอยู่เสมอ ผ่านการพูดคุยกับคนใกล้ชิด ทำกิจกรรมที่ชื่นชอบและผ่อนคลายต่อจิตใจ เช่น การทำสมาธิ การอ่านหนังสือ การฟังเพลง วาดรูป ทำอาหาร เป็นต้น เพื่อช่วยบรรเทาความเครียดในจิตใจ และสามารถจัดการกับอารมณ์ในแง่ลบได้
- ตรวจสุขภาพประจำปี
การดูแลและรักษาสุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับวัยทอง เพราะเมื่ออายุมากขึ้นร่างกายย่อมมีการเสื่อมสภาพหรือบกพร่องไป แต่เราก็สามารถดูแลและตรวจสอบสภาพร่างกายของเราได้โดยการตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อค้นหาโรคต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในร่างกายเราตั้งแต่ เพื่อให้เราสามารถรักษาโรคต่างๆได้ทันท่วงที ไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมา
- งดสูบบุหรี่ และลดการดื่มแอลกอฮอล์
ปัจจัยที่ทำให้อาการวัยทอง และโรคหัวใจในวัยทองเกิดได้เร็วกว่าปกติ คือ เรื่องของกรรมพันธุ์ การทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด ความอ้วน การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ดังนั้น คุณผู้อ่านจึงควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ และรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
การดื่มน้ำยังคงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เนื่องจากไม่มีแคลอรีหรือน้ำตาล การดื่มน้ำให้เพียงพอหมายถึง การดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อให้ระดับของเหลวอยู่ในระดับที่เหมาะสมที่สุดสำหรับร่างกาย โดยให้สังเกตสีของปัสสาวะ หากมีสีอ่อนแสดงว่าได้รับน้ำเพียงพอแล้ว ในขณะที่ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม แสดงว่าคุณอาจขาดน้ำ โดยดื่ม 8 – 10 แก้วต่อวัน
อาหารบำรุงหัวใจสำหรับวัยทอง
วัยทองกับโรคหัวใจ เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของผู้คนทั่วโลก แต่โรคนี้สามารถป้องกันได้ เพราะการกินอาหารเป็นตัวบ่งชี้สุขภาพของเราได้เลย จึงควรเริ่มต้นการการรับประทานอาหารให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เช่น
- ปลาทะเลน้ำลึก เป็นปลาที่มีโปรตีนสูง ทั้งยังมีกรดไขมันโอเมกา 3, วิตามินบี 12, วิตามินบี 6, วิตามินดี จึงมีส่วนสำคัญในการช่วยบำรุงร่างกาย สายตา สมอง รวมถึงลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจวัยทอง เช่น ปลาแซลมอน เป็นต้น
- ผักใบเขียวและผลไม้ต่างๆ เพราะมีวิตามิน แร่ธาตุ และไฟเบอร์ ที่ล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนวัยทอง ที่ต้องการสารอาหารไปบำรุงการทำงานของระบบต่าง ๆ รวมถึงซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และช่วยให้สุขภาพแข็งแรงป้องกันโรคหัวใจวัยทอง เช่น บล็อกโคลี ดอกกะหล่ำ หัวไชเท้า และผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ รวมถึงแอปเปิ้ล องุ่น และกล้วย
- ธัญพืชไม่ขัดสี อุดมไปด้วยแร่ธาตุแมกนีเซียม ที่มีส่วนช่วยในการลดความวิตกกังวล และความแปรปรวนของอารมณ์ได้ อีกทั้งยังมีกรดไขมันโอเมกา 3 ที่ช่วยลดการสูญเสียของมวลกระดูกได้ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ้ต งาดำ
- ถั่วชนิดต่างๆ โดยเฉพาะถั่วเหลือง เพราะอุดมไปด้วยกรดอะมิโนอาร์จินีนที่มีส่วนช่วยในการกระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมน และยังปรับระดับฮอร์โมนเอสโทรเจนให้ลดลงอยู่ในเกณฑ์ที่สมดุลกับโพรเจสเทอโรน ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ ลดความเครียด และปรับสภาพอารมณ์ที่แปรปรวน ซึ่งเป็นอาการของคนวัยทองได้
และจะดีกว่าไหม? ถ้าคุณผู้อ่านสามารถรับประทานอาหารจากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ผ่านการทานแค่ 1 เม็ด แต่ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อวัยทองอย่างเต็มที่ เราขอแนะนำ DNAe Flavoplas ดีเน่ ฟลาโวพลัสของเภสัชออย ที่มีสารสกัดจากธรรมชาติถึง 6 ชนิด 7 งานวิจัยรองรับ
แล้วทำไมถึงจะต้องเป็น DNAe Flavoplas ดีเน่ ฟลาโวพลัสของเภสัชออย เพราะเขามีสารสกัดเข้มข้นจากธรรมชาติ เกรดนำเข้าที่ได้คุณภาพ และมีเลขทะเบียน อย. มีใบวิเคราะห์การันตี ที่ใช้สารสกัดถั่วเหลืองนำเข้า ซึ่งมีประโยชน์ช่วยลดอาการวัยทอง
แล้วเกี่ยวยังไงกับเรื่องของโรคหัวใจวัยทอง นอกจากสารสกัดหลักจากถั่วเหลืองแล้ว ในหนึ่งขวดยังมีสารสกัดอื่นๆ อย่าง แปะก๊วย ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้น, ตังกุย บำรุงเลือด อินูลิน พรีไบโอติก เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ปรับสมดุลอาหาร และสารสกัดอื่นๆ อีกมากมายที่การันตีได้ว่าดีต่อวัยทองแน่นอน รับประทานง่ายเพียงละครั้ง 1 แคปซูล พร้อมอาหารมื้อที่สะดวก
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
คุณผู้อ่านที่อยู่ในภาวะวัยทองควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารรสจัดหรือเผ็ดร้อน ขนมขบเคี้ยว ขนมหวาน และอาหารแปรรูป เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนและเทสโทสเตอโรนลดต่ำลง ส่งผลให้ไขมันสะสมที่หน้าท้อง อ้วนได้ง่าย ทำให้เกิดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดและอาการโรคหัวใจวัยทอง รวมถึงโรคเบาหวาน
- อาหารหมักดอง
- อาหารรสจัด
- ของทอด
- ขนมหวาน
- เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง
สัญญาณอันตรายที่ต้องพบแพทย์ทันที
อาการฉุกเฉิน:
- มีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกอย่างรุนแรง
- หายใจติดขัดมาก หายใจเข้าไม่เต็มปอด
- อาการปวดกราม ปวดไหล่ หรือปวดร้าวมาที่แขนซ้ายหรือขวา
- เหงื่อออกท่วมตัวโดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีอาการหมดสติ
บทสรุป
เพราะวัยทองกับโรคหัวใจเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษไม่แพ้เรื่องอื่น การป้องกันและดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ทั้งการรับประทานอาหารบำรุงหัวใจวัยทอง การออกกำลังกาย และการพักผ่อนที่เพียงพอ พร้อมกับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ คุณก็จะสามารถมีสุขภาพหัวใจที่ดีได้แม้ในวัยทอง