“วัยทอง” เป็นช่วงรอยต่อระหว่างวัยผู้ใหญ่ตอนต้นถึงวัยสูงอายุ โดยจะอยู่ในช่วงอายุ 40 หรือ 45 ปีขึ้นไป ซึ่งร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะมีการผลิตฮอร์โมนเพศลดลงทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคลในวัยนี้ ส่งผลให้มีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างจากวัยอื่นๆ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อปัญหาผมร่วงผิดปกติที่เกิดขึ้นในบางท่าน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง อาจจะร่วงเป็นบางช่วงหรืออาจร่วงเรื้อรังในบางรายก็มีให้เห็นบ่อยๆ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจจะเป็นผลจากการเข้าสู่วัยทองนั่นเอง
ทำความเข้าใจกลไกการทำงานของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกัน
ผู้หญิงวัยทอง ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนหลักที่ควบคุมลักษณะความเป็นหญิง เมื่อเข้าสู่วัยทอง รังไข่จะค่อยๆ ลดการผลิตฮอร์โมนนี้ลงส่งผลให้…
- รากผมของวัยทองได้รับสารอาหารน้อยลง เนื่องจากเอสโตรเจนมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการไหลเวียนเลือดที่หนังศีรษะ ซึ่งเมื่อได้น้อยลงก็อาจทำใ้ห้เกิดผมร่วงตามมาในบางรายได้
- วงจรการเจริญเติบโตของเส้นผมในวัยทองนั้นสั้นลง ทำให้ผมร่วงเร็วขึ้นกว่าปกติ
- เส้นผมของวัยทองที่งอกใหม่มีขนาดเล็กลงและบางกว่าเดิม ผมจึงร่วงและขาดได้ง่าย เพราะเอสโตรเจนมีบทบาทในการสร้างโปรตีนเคราติน
- หนังศีรษะของวัยทองอาจแห้งและบางลง เนื่องจากการลดลงของคอลลาเจนและไขมันใต้ผิวหนัง ทำให้ผมขาด และหลุดร่วงได้ง่ายกว่าปกติ
ผู้ชายวัยทอง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้ชายวัยทองที่มีความซับซ้อน 04: 12/67 โดยเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนหลัก 2 ชนิด
- เทสโทสเตอโรน
- เมื่อระดับเทสโทสเตอโรนลดลงตามวัย จะส่งผลให้การสร้างโปรตีนในร่างกายวัยทองลดลง
- เซลล์รากผมได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต จนเกิดปัญหาผมร่วง
- กระบวนการซ่อมแซมและฟื้นฟูเซลล์ผมช้าลง ทำให้ผมร่วงได้ง่าย
- DHT (Dihydrotestosterone)
- เป็นฮอร์โมนที่แปรรูปมาจากเทสโทสเตอโรนโดยเอนไซม์ 5 – alpha reductase
- เมื่อ DHT จับกับตัวรับที่รากผม จะทำให้รูขุมขนหดตัวและตื้นขึ้น จนผมร่วง
- เส้นผมที่งอกใหม่จะมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่สามารถงอกได้
- ผลของ DHT จะชัดเจนในผู้ที่มีพันธุกรรมไวต่อฮอร์โมนนี้
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทั้งในชายและหญิงยังส่งผลต่อ
- การสร้างคอลลาเจนและอีลาสตินในหนังศีรษะ
- การผลิตน้ำมันจากต่อมไขมัน
- การไหลเวียนเลือดที่หนังศีรษะ
- ระบบภูมิคุ้มกันที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเส้นผม
ดังนั้น ความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนของวัยทองนี้ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการวางแผนการรักษาและป้องกันผมร่วง เพราะจะช่วยให้วัยทองเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม เช่น การใช้ยาที่ออกฤทธิ์ต้านฮอร์โมน DHT ในผู้ชาย หรือการทดแทนฮอร์โมนในผู้หญิง (ภายใต้การดูแลของแพทย์) รวมถึงการเลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผมที่มีส่วนผสมที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงวัย
นอกจากการเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมนในร่างกายแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถนำไปสู่อาการผมร่วงได้อีกด้วยไหม?
ปัจจัยทางพันธุกรรม
พันธุกรรม มีบทบาทสำคัญในการกำหนดความเสี่ยงต่อการเกิดผมร่วงในวัยทอง โดยเฉพาะในผู้ชายที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคศีรษะล้านแบบพันธุกรรม การมียีนที่ไวต่อฮอร์โมน DHT จะทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดผมร่วงเมื่อเข้าสู่วัยทอง การเข้าใจประวัติครอบครัวจึงมีความสำคัญในการประเมินความเสี่ยงและวางแผนการป้องกันล่วงหน้า
ความเครียดและปัจจัยทางจิตใจ
ความเครียดเรื้อรังส่งผลต่อการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งมีผลกระทบต่อวงจรการเจริญเติบโตของเส้นผมวัยทอง นอกจากนี้ความเครียดยังอาจนำไปสู่พฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพผม เช่น การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม การนอนหลับไม่เพียงพอ หรือการดึงผมโดยไม่รู้ตัว การจัดการความเครียดจึงเป็นส่วนสำคัญในการดูแลรักษาผมร่วงในวัยทอง
อาการและสัญญาณเตือนรูปแบบผมร่วงที่พบบ่อย
ผู้หญิงวัยทอง
มักพบการร่วงของผมในลักษณะที่เรียกว่า “Female Pattern Hair Loss” หรือ FPHL ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ
- ผมบางลงทั่วศีรษะ ผมบางลงทั่วศรีษะโดยเฉพาะบริเวณกลางศีรษะ เมื่อเข้าสู่วัยทองผู้หญิงจะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของเส้นผมในลักษณะที่กระจายตัวทั่วศีรษะ แต่มักเห็นชัดที่สุดบริเวณกลางศีรษะ ซึ่งมี
- หนังศีรษะเริ่มมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น เมื่อแสงส่องกระทบ
- เส้นผมเมื่อรวบจะดูบางลงกว่าเดิมอย่างชัดเจน
- การแบ่งกลางผมจะกว้างขึ้นเรื่อยๆ เป็นรูปตัว Y หรือ V
- อาจพบว่าต้องใช้ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผมมากขึ้นเพื่อปกปิดส่วนที่บาง
- เส้นผมมีขนาดเล็กลงและบางลงอย่างเห็นได้ชัด การเปลี่ยนแปลงของเส้นผมแต่ละเส้นจะมีลักษณะดังนี้
- เส้นผมที่งอกใหม่จะมีขนาดเล็กและบางกว่าเส้นผมเดิม
- เส้นผมมีความมันวาวน้อยลง ดูไม่มีน้ำหนัก
- เส้นผมเปราะและหักง่ายขึ้น
- การจัดแต่งทรงผมทำได้ยากขึ้น เพราะเส้นผมไม่อยู่ทรง
- แนวผมด้านหน้าถอยร่น แม้ลักษณะอาการผมร่วงของผู้หญิงวัยทองจะไม่รุนแรงเท่าผู้ชายวัยทอง แต่ก็สามารถสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงได้
- แนวผมด้านหน้าถอยร่นเล็กน้อย โดยเฉพาะบริเวณขมับ
- ผมบริเวณไรผมด้านหน้าบางลง แต่ยังคงมีเส้นผมปกคลุม
- อาจพบว่าต้องเปลี่ยนแบบการไว้ผมหน้าเพื่อปกปิดส่วนที่บางลง
ลักษณะพิเศษของเส้นผมในผู้หญิงวัยทอง
- ผมร่วงมักเป็นไปอย่างช้าๆ และค่อยเป็นค่อยไป
- ยังคงมีเส้นผมปกคลุมศีรษะ แม้จะบางลงมาก
- แนวผมด้านหน้ามักคงอยู่ แม้จะบางลง
- ไม่พบการล้านเป็นหย่อมชัดเจนเหมือนผู้ชาย
ผู้ชายวัยทอง
มักพบผมร่วงในลักษณะที่เรียกว่า “Male Pattern Baldness” หรือ MPB ซึ่งมีรูปแบบเฉพาะและมักพัฒนาไปตามลำดับขั้น ดังนี้
- ผมบางบริเวณขมับทั้งสองข้าง (รูปตัว M) ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของผมร่วงในระยะแรก
- แนวผมของวัยทองด้านหน้า เริ่มถอยร่นเป็นรูปตัว M ชัดเจน
- ขมับทั้งสองข้างของวัยทองบางลงไม่เท่ากัน บางคนอาจพบว่าข้างหนึ่งบางกว่าอีกข้าง
- ผมบริเวณขมับของวัยทองมักมีผมร่วงจนเห็นหนังศีรษะชัดเจน
- การจัดแต่งทรงผมเพื่อปกปิดทำได้ยากขึ้นเรื่อยๆ
- ผมบางบริเวณกลางศีรษะ ผมร่วงในระยะที่สอง มักพบลักษณะดังนี้
- เกิดจุดบางตรงกลางศีรษะของวัยทองและที่ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ จากผมร่วง
- หนังศีรษะของวัยทองเริ่มเห็นชัดเจน เมื่อมองจากด้านบน
- บริเวณที่ผมร่วงบางจุด อาจเชื่อมต่อกับส่วนที่บางจากขมับของวัยทอง
- ผมที่เหลืออยู่ในบริเวณนี้มักบางและเปราะ จนผมร่วงในที่สุด
- การล้านแบบผู้ชายวัยทอง เป็นรูปแบบผมร่วงในระยะสุดท้ายที่มีลักษณะเฉพาะและชัดเจน
- บริเวณที่ผมบางจากขมับ และกลางศีรษะของวัยทองเชื่อมต่อกัน
- วัยทองเหลือเพียงผมด้านข้างและด้านหลังศีรษะเป็นรูปตัว U
- ผมที่เหลืออยู่มักมีความหนา และแข็งแรงกว่าส่วนที่ผมร่วง
- การปกปิดด้วยการจัดแต่งทรงผมทำได้ยาก
จากอาการเตือนและการสังเกตผมร่วง ติดตาม เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของเส้นผมวัยทองอย่างสม่ำเสมอจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้วัยทองทุกท่านสามารถเริ่มการรักษาได้อย่างทันท่วงที ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการชะลอการร่วงของผมวัยทองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แล้วเราจะคาดคะเนหรือทราบระยะผมร่วงได้อย่างไร?
ระยะของการผมร่วง
ผมร่วงในวัยทองมักจะเกิดขึ้นเป็นระยะ โดยสามารถแบ่งออกได้ทั้งหมดเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะเริ่มต้นอาการผมร่วงวัยทอง
- วัยทองจะสังเกตเห็นเส้นผมร่วงมากขึ้น เมื่อสระผมหรือหวีผม
- พบเส้นผมบนหมอนหรือในห้องน้ำมากกว่าปกติ
- เส้นผมของวัยทองจะเริ่มบางลง แต่ยังไม่เห็นชัดเจน
ระยะกลางอาการผมร่วงวัยทอง
- วัยทองจะสามารถเห็นหนังศีรษะชัดเจนขึ้นในบางบริเวณ
- วัยทองจะสังเกตเห็นเส้นผมตนเอง บางลงอย่างเห็นได้ชัด
- การจัดแต่งทรงผมของวัยทอง ทำได้ยากขึ้น
ระยะรุนแรงอาการผมร่วงวัยทอง
- มีบริเวณที่ผมบางมาก หรือล้านชัดเจน
- เส้นผมที่เหลืออยู่มีคุณภาพลดลงมาก
- การปกปิดบริเวณที่ผมบางทำได้ยาก
การวินิจฉัยภาวะผมร่วงของวัยทองโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
การตรวจประเมินเบื้องต้น เป็นขั้นตอนสำคัญที่แพทย์จะต้องทำอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อให้ได้ข้อมูลของวัยทองที่ครบถ้วนและแม่นยำที่สุด โดยแพทย์จะเริ่มจากการซักประวัติอย่างละเอียด ซึ่งครอบคลุมประเด็นสำคัญต่างๆ ดังนี้
- ประวัติการเจ็บป่วยและการใช้ยา แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับโรคประจำตัว การผ่าตัด หรือการใช้ยาใดๆ ในปัจจุบัน เนื่องจากยาบางชนิดอาจส่งผลต่อการร่วงของเส้นผม เช่น ยารักษาโรคไทรอยด์ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือยารักษาโรคความดันโลหิตสูงบางชนิด
- ประวัติครอบครัวเกี่ยวกับการผมร่วง การสืบค้นประวัติครอบครัวมีความสำคัญมาก เพราะภาวะผมร่วงในวัยทองอาจมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม แพทย์จะสอบถามว่ามีญาติพี่น้องคนใดที่มีอาการผมร่วงในลักษณะเดียวกันหรือไม่
- พฤติกรรมการดูแลเส้นผม แพทย์จะสอบถามถึงวิธีการดูแลเส้นผมของวัยทองในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม การทำทรีตเมนต์ การย้อมผม การดัดผม หรือการใช้ความร้อนกับเส้นผม เพราะพฤติกรรมเหล่านี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เส้นผมอ่อนแอและผมร่วงง่าย
- การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว การลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว หรือการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวของวัยทองอย่างมีนัยสำคัญ อาจส่งผลต่ออาการผมร่วงของเส้นผมได้ แพทย์จึงต้องประเมินปัจจัยนี้ร่วมด้วย
- ความเครียดและปัจจัยทางจิตใจ ความเครียด ความวิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้าของวัยทอง สามารถทำให้เกิดอาการผมร่วงได้ แพทย์จะประเมินสภาวะทางจิตใจของผู้ป่วยวัยทองเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
วิธีการดูแลและป้องกันผมร่วงที่วัยทุกคนป้องกันได้
การดูแลเส้นผมในชีวิตประจำวัน เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่อยู่ในวัยทอง เนื่องจากในช่วงวัยนี้ เส้นผมมักมีความบอบบางและเปราะบางมากกว่าปกติ การดูแลอย่างถูกวิธีจะช่วยป้องกันและชะลอการผมร่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเราจะเริ่มต้นจาก
การสระผมอย่างถูกวิธี
- วัยทองควรเลือกใช้แชมพูที่เหมาะสมกับสภาพเส้นผมและหนังศีรษะ
นี่เป็นสิ่งพื้นฐานสำคัญของการดูแลเส้นผมที่วัยทองควรทำความเข้าใจ โดยเลือกแชมพูที่มีส่วนผสมอ่อนโยน ไม่มีสารซัลเฟตที่รุนแรง และมีส่วนผสมที่ช่วยบำรุงเส้นผมเพื่อป้องกันผมร่วง เช่น วิตามินบี โปรตีน หรือสารสกัดจากธรรมชาติที่ช่วยบำรุงรากผม
และหากวัยทองท่านใดที่มีปัญหาหนังศีรษะมัน ควรเลือกแชมพูที่มีส่วนผสมช่วยควบคุมความมัน แต่ถ้าหนังศีรษะแห้งควรเลือกแชมพูที่มีส่วนผสมให้ความชุ่มชื้นเพื่อป้องกันผมร่วง
- การหลีกเลี่ยงการสระผมด้วยน้ำร้อนจัด
เชื่อว่าวัยทองหลายท่านชอบอาบน้ำร้อนเพราะว่ามันฟิน แต่รู้หรือไม่ว่า…น้ำร้อนจัดจะทำลายโครงสร้างของเส้นผมและทำให้หนังศีรษะแห้งจนเกิดอาการผมร่วงตามมา วัยทองจึงควรใช้น้ำอุ่นในการสระผม และล้างด้วยน้ำเย็นในตอนสุดท้ายเพื่อปิดกาบผม ช่วยให้ผมเงางามและแข็งแรงขึ้น
- การนวดหนังศีรษะเบาๆ
วัยทองท่านใดที่ชอบการนวดศรีษะจะบอกว่ามีคุณมาถูกทางแล้ว เพราะการนวดศรีษะเบาๆ จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่หนังศีรษะวัยทอง ซึ่งจะช่วยให้รากผมได้รับสารอาหารดีขึ้นและลดอาการผมร่วง โดยควรใช้ปลายนิ้วนวดเป็นวงกลมเบาๆ ไม่ควรใช้เล็บขูดหรือนวดแรงเกินไป เพราะอาจทำให้หนังศีรษะบอบช้ำได้
- ความถี่ในการสระผม
วัยทองควรพิจารณาการสระผมตามสภาพเส้นผมและหนังศีรษะของแต่ละคนเพื่อป้องกันอาการผมร่วง โดยทั่วไปไม่ควรสระผมบ่อยเกินไป (ไม่ควรเกิน 1 – 2 ครั้งต่อวัน) เพราะจะทำให้หนังศีรษะของคุณเกิดความแห้งและผลิตน้ำมันมากเกินไปเพื่อชดเชย
การจัดแต่งทรงผมอย่างถูกวิธี
- การหลีกเลี่ยงการรัดผมแน่นเกินไป
วัยทองท่านใดที่ชอบมัดผมแน่นเกิดไป ขอแจ้งให้คุณเลิกทำพฤติกรรมนี้เด็ดขาด เพราะการรัดผมแน่นจะทำให้เกิดแรงดึงที่รากผม ส่งผลให้เส้นผมร่วงได้ง่าย วัยทองควรเลือกใช้ที่รัดผมที่มีความยืดหยุ่นและไม่รัดแน่นจนเกินไป หากต้องมัดผม ควรสลับตำแหน่งการมัดผมเพื่อไม่ให้แรงดึงกระจุกตัวที่จุดเดียว
- การเลือกใช้หวีที่เหมาะสมก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน
วัยทองควรใช้หวีที่มีขนาดฟันห่างพอเหมาะ ไม่แหลมคมจนบาดหนังศีรษะ และควรหวีผมอย่างนุ่มนวลเพื่อป้องกันผมร่วง โดยเริ่มจากปลายผมแล้วค่อยๆ หวีขึ้นไปที่โคนผม หากพบผมพันกันให้ใช้มือแกะออกก่อนแทนการใช้หวีดึง
- การใช้ความร้อนในการจัดแต่งทรงผม
วัยทองท่านใดที่ชอบใช้เครื่องความร้อนในการจัดแต่งทรงผม เช่น การเป่าผม การหนีบผม หรือการม้วนผม อยากให้คุณทำอย่างระมัดระวังและไม่ควรทำบ่อยเกินไป เพราะนี่ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ผมร่วง ที่สำคัญควรใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันความร้อนก่อนการจัดแต่งทรงผมทุกครั้ง และควรตั้งอุณหภูมิของเครื่องมือไม่ให้ร้อนเกินไป
- การย้อมผมหรือดัดผมควรทำด้วยความระมัดระวัง
หากคุณเป็นวัยทองที่ชอบย้อมผม หรือดัดผมเป็นชีวิตจิตใจ แนะนำว่าควรเว้นระยะห่างระหว่างการทำแต่ละครั้งอย่างน้อย 6 – 8 สัปดาห์เพื่อป้องกันผมร่วง และควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมอ่อนโยน และควรทำการทดสอบการแพ้ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ทุกครั้ง
และหลังจากที่วัยทองมีการย้อมหรือดัดผม ควรใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผมเป็นพิเศษเพื่อฟื้นฟูสภาพเส้นผมที่อาจได้รับความเสียหาย
นอกจากการระมัดระวังจากการสระผมและจัดทรงผมแล้ว อาหารการกินช่วยป้องกัน หรือบำรุงผมร่วงได้ไหม?
อาหารและโภชนาการสำหรับบำรุงเส้นผมในวัยทอง
ยังไงวัยทองก็หนีไม่พ้นเรื่องการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ และดีต่อสุขภาพของวัยทอง เพราะสารอาหารสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของเส้นผมเป็นปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในช่วงวัยทองที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ส่งผลให้เส้นผมอ่อนแอและบางลง การได้รับสารอาหารที่เหมาะสมจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับเส้นผมได้
โดยเฉพาะ “โปรตีน” สารอาหารที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตเส้นผมของวัยทอง เนื่องจากเส้นผมจะประกอบด้วยโปรตีนเคราติน (Keratin) เป็นหลัก การได้รับโปรตีนที่เพียงพอจึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างและซ่อมแซมเส้นผม แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนคุณภาพดี ดังนี้
- เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
แหล่งโปรตีนคุณภาพสูงที่อกจากจะให้โปรตีนแล้ว ยังอุดมไปด้วยธาตุเหล็กและวิตามินบี 12 ที่จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง ซึ่งช่วยในการลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงรากผม วัยทองควรเลือกเนื้อส่วนที่ไม่ติดมัน เช่น เนื้อสันใน อกไก่ เพื่อหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัวที่มากเกินไป ซึ่งอาจทำให้ผมร่วงได้
- ปลา
โดยเฉพาะปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล เป็นแหล่งโปรตีนที่ดีเยี่ยม กรดไขมันโอเมก้า 3 ยังช่วยบำรุงหนังศีรษะ ลดการอักเสบ และกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม นอกจากนี้ปลายังอุดมไปด้วยวิตามินดีที่ช่วยในการสร้างและซ่อมแซมเซลล์ผม ซึ่งดีต่อวัยทองมากๆ ในการป้องกันผมร่วง
- ไข่
แหล่งโปรตีนคุณภาพสูงที่มีราคาไม่แพงและวัยทองหาทานได้ง่าย ซึ่งในไข่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วน รวมถึงไบโอติน (วิตามินบี 7) ที่ช่วยในการสร้างเคราติน นอกจากนี้ยังมีวิตามินอี ซีลีเนียม และสังกะสี ที่ช่วยป้องกันการทำลายของอนุมูลอิสระและส่งเสริมการเจริญเติบโตของเส้นผมให้มีความแข็งแรง ไม่ผมร่วงได้ง่าย
- ถั่วเมล็ดแห้ง
อีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับวัยทองที่ต้องการแหล่งโปรตีนจากพืช ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วดำ ไม่เพียงแต่ให้โปรตีน แต่ยังอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก สังกะสี และวิตามินบีรวม ซึ่งล้วนมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเส้นผมที่วัยทองต้องการ
นอกจากนี้ถั่วยังมีไฟเบอร์สูง ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวมและการเจริญเติบโตของเส้นผม
- นมและผลิตภัณฑ์จากนม
แหล่งโปรตีนและแคลเซียมที่สำคัญของวัยทอง เพราะแคลเซียมไม่เพียงแต่จำเป็นสำหรับกระดูกและฟัน แต่ยังมีบทบาทในการควบคุมการเจริญเติบโตของเซลล์ รวมถึงเซลล์ผมด้วย ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต ชีส ยังมีโพรไบโอติกที่ช่วยในการดูดซึมสารอาหาร ส่งผลดีต่อสุขภาพผมโดยรวม
หากทานอาหารไม่เพียงพอและไม่ครบตามโภชนาการ อาหารเสริมและวิตามิน จะสามารถทานเป็นตัวช่วยสำหรับวัยทองได้ไหม?
การดูแลสุขภาพเส้นผมในวัยทองนั้น อาจต้องการการเสริมด้วยอาหารเสริมและวิตามินเพิ่มเติม เนื่องจากในช่วงวัยนี้ ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนและความสามารถในการดูดซึมสารอาหารที่ลดลง อย่างไรก็ตาม การเริ่มรับประทานอาหารเสริมใดๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าเหมาะสมกับสภาพร่างกายและไม่เกิดปฏิกิริยากับยาที่ใช้อยู่
“ดีเน่ แอนโดรพลัส DNAe Andro plus” (สำหรับคุณผู้ชาย)
อาหารเสริมเพื่อสุขภาพตัวช่วยปรับในการสมดุลฮอร์โมนร่างกายของคุณผู้ชายวัยทอง ด้วยสารสกัดจากธรรมชาติหลากลายชนิดที่ช่วยดูแลสุขภาพ บรรเทาอาการวัยทอง และมีคุณสมบัติที่ช่วยบำรุงเส้นผมและรากผมในหลายด้าน โดยในหนึ่งแคปซูลบรรจุสารสกัดธรรมชาติที่มีประโยชน์หลากหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเส้นผม ดังนี้
- สารสกัดจากโสมเกาหลี ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่หนังศีรษะ ทำให้รากผมได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเสื่อมของเซลล์ผม และมีคุณสมบัติในการปรับสมดุลฮอร์โมน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการร่วงของเส้นผมในวัยทองและหลุดการหลุดร่วง
- สารสกัดจากฟีนูกรีก มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนตามธรรมชาติ ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นผม อีกทั้งยังอุดมไปด้วยโปรตีนและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อการสร้างเส้นผมใหม่ ลดการหลุดร่วงของผม
- แอล อาร์จีนีน เป็นกรดอะมิโนที่ช่วยขยายหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนเลือดที่หนังศีรษะดีขึ้น ส่งผลให้รากผมได้รับออกซิเจนและสารอาหารเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยในการสร้างโปรตีนที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของเส้นผมวัยทอง
- สารสกัดกระชายดำ มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ผม และมีผลต่อการกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเส้นผม
- ซิงค์ อะมิโน แอซิด เป็นรูปแบบของสังกะสีที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ดี สังกะสีมีความสำคัญต่อการสร้างโปรตีนและการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ รวมถึงการสร้างเคราตินซึ่งเป็นโปรตีนหลักของเส้นผม การขาดสังกะสีมักส่งผลให้ผมร่วงและผมบาง
- สารสกัดจากแปะก๊วย ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังหนังศีรษะ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และช่วยปกป้องเซลล์ผมจากความเสียหาย นอกจากนี้ยังช่วยลดความเครียด ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุของผมร่วง
- สารสกัดจากงาดำ อุดมไปด้วยกรดไขมันที่จำเป็น วิตามินอี และแร่ธาตุต่างๆ ที่ช่วยบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ ช่วยให้เส้นผมแข็งแรง มีความชุ่มชื้น และลดการแตกปลาย
*ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
“ดีเน่ ฟวาโวพลัส DNAe Flavoplus” (สำหรับคุณผู้หญิง)
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ออกแบบมาเพื่อดูแลสุขภาพโดยรวม ซึ่งนอกจากจะช่วยบำรุง บรรเทาอาการวัยทองแล้ว ยังมีประโยชน์ต่อการบำรุงเส้นผมในวัยทอง ด้วยส่วนผสมที่เป็นสารสกัดจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติเฉพาะ โดยแต่ละส่วนประกอบมีความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพเส้นผม ดังนี้
- สารสกัดจากถั่วเหลือง นำเข้าจากประเทศสเปน มีความพิเศษตรงที่อุดมไปด้วยไอโซฟลาโวน ซึ่งเป็นสารที่มีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะในวัยทองที่ระดับฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของเส้นผม นอกจากนี้ยังมีโปรตีนคุณภาพสูงที่จำเป็นต่อการสร้างเส้นผมใหม่ ลดการหลุดร่วงของเส้นผม
- สารสกัดจากตังกุย เป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการปรับสมดุลฮอร์โมน และช่วยในการไหลเวียนของเลือด ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการนำสารอาหารไปเลี้ยงรากผม การไหลเวียนเลือดที่ดีจะช่วยให้หนังศีรษะแข็งแรง และกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม
- สารสกัดจากแปะก๊วย นอกจากจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังหนังศีรษะแล้ว ยังมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยปกป้องเซลล์ผมจากความเสียหาย และชะลอการเสื่อมของเซลล์ผม ทำให้เส้นผมแข็งแรงและมีสุขภาพดี
- สารสกัดจากงาดำ มีประโยชน์ต่อสุขภาพเส้นผมเนื่องจากอุดมไปด้วยกรดไขมันที่จำเป็น วิตามินอี และแร่ธาตุต่างๆ ที่ช่วยบำรุงเส้นผมให้แข็งแรง มีความชุ่มชื้น และลดการแตกปลาย ช่วยให้เส้นผมมีสุขภาพดีจากภายในสู่ภายนอก
- ออร์แกนิค แครนเบอร์รี่ อุดมไปด้วยวิตามินซีและสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างคอลลาเจนที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของเส้นผม นอกจากนี้ยังช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวมและสุขภาพเส้นผม และ
- อินูลิน พรีไบโอติก เป็นใยอาหารที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ ซึ่งมีความสำคัญต่อการดูดซึมสารอาหาร เมื่อร่างกายสามารถดูดซึมสารอาหารได้ดี จะส่งผลดีต่อสุขภาพเส้นผมด้วย เพราะเส้นผมจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอ
ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 สูตรนี้ มีวิธีการทานที่ได้ง่ายและได้ประโยชน์เพื่อส่งเสริมสุขภาพให้กับคุณผู้ชายวัยทอง และคุณผู้หญิงวัยทอง เพียงทานง่ายๆ ครั้งละ 1 แคปซูล พร้อมกับมื้ออาหารใดก็ได้ที่คุณสะดวก และดื่มน้ำตาม
โดยคุณผู้อ่านสามารถมั่นใจ และไว้วางใจในผลิตภัณฑ์นี้ได้อย่างแน่นอน เนื่องจากทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์นี้ได้ขึ้นทะเบียนรับรองอย่างถูกต้องจาก อย. รวมถึงมีวิธีการทำที่ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงผ่านมาตรฐานฮาลาลอีกด้วย
วิตามินและแร่ธาตุ
นอกจากผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 สูตรที่เราแนะนำคุณผู้อ่านแล้ว วิตามินรวมยังเป็นพื้นฐานสำคัญในการเสริมสารอาหารที่จำเป็นของวัยทอง โดยมักจะประกอบด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นในปริมาณที่เพียงพอ รวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ที่วัยทองต้องเจอ รวมถึงเซลล์ผม การรับประทานวิตามินรวมอย่างสม่ำเสมอจะช่วยเติมเต็มสารอาหารที่อาจได้รับไม่เพียงพอจากอาหารปกติ แล้ววิตามินตัวใดดีต่อวัยทองบ้าง 12: 12/67
- วิตามินบีรวม
มีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับสุขภาพเส้นผม เนื่องจากวิตามินบีแต่ละชนิดมีบทบาทสำคัญในการสร้างเซลล์และการเจริญเติบโตของเส้นผมที่ต่างกัน
- วิตามินบี 1 (ไทอามีน) ช่วยในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตเพื่อสร้างพลังงาน
- วิตามินบี 2 (ไรโบฟลาวิน) ช่วยในการสร้างเซลล์ผมใหม่
- วิตามินบี 3 (ไนอาซิน) ช่วยในการไหลเวียนของเลือดที่หนังศีรษะ
- วิตามินบี 5 (กรดแพนโทเธนิก) ช่วยป้องกันผมหงอกก่อนวัย และ
- วิตามินบี 12 ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงที่จำเป็นต่อการนำออกซิเจนไปเลี้ยงรากผม
- ไบโอตินหรือวิตามินบี 7
เป็นสารอาหารที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพเส้นผมของวัยทอง เพราะมีบทบาทสำคัญในการสร้างเคราตินซึ่งเป็นโปรตีนหลักของเส้นผม อาหารเสริมที่มีไบโอตินมักจะช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับเส้นผม ลดการแตกปลาย และช่วยให้ผมดูมีสุขภาพดีขึ้น ลดอาการผมร่วง
อย่างไรก็ตามการรับประทานไบโอตินเสริมควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมและควรรับประทานอย่างต่อเนื่องจึงจะเห็นผล
- แคลเซียมและวิตามินดี
เป็นคู่สารอาหารที่ทำงานร่วมกัน โดยวิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ซึ่งไม่เพียงแต่สำคัญต่อกระดูกและฟันเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทต่อวัยทองในการควบคุมการทำงานของเซลล์ต่างๆ รวมถึงเซลล์ที่ผลิตเส้นผม ไม่ให้ผมร่วงง่าย
นอกจากนี้วิตามินดียังช่วยกระตุ้นการทำงานของรูขุมขนและการสร้างเส้นผมใหม่ ในวัยทอง การได้รับแคลเซียมและวิตามินดีที่เพียงพอจึงมีความสำคัญเป็นพิเศษ
- สังกะสีและธาตุเหล็ก
เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเส้นผมวัยทอง สังกะสีมีบทบาทในการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ รวมถึงการสร้างโปรตีนที่จำเป็นสำหรับเส้นผม
ส่วนธาตุเหล็กช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงที่จะนำพาออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงรากผม การขาดธาตุเหล็กเป็นสาเหตุหนึ่งของผมร่วงที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยทอง
สรุป
การดูแลรักษาปัญหาผมร่วงในวัยทองต้องอาศัยความเข้าใจ ความอดทน ในการดูแลรักษา ทั้งการรักษาทางการแพทย์ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการดูแลสุขภาพจิตใจ การพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการจัดการกับปัญหาผมร่วงในวัยทองอย่างมีประสิทธิภาพ
ตลอดจนการรับประทานอาหารตามการวางแผนโภชนาการที่เหมาะสมในวัยทองไม่เพียงช่วยบำรุงเส้นผมเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารธรรมชาติ และหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเส้นผมได้เป็นอย่างดี คุณผู้อ่านลองนำไปปฏิบัติตามกันดูน้า