อาการปวดข้อ ปวดกระดูก เกี่ยวข้องยังไงกับวัยทอง?

“วัยทอง” หรือ “วัยหมดประจำเดือน” เป็นช่วงที่ร่างกายของผู้หญิงมีการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก” อาการปวดข้อและปวดกระดูก จึงเป็นหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อยในช่วงวัยทอง ซึ่งพบว่าผู้หญิงมีโอกาสเป็นได้มากกว่าผู้ชาย แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องประสบกับอาการเหล่านี้เสมอไป แล้วอะไร… คือปัจจัยและที่มาของอาการปวดข้อ ปวดกระดูก?

ผลกระทบจากการเข้าสู่วัยทอง วัยหมดประจำเดือน มีผลต่อกระดูกในร่างกาย

เมื่อผู้หญิงได้ก้าวเข้าสู่วัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน จากที่ร่างกายเคยผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งทำหน้าที่สร้างและป้องกันกระดูกได้หยุดผลิตถาวรตามกลไกปกติของธรรมชาติ จึงทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างการสร้างกระดูกและการสลายกระดูก จึงเริ่มสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว ทำให้มวลกระดูกในร่างกายของผู้หญิงสามารถแตกหักได้ง่ายถึง 40 – 50% 

ผู้หญิงจึงมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงมีเนื้อกระดูกน้อยกว่าผู้ชาย 10 – 30% รวมถึงการสลายของกระดูกมากถึงร้อยละ 3.5 ต่อปี โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดเมื่ออายุ 50 ปี จึงกลายเป็นภัยเงียบ เพราะไม่มีอาการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

บริเวณที่มักเกิดอาการปวดข้อและปวดกระดูกที่พบบ่อยในวัยทอง

1. บริเวณข้อต่อกระดูก…

  • ข้อเข่า
  • ข้อมือ
  • ข้อนิ้ว
  • ข้อไหล่
  • ข้อสะโพก

2. เกิดขึ้นบริเวณกระดูก…

  • กระดูกสันหลัง
  • กระดูกคอ
  • กระดูกต้นแขน
  • กระดูกสะโพก

คุณผู้อ่านทราบหรือไม่ว่า… เราจะทราบว่าเราเป็นโรคกระดูกพรุนได้นั้น ไม่ได้มีสาเหตุแค่จากการปวดข้อ ปวดกระดูกอย่างเดียวเท่านั้น แต่เราจะทราบได้จากการล้มแล้วมี “กระดูกหัก” จึงจะทราบว่าเราเป็นโรคดูกพรุน และที่น่าเป็นห่วง คือ การหักของกระดูกนั้นสามารถหักได้ง่ายเพียงแค่ผมกระแทกเบาๆ คุณก็สามารถกระดูกหักได้แล้ว การบิดตัวทันที การไอ จาม ก็ทำให้กระดูกหักได้เลย จึงควรป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนทันทีเมื่อทราบ

ป้องกันและดูแลสุขภาพให้อาการปวดข้อ ปวดกระดูกหายไป

อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่า การปวดข้อ ปวดกระดูก รวมถึง “โรคกระดูกพรุน” เป็นภัยเงียบอีกหนึ่งเรื่องของผู้หญิง ซึ่งกว่าจะรู้ว่าเป็นโรคกระดูกพรุนก็ต่อเมื่อกระดูกหัก

นอกจากนี้อาการที่พบได้ คือ อาการปวดหลัง ซึ่งจะมีอาการรุนแรงมากขึ้นเมื่อกระดูกสันหลังยุบตัวลง ทำให้เห็นว่าผู้หญิงวัยทองที่เริ่มมีอายุสูงมากขึ้นจะมีลักษณะหลังค่อม แล้วเราจะป้องกัน ดูแล และรักษาอาการปวดข้อ ปวดกระดูก และห่างไกลจากโรคกระดูกพรุนได้อย่างไร… วันนี้เรามีมาแนะนำคุณผู้อ่านอีกเช่นเคย

คำแนะนำในการดูแลตนเอง

  1. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ปัจจุบันมีงานวิจัยมากมายหลายต่อหลายงานที่พบว่า การออกกำลังกายมีประโยชน์อย่างมาก นอกจากจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรงแล้ว ยังสามารถชะลอการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ด้วย โดยการออกกำลังชนิดที่มีการลงน้ำหนักที่ขา และการออกกำลังกายโดยใช้แรงต้าน ช่วยเพิ่มความมั่นคงในการทรงตัว ลดความเสี่ยงในการล้มที่ก่อให้เกิดกระดูกหัก และลดอาการปวดกระดูก ปวดตามข้อได้เป็นอย่างดี โดยแนะนำเป็น…

  • การเดิน การขึ้นลงบันได
  • การเต้นแอโรบิก
  • ธาราบำบัด การเดินในน้ำ วิ่งในน้ำ เป็นค้น
  1. โภชนาการที่เหมาะสม

อาหารประจำวันของคนทั่วไป มักอยู่ในเกณฑ์ที่สมดุลและเพียงพอต่อการเสริมสร้างกระดูก แต่คุณก็สามารเพิ่มประสิทธิภาพให้ร่างกายเสริมสร้างกระดูกได้ดียิ่งขึ้นได้จากการทานอาหาร บำรุงส่วนที่สึกหรอ ฉะนั้นควรเลือกรับประทานอาหารต่างๆ ดังนี้…

  • แคลเซียม มีส่วนช่วยในการสร้างกระดูกที่แข็งแรง ควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,000 – 1,200 มิลลิกรัม หาได้จาก นมไขมันต่ำ โยเกิร์ตไขมันต่ำ ถั่วเหลือง ถั่วฝัก เป็นต้น
  • วิตามินดี มีส่วนช่วยในการสร้างแร่ธาตุในกระดูก โดยพบได้จากน้ำมันตับปลา ไข่แดง แซลมอล เป็นต้น นอกจากนี้เรายังสามารถรับวิตามันดีได้เมื่อแสงแดดสัมผัสกับผิว
  • โปรตีน เพื่อช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อกระดูกใหม่ให้แข็งแรง พบได้จากผลิตภัณฑ์จากนม ปลา ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ถั่วเปลือกแข็ง
  • โพแทสเซียม แร่ธาตุชนิดนี้จะช่วยให้ผู้หญิงวัยทองไม่เสียแคลเซียมระหว่างปัสสาวะ ผ่านผลไม้หลากชนิด อาทิ กล้วย มันฝรั่ง น้ำส้มคั้น
  • วิตามินซี มีส่วนช่วยในการผลิตคอลลาเจนในการเสริมสร้างกระดูก พบได้ในผลไม้ เช่น ส้ม กีวี ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ โดยควรทานแบบสดหรือแช่แข็ง เพื่อรักษาวิตามินซีไม่ให้สลายไป
  • ธาตุเหล็ก ช่วยเม็ดเลือดแดงมีคุณภาพและบำรุงอาการอักเสบต่างๆ พบได้ใน ไข่ เนื้อแดง ขนมปังโฮลเกรน เป็นต้น

และเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อร่างกาย การทานอาหารเสริม ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยอย่าง DNAe flavoplas (ดีเน่ ฟลาโวพลัส ) ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ผลิตโดยคุณหมอและเภสัชกร ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสารกัดทางธรรมชาติที่มั่นใจได้ว่าปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และผ่านการรับรองจาก อย. 

  • ดีเน่ ฟลาโวพลัส (DNAe Flavoplus) สารสกัดเข้มข้นจากธรรมชาติเกรดนำเข้า มีสารสกัดจากแปะก๊วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปบำรุงสมอง ช่วยเพิ่มความจำ ทำให้หลับสบาย ตื่นเช้ามาแล้วสดชื่น นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการต่างๆ เช่น ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ เหงื่อออกกลางคืน ช่องคลอดแห้ง และอาการร้อนวูบวาบ ซึ่งเกิดขึ้นได้ในช่วงวัยทอง นับเป็นการบำรุงร่างกายควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพไปพร้อมๆ กัน
  • วิธีทาน เพียงรับประทานวันละ 1 เม็ด หลังมื้ออาหารที่สะดวก

*การทานอาหารเสริม ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าเหมาะสมกับสภาพร่างกาย และไม่มีปฏิกิริยากับยาอื่นๆ ที่กำลังรับประทานอยู่

  1. การตรวจสุขภาพประจำปี

การตรวจสุขภาพประจำปี นับเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ในการช่วยตรวจคัดกรองโรคต่างๆ เพื่อค้นหาความเสี่ยงที่เกิดขึ้น หรืออาการแฝงในร่างกาย โดยหากมีอาการปวดตามข้อ ปวดกระดูก ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อแจ้งอาการ และทำการรักษา ซึ่งอย่างน้อยในหนึ่งควรที่จะมีการตรวจ…

  • ตรวจหาความหนาแน่นกระดูก เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน
  • ตรวจระดับฮอร์โมน เพื่อป้องกันและรักษาการคงความสมดุลของฮอร์โมนร่างกาย
  • ตรวจสุขภาพทั่วไป เพื่อค้นหาความเสี่ยงจากโรคอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น

สรุป

อาการปวดข้อและปวดกระดูกในช่วงวัยทองของผู้หญิง นับเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา ที่สามารถจัดการ ป้องกันและบรรเทาอาการได้ด้วยการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง สำคัญคือ ต้องเข้าใจว่าทุกคนมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน การดูแลตนเองอย่างครอบคลุมและเอาใจใส่จะช่วยให้คุณผู้อ่านสามารถก้าวผ่านและป้องกันช่วงวัยทองไปได้อย่างมีความสุข ลองเอาคำแนะนำของเราไปปรับใช้ดูน้า…