เข้าใจความเหงาในวัยทอง

ความเหงาเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะในวัยทองที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งการเกษียณจากงาน ลูกๆ แยกครอบครัว หรือการสูญเสียคู่ชีวิต ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม การเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจ อาจทำให้รู้สึกโดดเดี่ยวและเหงาได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลแห่งความรักอย่างวาเลนไทน์ที่บางท่านอาจจะต้องอยู่คนเดียว 

ดังนั้น การยอมรับและเข้าใจความรู้สึกนี้ จะเป็นก้าวแรกของคุณผู้อ่านหรือใครก็ตามที่อยู่ในสถานการณ์นี้ได้ดูแลสุขภาพจิตตนเองให้ดีขึ้น และเป็นการเตรียมความพร้อมสู่วัยทองที่ดี (11/11)

ความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจในวัยทอง

คุณผู้อ่านหลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า… การเข้าสู่วัยทองมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนทั้งทางสรีระและอารมณ์ ฮอร์โมนต่างๆ เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย ทั้งระบบเผาผลาญ ระบบประสาท และระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งนำไปสู่อาการทางร่างกายต่างๆ ที่หลายคนมักสงสัยว่าอาการวัยทองเป็นอย่างไร? เช่น 

  • อาการร้อนวูบวาบ 
  • น้ำหนักเพิ่ม 
  • อารมณ์แปรปรวน และ
  • การนอนหลับยากขึ้น

และแน่นอนว่าการอยู่คนเดียว แล้วทำให้เกิดความเหงาไม่ได้เป็นเพียงแค่อาการหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้น ณ ชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น เพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมาการศึกษาทางการแพทย์ได้ค้นพบว่า “ความเหงา” ไม่ได้เป็นเพียงความรู้สึกทางอารมณ์เท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทองที่อยู่คนเดียว แล้วผลกระทบที่ว่ามีด้านอะไรบ้าง ไปติดตามพร้อมๆ กัน

ผลกระทบของความเหงาต่อสุขภาพวัยทอง

จากงานวิจัยทางการแพทย์ในทศวรรษที่ผ่านมาได้เปิดเผยว่า “ความเหงา” ไม่ได้เป็นเพียงความรู้สึกที่ไม่น่ายินดีเท่านั้น แต่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพที่สำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทองหรือผู้สูวัยที่อยู่คนเดียว เนื่องจากการขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจในหลายมิติด้วยกัน ดังนี้

  1. ผลกระทบต่อสุขภาพจิต

ความเหงาเรื้อรัง เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเครียดที่รุนแรงและเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในวัยทองที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอยู่แล้ว เมื่อต้องเผชิญกับความเหงาเป็นเวลานาน สมองจะตอบสนองด้วยการหลั่งฮอร์โมนความเครียดอย่างคอร์ติซอลในปริมาณมาก  ส่งผลให้เกิดความวิตกกังวล นอนไม่หลับ และอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าในที่สุด นอกจากนี้ ความเหงายังอาจทำให้เกิดความรู้สึกไร้คุณค่า ขาดแรงจูงใจในการดูแลตัวเอง และแยกตัวจากสังคมมากขึ้นส่งผลให้เกิด

  • ภาวะซึมเศร้า วัยทองหรือผู้สูงวัยที่อยู่คนเดียว มีความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าสูงกว่าผู้ที่อยู่กับครอบครัวมากถึง 3 เท่า
  • ความวิตกกังวล ความกลัวการถูกทอดทิ้งและความรู้สึกโดดเดี่ยวนำไปสู่ภาวะวิตกกังวลเรื้อรัง
  • การสูญเสียความมั่นใจ เมื่อขาดการพูดคุยและการยืนยันคุณค่าจากผู้อื่น อาจนำไปสู่ความรู้สึกไร้ค่าและขาดแรงจูงใจในการดูแลตนเอง
  1. ผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน

เมื่อร่างกายอ่อนล้าจากความเหงา ความเครียดเรื้อรังจากความเหงาส่งผลโดยตรงต่อระบบภูมิคุ้มกัน จากงานวิจัยพบว่าความเหงาสามารถทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง เนื่องจากความเครียดเรื้อรังจากการอยู่คนเดียว ส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลในปริมาณมาก ซึ่งกดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อและเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น

  • การผลิตเม็ดเลือดขาวลดลง ทำให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคได้ไม่ดี
  • การอักเสบในร่างกายเพิ่มขึ้น นำไปสู่ความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่างๆ
  • การฟื้นตัวจากการเจ็บป่วยช้าลง แผลหายช้า และการติดเชื้อรุนแรงขึ้น
  1. ผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด

หัวใจที่เหนื่อยล้าจากความเหงาและความเครียดจะส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะเครียดเรื้อรัง หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงภาวะหัวใจขาดเลือด

  • ความดันโลหิตสูงขึ้น เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง
  • หัวใจเต้นเร็วขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนักเกินไป
  • การอุดตันของหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจขาดเลือด
  1. ผลกระทบต่อคุณภาพการนอน

ปัญหาการนอนในผู้สูงวัยและวัยทองที่เหงาหรืออยู่คนเดียวที่พบได้บ่อย มักจะมีปัญหาเรื่องของนอนหลับยาก (03/01/68) นอนไม่สนิท หรือตื่นกลางดึกบ่อยๆ ซึ่งการนอนที่ไม่มีคุณภาพย่อมส่งผลต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย 

ด้านร่างกาย

  • ระบบเผาผลาญชะลอตัว นำไปสู่ปัญหาน้ำหนักเกิน หรืออ้วน
  • การซ่อมแซมเซลล์ในร่างกายลดลง ทำให้ฟื้นตัวช้า
  • ระดับน้ำตาลในเลือดแปรปรวน เพิ่มความเสี่ยงต่อเบาหวาน

ด้านสมอง

  • ความจำระยะสั้นแย่ลง ลืมง่าย
  • การตัดสินใจช้าและผิดพลาดมากขึ้น
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
  1. ผลกระทบทางสังคม

นอกจากผลกระทบทางด้านร่างกายและจิตใจแล้ว ความเหงายังส่งผลต่อพฤติกรรมทางสังคมหรือการแสดงออกต่อกลุ่มคนรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนสนิท มิตรสหาย กลุ่มคนที่ทำงาน หรือคนรู้จัก เกิดเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อสายตาคนที่มองเข้ามา จนเกิด

  • แยกตัวจากสังคมมากขึ้น
  • ขาดแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรม
  • มีทัศนคติเชิงลบต่อการสร้างความสัมพันธ์ใหม่
  • สูญเสียทักษะทางสังคมที่เคยมี

ความเหงา ป้องกันและลดผลกระทบต่อวัยทองได้!

เมื่อคุณผู้อ่านทราบถึงอันตรายจากการอยู่คนเดียวและเกิดความเหงาแล้ว การเข้าใจผลกระทบเหล่านี้เป็นก้าวแรกที่สำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหา การตระหนักว่าความเหงาไม่ใช่เพียงความรู้สึก แต่เป็นปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพที่ต้องได้รับการดูแลอย่างจริงจัง จะให้ช่วยกลุ่มคนวัยทองที่ตกอยู่ในสถานการณ์เหล่านี้ มีความรู้สึกต่อตนเองที่ดีขึ้น ผ่าน 3 ข้อ ดังนี้

1. การสร้างกิจวัตรประจำวันที่ดี

การมีกิจวัตรที่ดีและสม่ำเสมอ จะช่วยสร้างความมั่นคงทางจิตใจและส่งเสริมสุขภาพที่ดีต่อผู้ที่กำลังพบเจอกับปัญหานี้ได้ ทำให้คุณผู้อ่านสามารถนอนหลับง่ายและดีมากยิ่งขึ้น ดังนั้น

  • ควรเข้านอนและตื่นนอนในเวลาเดียวกันทุกวัน เช่น เข้านอน 22:00 น. และตื่น 06:00 น
  • สร้างบรรยากาศการนอนที่เหมาะสม เช่น ห้องมืด เงียบ อุณหภูมิพอเหมาะ
  • หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอน 1 – 2 ชั่วโมง

การออกกำลังกายที่เหมาะสม

  • เริ่มต้นด้วยการเดินวันละ 15 – 30 นาที
  • ทำกายบริหารเบาๆ เช่น โยคะ หรือการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ
  • ออกกำลังกายในช่วงเช้า เพื่อกระตุ้นการทำงานของร่างกาย

2. การรักษาการเชื่อมต่อทางสังคม

การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม นอกจากจะมีข้อดีที่สามารถช่วยลดความเหงาจากการต้องอยู่คนเดียวของวัยทองบางกลุ่มได้แล้ว ยังช่วยเพิ่มความสุขในชีวิตได้อย่างแน่นอน ทำให้คุณไม่ต้องอยู่คนเดียว หรือต้องทำสิ่งใดคนเดียวได้ด้วย

  • กำหนดเวลาโทรหาลูก หลาน หรือเพื่อนสนิทเป็นประจำ
  • แชร์เรื่องราวในชีวิตประจำวัน ความสุข ความทุกข์
  • ใช้วิดีโอคอลเพื่อเห็นหน้ากัน แม้อยู่ไกล

เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม

  • เข้าร่วมกิจกรรมตามความสนใจ เช่น เรียนทำอาหาร ปลูกต้นไม้
  • อาสาสมัครช่วยเหลือสังคมตามกำลังความสามารถ

การใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม

  • เรียนรู้การใช้สมาร์ทโฟนและแอพพลิเคชั่นพื้นฐานแชทพูดคุย
  • เข้าร่วมกลุ่มออนไลน์ที่มีความสนใจคล้ายกัน

3. การดูแลสุขภาพจิต

การดูสุขภาพจิตที่ดี เป็นพื้นฐานสำคัญของการมีความสุขในวัยทอง เมื่อสุขภาพจิตของเราดี ร่างกายและจิตใจย่อมดีตามอย่างแน่นอน

การฝึกสมาธิและผ่อนคลาย

  • ฝึกหายใจลึกๆ เมื่อรู้สึกเครียด
  • ทำสมาธิวันละ 10-15 นาที
  • หากิจกรรมที่ทำแล้วรู้สึกผ่อนคลาย เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ

การดูแลสุขภาพจิตเชิงป้องกัน

  • สังเกตอารมณ์และความรู้สึกของตนเอง
  • จดบันทึกความรู้สึกเมื่อมีเรื่องกังวล
  • หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เครียดโดยไม่จำเป็น

ไม่เพียงสุขภาพจิตใจเท่านั้นที่คุณผู้อ่านที่เป็นวัยทองต้องรู้เท่าทันความรู้สึกของตนเองที่เกิดขึ้น การดูแลสุขภาพของร่างกายก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ไม่ควรหยุดทำ และเพื่อให้คุณผู้อ่านแข็งแรงทั้งในด้านของจิตใจและร่างกาย เรามีตัวช่วยดีๆ มาฝากอีกเช่นเคยสำหรับคุณผู้อ่านที่เป็นวัยทอง

“ดีเน่ ฟวาโวพลัส DNAe Flavoplus” อาหารเสริมสำหรับคุณผู้หญิงสูตรคุณหมอ สำหรับผู้ที่มีอายุ 40+ หรือผู้ที่เป็นวัยทอง ที่มีสารสกัดสำคัญอย่าง “ถั่วเหลือง” ที่พบจากงานวิจัยว่าสามารถมอบสารที่คล้ายกับฮอร์โมนที่ร่างกายผลิต หรือไฟโตเอสโทรเจน ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดอาการวัยทอง นอกจากนี้ยังช่วยเรื่องของ Skin Aging หรือริ้วรอยบนผิวหน้านั้นเอง ไม่เพียงแค่ถั่วเหลืองเท่านั้น ใน 1 ขวด ยังมีสารสกัดอื่นๆ ที่น่าสนใจเพิ่มเติม

  • สารสกัดงาดำ ช่วยบำรุงเส้นผม ลดการอักเสบของกระดูกและข้อ ลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • สารสกัดตังกุย บำรุงเลือดให้ไหลเวียนไปเลี้ยงที่มดลูกได้ดีขึ้น ลดอาการร้อนวูบวาบ
  • สารสกัดแปะก๋วย เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปบำรุงสมอง เพิ่มความจำ หลับสบาย ตื่นแล้วสดชื่น
  • อินูลิน พรีไบโอติก ช่วยปรับสมดุลทางเดินอาหารและลำไส้ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • สารสกัด Organic แครนเบอร์รี่ ช่วยให้ผิวเรียบเนียนกระจ่างใส เพิ่มคอลลาเจน ทำให้ผิวไม่เหี่ยวย่นแก่ก่อนวัยและมีงานวิจัยว่าสามารถลดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ลดอาการแสบขัด กะปริดกะปรอยได้

หรือในฝั่งของคุณผู้ชายอย่าง

ดีเน่ แอนโดรพลัส DNAe Andro plus” อาหารเสริมสำหรับคุณผู้ชายที่มีสารสกัดสำคัญอย่าง กระชายดำ งาดำ โสมเกาหลี แปะก๋วย ฟูนูกรีท zine และ L-arginine ซึ่งมีประสิทธิในการช่วยให้ร่างกายนั้น

  • ช่วยเพิ่ม สมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย
  • ช่วยเพิ่ม ฮอร์โมนในเพศชายสูงอายุ – วัยทอง
  • ช่วยป้องกัน โรคต่อมลูกหมาก
  • ช่วยสร้าง กล้ามเนื้อ ลดอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • ช่วยเพิ่ม ในเรื่องระบบหัวใจและหลอดเลือด
  • ช่วยบำรุง ไขข้อและกระดูก ต้านอักเสบ ลดอาการปวด

อาหารเสริมทั้ง 2 ชนิดนี้ ทานแค่วันละ 1 แคปซูล หลังอาหารมื้อใดก็ได้ที่คุณสะดวก เพียงเท่านี้คุณผู้อ่านก็จะรู้สึกว่าตัวเองได้ดูแลสุขภาพเพิ่มเติมแบบ X2 รวมถึงยังมีส่วนช่วยให้คุณผู้อ่านนอนหลับง่าย สบาย และตอบโจทย์บรรเทาอาการวัยทองอีกด้วย ที่สำคัญปลอดภัย ได้มาตรฐานการรับรองจาก อย. และผ่านการรับรองจากฮาลาลอีกด้วย

สรุป ความสุขที่สร้างได้ด้วยตัวเอง

“ความสุขสร้างได้ด้วยตัวเอง” การอยู่คนเดียวในวัยทองไม่ได้หมายความว่าชีวิตจะต้องเหงาหรือว้าเหว่ตลอดไป การดูแลตัวเองทั้งกายและใจ พร้อมกับการเปิดใจรับสิ่งใหม่ๆ จะช่วยให้คุณมีความสุขได้ในทุกช่วงเวลา แม้แต่ในวันวาเลนไทน์…จำไว้ว่า ความรักไม่ได้จำกัดอยู่แค่ความรักระหว่างคู่รัก แต่ยังรวมถึงความรักต่อตัวเอง ครอบครัว เพื่อน และสังคมรอบข้าง การมีกิจกรรมที่สร้างสรรค์และการพบปะผู้คนใหม่ๆ จะช่วยเติมเต็มชีวิตให้มีความหมายมากขึ้น