“วัยหมดประจำเดือน” คือ ช่วงเวลาที่ร่างกายของเรานั้นหยุดการทำงานในส่วนของระบบสืบพันธุ์ โดยร่างกายจะเริ่มค่อยๆ ลดการผลิตของฮอร์โมนลงจนกระทั่งหยุดผลิตถาวร ซึ่งมักจะเกิดขึ้นระหว่างผู้หญิงอายุ 45 – 55 ปี เป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่ผู้หญิงทุกคนจะต้องเจอ โดยแพทย์จะวินิจฉัยอาการผู้หญิงที่ไม่มีประจำเดือนติดต่อกันเป็นเวลา 12 เดือน ว่า “วัยทอง” นั่นเอง
ระยะต่างๆ ของวัยทองที่ผู้หญิงต้องเจอ
1. ระยะก่อนหมดประจำเดือน
- เมื่อเข้าสู่ช่วงอายุประมาณ 40 – 50 ปี
- ระดับฮอร์โมนในร่างกายจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง
- ประจำเดือนที่มาปกติ เริ่มมาไม่สม่ำเสมอ
2. ระยะหมดประจำเดือน (Menopause)
- จะเริ่มเกิดขึ้น… เมื่อผู้หญิงไม่มีประจำเดือนติดต่อกัน 12 เดือน
- ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และโพรเจสเตอโรนลดลงอย่างมาก
3. ระยะหลังหมดประจำเดือน (Postmenopause)
- เริ่มต้น… หลังจากที่ผู้หญิงไม่มีประจำเดือนมาแล้ว 12 เดือน
- อาการต่างๆ เริ่มคงที่หรือลดลง
อาการที่ผู้หญิงวัยทองสามารถพบเจอได้ หลังหมดประจำเดือน
อาการทางร่างกายในวัยหมดประจำเดือน
- อาการร้อนวูบวาบ เป็นอาการที่ร่างกายรู้สึกเดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว โดยเฉพาะกับร่างกายส่วนบน เช่น ใบหน้า ลำคอ และหน้าอก ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับตามมาได้ เนื่องจากไม่สบายตัว
- อาการเหงื่อออกกลางคืน เกิดขึ้นจากภาวะผิดปกติของร่างกาย โดยเหงื่อจะออกมากกว่าปกติ บางท่านเหงื่ออาจจะเปียกเต็มที่นอน
- การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง เมื่อระดับฮอร์โมนที่ลดลงในวัย 50 ปี ระดับ pH ในผิวของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะมีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงความสามารถในการกักเก็บความชุ่มชื้นก็จะลดลง ทำให้ผิวแห้ง หมอกคล้ำ ไม่กระชับและเรียบเนียน
- การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนัก จากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และระบบเผาผลาญที่ทำงานประสิทธิภาพได้ลดน้อยลงไม่เหมือนแต่ก่อน ทำให้เกิดการสะสมไขมันบริเวณหน้าท้องได้ง่าย
- การสูญเสียมวลกระดูก ในช่วงวัยหมดประจำเดือน หรือวัยทอง ผู้หญิงจะสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว ทำให้กระดูกหักง่าย
อาการทางอารมณ์ในวัยทอง
- อารมณ์แปรปรวน
- ความวิตกกังวล
- ภาวะซึมเศร้า
- การนอนหลับไม่หลับ
- ปัญหาความจำ
สาเหตุใดบ้างที่วัยหมดประจำเดือน วัยทอง ควรต้องไปพบแพทย์?
- อาการร้อนวูบวาบรุนแรงและบ่อยครั้งในวัยหมดประจำเดือน
อาการร้อนวูบวาบ นับเป็นอาการจำเพาะที่พบเจอได้บ่อยได้สุดหลังผู้หญิงหมดประจำเดือน พบมากในระยะ 1 – 2 ปีแรก ซึ่งอาการของแต่ละคนที่พบก็จะแตกต่างกันไป โดยจะเริ่มจากอาการร้อนที่หน้า คอ ศรีษะหรือหน้าอก และมีอัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มขึ้น บางรายอาจมีอาการใจสั่น ซึ่งระยะเวลาที่มีอาการบางท่านอาจไม่กี่วินาที แต่บางท่านที่มีอาการรุนแรงอาจจะหลายนาที และมีความถี่ไม่สม่ำเสมอ สามารถเกิดได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน
โดยในรายที่มีอาการมาก จนเกิดเป็นปัญหากระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ควรทำการเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอาการร้อนวูบวาบ และตรวจเช็คว่ามีโรคอื่นที่ทำให้เกิดอาการคล้ายกันหรือไม่
- มีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด
เป็นอาการที่มีลักษณะเลือดไหนออกจากช่องคลอดกะปริบกะปรอยในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน หรือวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว ภาวะที่เกิดขึ้นแสดงถึงปัญหาสุขภาพว่าร่างกายกำลังมีความผิดปกติ และอาจเป็นสัญญาณอันตรายของโรคร้ายตามมา
- มีอาการซึมเศร้าหรือวิตกกังวลช่วงวัยทอง
เมื่อคุณผู้หญิงหมดประจำเดือน และก้าวเข้าสู่ช่วงวัยทอง อาจทำให้พบภาวะซึมเศร้า อาการกังวล หงุดหงิด ซึ่งอาการส่วนใหญ่มักมีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์ที่พบ ไม่ว่าจะเป็นความกังวลในการดำเนินชีวิต ความกังวลเกี่ยวกับรูปร่างที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงการสูญเสียความสวยงามทางร่างกาย จึงทำให้พบอาการซึมเศร้าบ่อย
ความรุนแรงของอาการในแต่ละคน นอกจากจะขึ้นอยู่ที่สภาพแวดล้อมแล้ว ยังขึ้นอยู่กับสังคมและคนรอบข้างโดยเฉพาะครอบครัว แนะนำว่าการพูดคุยกับแพทย์เพื่อทำการรักษาก็เป็นอีกหนึ่งหนทางที่ทำให้คุณใจเบายิ่งขึ้น
- มีปัญหาการนอนไม่หลับ
จากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพการนอนและทำให้เกิดปัญหาการนอนไม่หลับตามมา บางคนนอนหลับยากในช่วงเริ่มต้น บางคนตื่นกลางดึกและนอนหลับต่อไม่ได้ แล้วอาการแบบไหนที่ควรเข้าพบแพทย์หากมีอาการนอนไม่หลับ?
หากคุณนอนไม่หลับมากกว่า 3 วัน/สัปดาห์ และกินเวลายาวนานกว่า 3 เดือน หรือปัญหาการนอนไม่หลับนี้ส่งผลต่อสุขภาพต่างๆ ตามมา กิจวัตรประจำวัน การทำงาน คุณผู้อ่านก็ควรรีบเข้ามาปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง ก่อนมีอาการลุกลามจนเรื้อรัง
- ความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนในวัยหมดประจำเดือน
โรคกระดูกพรุน กลายเป็นอีกหนึ่งปัญหาของผู้หญิงวัยทอง หรือวัยหมดประจำเดือน ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อกระดูกหักง่าย แม้ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย นอกจากจะทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพแล้ว ยังทำให้อาจเสี่ยงถึงชีวิต
โดยควรเข้ารับการพบแพทย์ เพื่อให้คุณหมอได้ตรวจสอบร่างกายและร่วมประเมินการรักษาให้คุณปลอดภัยและเข้าใจโรคนี้เพื่อปฏิบัติตัวได้ดียิ่งขึ้น
การตรวจสุขภาพที่จำเป็นในวัยทอง วัยหมดประจำเดือน
- การตรวจความหนาแน่นกระดูก
- การตรวจมะเร็งเต้านม
- การตรวจคัดกรองโรคหัวใจ
- การตรวจระดับฮอร์โมนในวัยทอง
วิธีดูแลตนเองในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน – วัยทอง
1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ยังคงเป็นการเริ่มต้นดูแลตนเองที่ทำได้ง่าย และทำได้ทุกคน โดยเน้นอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมสูงและไขมันต่ำ เพิ่มอาหารประเภทเส้นใย เช่น ผักและผลไม้ ซึ่งจะช่วยลดการดูดซึมไขมัน และน้ำตาล และยังช่วยเรื่องการขับถ่ายได้ดีขึ้นด้วย
อาหารที่แนะนำสำหรับวัยทอง
- ปลา เช่น ปลาแซลมอน ปลาทู
- ถั่วเปลือกแข็ง เช่น ถั่วเหลือง
- ผักใบเขียว เช่น คะน้า บล็อกโคลี
- โยเกิร์ตไร้ไขมัน นมไขมันต่ำ
- ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ส้ม กล้วย
นอกจากการรับประทานอาหารมื้อหลักให้ถูกต้องและเหมาะสมตามหลักโภชนาการแล้ว การทานอาหารเสริมเพิ่มเติมก็มีเป็นตัวช่วยที่สำคัญไม่น้อยในการดูแลสุขภาพร่างกายให้ผู้หญิงวัยทอง วัยหมดประจำเดือนได้เติมวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
“ดีเน่ ฟวาโวพลัส” DNAe Flavoplus ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในรูปแบบแคปซูล ที่ใช้สารสกัดเข้มข้นจากธรรมชาติ เพียงทานครั้งละ 1 แคปซูลหลังมืออาหารที่สะดวก ก็เท่ากับว่าคุณได้ดูแลตัวเองสองเท่า ด้วยสารสกัดหลักที่สำคัญอย่าง ถั่วเหลือง ที่นอกจากมีส่วนช่วยบรรเทาอาการในวัยทอง อย่างอาการร้อนวูบวาบ ยังมีแร่ธาตุหลายชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนี้ใน 1 แคปซูล ยังมีสารสกัดตัวอื่นๆ ที่คุณหมอหลายๆ ท่านแนะนำให้ทานในมื้ออาหารอีก เช่น
- สารสกัดออแกนิก แครนเบอร์รี่ บำรุงผิวให้เรียบเนียน กระจ่างใส หมดปัญหาคลายกังวลเรื่องผิวพรรณในวัยหมดประจำเดือน วัยทอง ได้เติมคอลเลาเจนให้ผิว
- งาดำ ทำหน้าที่ลดการอักเสบของกระดูกและข้อ บำรุงผม บำรุงเล็บ
- สารสกัดจากตังกุย ที่ช่วยบำรุงเลือดให้ไหลเวียนไปเลี้ยงมดลูกได้ดีขึ้น ลดอาการร้อนวูวาบ และเพิ่มความเปล่งปลั่ง มีน้ำ มีนวล ให้กับผิว
- สารสกัดแปะก๋วย เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปบำรุงสมอง ช่วยเพิ่มความจำ และยังทำให้หลับสบาย บรรเทาอาการนอนไม่หลับ ทำให้ตื่นเช้ามาแล้วสดชื่น
- อินูลิน พรีไบโอติก ปรับสมดุลทางเดินอาหารและลำไส้ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน วัยทอง
สารสกัดต่างๆ เหล่านี้ ได้รวบรวมมาให้คุณผู้อ่านแล้วใน 1 กระปุก สามารถเริ่มทานได้ตั้งแต่ก่อนหมดประจำเดือนเพื่อเตรียมพร้อมสภาพร่างกาย หรือจะทานในช่วงที่เข้าช่วงวัยทองไปแล้วก็ได้เหมือนกัน ที่สำคัญปลอดภัยหายห่วง เพราะกระปุกนี้ได้มาตาฐานฮาลาล และผ่านการรับรองจาก อย. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ปลอดภัย หายห่วง
2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
แม้ว่าจะออกกำลังกายแค่เพียง 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์ นี่ก็คือเป็นวิธีการที่ดีที่ช่วยให้ระบบของร่างกายยังคงทำงานได้ตามปกติ เพราะเมื่อคุณผู้อ่านอยู่ในวัยหมดประจำเดือน หรือวัยทอง จะมีการสูญเสียกล้ามเนื้อและมวลกระดูกมาขึ้น การออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งที่ช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ดี นอกจากนี้ยังช่วยพัฒนาความแข็งแรง สมรรภภาพการทำงานของหัวและปอดได้อีกด้วย
กิจกรรมการออกกำลังกายเริ่มต้นที่แนะนำ
- การวิ่ง
- การเดิน
- การว่ายน้ำ
- การปั่นจักรยาน
- การเล่นโยคะ
อย่างน้อย 15 – 30 นาที / 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์
3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
เพราะการนอนหลับที่เพียงพอ ก็ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจได้ดีเป็นอย่างมาก กล่าวคือ การที่เรานอนหลับดีนั้นจะช่วยให้ร่างกายได้รับการผักพ่อนที่เพียงพอ ช่วยลดภาวะความเครียด และสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น สมองสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสริมสร้างหัวใจให้มีความแข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และยังช่วยควบคุมน้ำหนักและระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย
ส่วนการนอนไม่หลับที่ไม่ดี หรืออาการนอนไม่หลับ ย่อมมีผลทำให้เรานั้นหงุดหงิดได้ง่าย ประสิทธิภาพการควบคุมอารมณ์ลดลง ส่งผลกระทบทั้งต่อตัวเองและคนรอบข้าง ซึ่งหากปล่อยไว้นานจนเรื้อรัง อาการนอนไม่หลับอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า และวิตกกังวลได้
4. งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
หากเป็นไปได้ก็อยากให้คุณผู้อ่านงดสำหรับสองสิ่งนี้ หรือใครที่ไม่สามารถลดได้ เราก็อยากแนะนำให้คุณค่อยๆ ลดลงมาจนหยุดนั้นเอง เพราะในบุหรี่นั้นมีสารอันตรายที่เป็นพิษต่อร่างกายมากถึง 4,800 ชนิด ซึ่งเป็นอันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือก
เช่นเดียวกันกับการดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีผลเสียต่ออวัยวะหลายส่วนภายในร่างกายทั้งระยะสั้น และระยะยาว โดยเฉพาะในระบบประสาทและสมอง รวมถึงยังเป็นสาเหตุของโรคตับแข็งอีกด้วย
สรุป
และนี่ก็เป็นความรู้และข้อแนะนำต่างๆ ที่เราได้นำมาฝากคุณผู้อ่านกัน ดังนั้น หากคุณผู้อ่านได้อ่านมาถึงตรงจุดนี้ เราอยากบอกว่า “วัยทอง” หรือ “วัยหมดประจำเดือน” เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติและผู้หญิงทุกคนต่างต้องพบเจอ การเรียนรู้และเข้าใจอย่างถูกต้อง จะช่วยให้คุณก้าวผ่านช่วงเวลานี้ไปได้อย่างมีความสุขและมีสุขภาพดี
ในกรณีที่คุณผู้อ่านมีความรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงในวัยทองรบกวนต่อคุณภาพการดำเนินชีวิต อย่าลังเลที่จะไปพบแพทย์ เพื่อพูดคุย ปรึกษา และหาวิธีดูแลรักษาที่เหมาะสมกับตัวเอง