ทำไมวัยทองต้องระวังเรื่องการดื่มเหล้า – แอลกอฮอล์เป็นพิเศษ?

เชื่อว่าคุณผู้อ่านหลายคนอาจคุ้นเคยกับการดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำในช่วงที่ผ่านมาและหลายท่านก็มีเหตุผลในการดื่มที่แตกต่างกัน บางคนบอกว่าดื่มแก้เครียด บางคนบอกว่าดื่มเพื่อสังสรรค์ และอีกหลายคนก็บอกว่าดื่มแล้วหลับสบาย แต่เมื่อคุณผู้อ่านเข้าสู่วัยทองแล้ว การดื่มเหล้าหรือแอลกอฮอล์อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด เพราะช่วงวัยนี้เป็นอีกหนึ่งช่วงที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงมากมายโดยเฉพาะเรื่องของฮอร์โมนที่ผลิตลดลงและทำให้ร่างกายไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว ทำให้มีความเสี่ยงต่อสุขภาพมากกว่าปกติ 

ดังนั้น มาทำความเข้าใจผลกระทบในแต่ละด้านกันกับการทานเหล้า – แอลกอฮอล์ในช่วงวัยทองกันเพิ่มเติมกันเลย

1. ระบบการเผาผลาญช้าลง

ในวัยทอง ตับของคุณผู้อ่านจะทำงานได้ช้าลงตามธรรมชาติ แน่นอนว่าเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยสลายแอลกอฮอล์หรือเหล้าที่ดื่มเข้าไปย่อมมีประสิทธิภาพลดลง ทำให้ร่างกายใช้เวลานานขึ้นในการกำจัดแอลกอฮอล์ออกจากกระแสเลือด เมื่อดื่มแล้วจึงส่งผลให้…

  • เมาเร็วกว่าปกติแม้ดื่มในปริมาณเท่าเดิม
  • อาการเมาค้างรุนแรงและนานกว่าเดิม
  • มีแอลกอฮอล์ตกค้างในร่างกายนานขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อตับและอวัยวะอื่นๆ

2. ความเสี่ยงต่อโรคตับและตับอ่อนเพิ่มขึ้น

เชื่อหรือไม่ว่า…ตับในวัยทองมีความไวต่อการอักเสบและเสื่อมสภาพเร็วมากขึ้น(09/01/68) เมื่อต้องทำงานหนักในการกำจัดแอลกอฮอล์ ทำให้อาจเพิ่มโอกาสการเกิด…

  • ไขมันพอกตับ
  • ตับอักเสบจากแอลกอฮอล์
  • ตับแข็ง
  • ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน

3. ปัญหาการนอนหลับที่ซ้ำเติม

คุณผู้อ่านน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าหนึ่งในอาการวัยทองที่มักเกิดขึ้นนั้น คือ ปัญหาการนอนไม่หลับอยู่แล้วจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และเมื่อดื่มแอลกอฮอล์จะยิ่งทำให้…

  • หลับยากขึ้น แม้จะรู้สึกง่วง
  • ตื่นกลางดึกบ่อย
  • คุณภาพการนอนแย่ลง รู้สึกไม่สดชื่นเมื่อตื่น
  • เพิ่มอาการนอนกรน และหยุดหายใจขณะหลับ

4. ความเสี่ยงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด

นอกจากส่งผลต่อตับแล้ว แอลกอฮอล์ยังส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดที่เปราะบางในวัยทองอีกด้วย โดย…

  • เพิ่มความดันโลหิตที่มักสูงอยู่แล้ว
  • ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะง่ายขึ้น
  • เพิ่มความเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตัน
  • ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอลง

5. อาการวัยทองที่รุนแรงขึ้น

หากคุณผู้อ่านท่านใดที่มีอาการวัยทองอยู่แล้ว การดื่มแอลกอฮอล์จะยิ่งรบกวนการทำงานของฮอร์โมนที่ไม่สมดุลอยู่แล้วให้มากขึ้นไปอีก จนทำให้เกิดอาการ…

  • อาการร้อนวูบวาบรุนแรงขึ้น
  • หงุดหงิดง่ายกว่าปกติ
  • นอนไม่หลับมากขึ้น
  • อารมณ์แปรปรวนมากขึ้น
  • มีอาการซึมเศร้าได้ง่าย

6. ผลกระทบต่อมวลกระดูก

เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบเจอได้ง่ายและควรจะต้องระวังเมื่อเข้าสู่วัยทอง กับความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน สามารถเกิดได้ทั้งกับผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งการดื่มแอลกอฮอล์จะ…

  • ขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม
  • ลดการสร้างกระดูกใหม่
  • เพิ่มความเสี่ยงกระดูกหัก
  • ทำให้กระดูกเสื่อมเร็วขึ้น

7. ผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน

ภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลงตามวัย คุณผู้อ่านหลายคนน่าจะยังไม่ทราบว่าการดื่มเหล้าและแอลกอฮอล์นั้น เป็นตัวกดภูมิต่างๆ ในร่างกาย ทำให้…

  • ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  • แผลหายช้า
  • ฟื้นตัวจากความเจ็บป่วยช้าลง
  • เสี่ยงต่อโรคติดเชื้อรุนแรง

8. ผลกระทบต่อสมองและระบบประสาท

เพราะด้วยอายุที่มากขึ้น แน่นอนว่าอวัยวะต่างๆ ย่อมเสื่อมสภาพลง โดยเฉพาะสมองในวัยทองไวต่อความเสื่อมมากขึ้น และการดื่มเหล้าหรือแอลกอฮอล์จะยิ่ง…

  • ทำลายเซลล์สมองเร็วขึ้น
  • ลดความจำและสมาธิ
  • เพิ่มความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม
  • ทำให้การทรงตัวแย่ลง เสี่ยงต่อการหกล้ม

ลดเหล้ายังไงให้ปลอดภัย… แผนลดดื่ม 30 วัน!

แน่นอนว่าการเลิกเหล้าแบบหักดิบนั้น อาจส่งผลเสียต่อทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะร่างกายที่เคยชินกับแอลกอฮอล์อาจเกิดอาการถอนพิษรุนแรงได้

การที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในวัยทองนี้ ไม่ได้หมายความว่าต้องเลิกดื่มทันที แต่ควรค่อยๆ ลดปริมาณลง และควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการลดดื่มที่ปลอดภัย การค่อยๆ ลดปริมาณการดื่มจึงเป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่า

สัปดาห์ที่ 1

เริ่มต้นสัปดาห์แรกด้วยการสำรวจและวางแผนสู่การเลิกเหล้า ผ่านการทำความเข้าใจพฤติกรรมการดื่มของตัวเองให้ลึกซึ้ง ไม่ว่าจะดื่มอะไร ดื่มปริมาณแต่ไหน ถ้าเริ่มลดจะดื่มเหลืออยู่ที่ปริมาณเท่าไหร่ ให้เป็นเป้าหมายเพื่อให้คุณผู้อ่านไปให้ถึงเส้นชัย ผ่านการ…

บันทึกปริมาณการดื่มประจำวัน

  • สังเกตและบันทึกสถานการณ์หรือความรู้สึกที่นำไปสู่การดื่ม
  • จดบันทึกชนิดและปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ดื่มแต่ละวัน
  • จดบันทึกเวลาเริ่มต้นการดื่ม และเวลาการดื่มแก้วสุดท้ายในแต่ละวัน

ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้

  • กำหนดจำนวนวันที่จะงดดื่มในแต่ละสัปดาห์ 
  • ตั้งเป้าหมายปริมาณการดื่มสูงสุดต่อครั้ง
  • วางแผนการลดปริมาณแอลกอฮอล์ทีละน้อย

มองหาเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ ทดแทน

  • ทดลองดื่มน้ำผลไม้ น้ำสมุนไพร หรือเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์หลากหลายชนิด
  • เลือกเครื่องดื่มที่มีรสชาติถูกปากและให้ความรู้สึกผ่อนคลายต่อร่างกาย

สัปดาห์ที่ 2

เราจะให้คุณผู้อ่านเข้าสู่โหมดจริงจังมากยิ่งขึ้น ด้วยการเริ่มลดปริมาณการดื่มทีละนิด และเมื่อเข้าใจพฤติกรรมการดื่มของตัวเองแล้ว เราจะเริ่มลดปริมาณลงอย่างเป็นระบบต่อไป

ลดปริมาณการดื่มจาก 100% ให้เหลือ 75%

  • หากเคยดื่มเบียร์ 4 กระป๋อง ให้ลดลงเหลือ 3 กระป๋อง
  • เปลี่ยนไปใช้แก้วที่มีขนาดเล็กลงเพื่อควบคุมปริมาณการดื่มแต่ละครั้ง
  • ดื่มให้ช้าลง และเพิ่มการดื่มน้ำเปล่ามากยิ่งขึ้น

มองหากิจกรรมอื่นทำทดแทน

  • หางานอดิเรกใหม่ๆ ที่น่าสนใจ แทนการนั่งดื่มเหล้า
  • ใช้เวลากับครอบครัวหรือเพื่อนในกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการดื่ม
  • ออกกำลังกายมากยิ่งขึ้น

สัปดาห์ที่ 3

เป็นอีกหนึ่งสัปดาห์ที่เราจะให้คุณผู้อ่านนั้นลดปริมาณการดื่มเหล้าลดลงไปอีก ในช่วงนี้ร่างกายจะเริ่มปรับตัวกับการดื่มที่น้อยลง

ลดปริมาณการดื่มจาก 75% ให้เหลือเพียง 50%

  • ระหว่างนี้ให้คุณผู้อ่านสังเกตอาการของร่างกายที่เปลี่ยนแปลง เช่น ปัญหานอนหลับดีขึ้นไหม? (10/12) ตื่นเช้ามาแล้วสดชื่นมากขึ้นรึเปล่า? อาการของร่างกายมีความอยากดื่มมากน้อยแค่ไหน?
  • บันทึกเงินที่ประหยัดได้จากการลดดื่ม สร้างแรงจูงใจให้ตัวเองลดเพิ่มมากขึ้น
  • ให้รางวัลตัวเองเมื่อทำได้ตามเป้าหมาย แต่ไม่ใช่การดื่มเหล้าน้า ไม่ได้นะคุณผู้อ่าน ฮ่าๆ

เพิ่มวันปลอดเหล้าให้มากยิ่งขึ้น

  • เลือกวันเพื่อลดการดื่มให้มากขึ้น เช่น วันทำงาน วันที่มีงานเช้า วันหยุดสุดสัปดาห์ เป็นต้น
  • วางแผนกิจกรรมล่วงหน้าสำหรับวันที่จะงดดื่มเพื่อให้ร่างกายไม่หมกหมุ่น

สัปดาห์ที่ 4

และเมื่อคุณผู้อ่านเดินทางมาถึงสัปดาห์นี้ จะเป็นสัปดาห์แห่งการวางแผนระยะยาว สัปดาห์สุดท้ายเราจะเน้นไปที่ความยั่งยืน การไม่กลับไปดื่มเหล้าบ่อยหรืองดดื่มไปเลยได้ยิ่งดี โดยเราจะ..

รักษาพฤติกรรมต่อไป

  • เปรียบเทียบ และทบทวนการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านสุขภาพและการเงินว่าดีขึ้นแค่ไหน?
  • ตั้งกฎการดื่มของตัวเองในอนาคตเลย เช่น จะดื่มเฉพาะงานทางการเท่านั้น
  • วางแผนรับมือกับสถานการณ์เสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น หากไม่สามารถปฏิเสธได้จริงๆ 

ลดปริมาณการดื่มจาก 50% ให้เหลือเพียง 25 , 15, 10 และ 0 ตามลำดับ%

  • จากนี้ต่อไปอยากให้คุณผู้อ่าน เริ่มต้นลดจำนวนการดื่มลงเรื่อยๆ ทีละนิดๆ เพื่อให้ร่างกายเกิดความเคยชินและเลิกไปได้เอง ที่สำคัญอย่าลืมสังเกตร่างกายด้วยนะ

การดูแลสุขภาพต่อจากนี้

  • เพิ่มการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะการออกกำลังกายจะหลั่งสารความสุขและความผ่อนคลาย ทำให้คุณผู้อ่านอาจง่วงไว และหลับก่อนคิดที่จะดื่มเพื่อช่วยการนอนนั้นเอง
  • ปรับปรุงการรับประทานอาหารให้มีประโยชน์มากยิ่ง
  • หากิจกรรมอื่นๆ ทำเสริม เพื่อให้ร่างกายไม่หมกหมุ่นและนึกถึงการดื่ม

เลิกดื่มเหล้าแล้ว…จะดีต่อสุขภาพวัยทองแค่ไหน?

เมื่อคุณผู้อ่านเริ่มต้นตัดสินใจลดการดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงวัยทอง ร่างกายและจิตใจจะเริ่มฟื้นตัวและปรับสมดุลใหม่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างค่อยไปค่อยไป ส่งผลให้เกิดประโยชน์มากมายต่อสุขภาพโดยรวม มาดูกันว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อร่างกายจะเป็นอย่างไรบ้าง

การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

1. การควบคุมน้ำหนักที่ดีขึ้น

เมื่อคุณผู้อ่านหยุดดื่มหรือลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์ลงแล้ว ร่างกายจะเริ่มปรับสมดุลการเผาผลาญอย่างเป็นธรรมชาติ รู้หรือไม่ว่า? แอลกอฮอล์หนึ่งแก้วมีแคลอรี่สูงถึง 100 – 150 แคลอรี่ การหยุดดื่มจึงช่วยลดแคลอรี่ส่วนเกินได้มาก นอกจากนี้ยังช่วยให้ตับแข็งแรงขึ้น ซึ่งจะช่วยเผาผลาญไขมันได้ดีขึ้น ทำให้น้ำหนักลดลงอย่างเป็นธรรมชาติ(12/11) โดยไม่ต้องอดอาหารอีกด้วย เป็นผลดีต่อวัยทองมากๆ

2. ระบบหัวใจและหลอดเลือดที่แข็งแรง

เชื่อหรือไม่ว่า…การลดดื่มเหล้า แอลกอฮอร์ส่งผลโดยตรงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดของวัยทองได้ดีมากๆ เพราะแอลกอฮอล์มีผลทำให้หลอดเลือดขยายตัว เมื่อหยุดดื่มหลอดเลือดจะกลับมายืดหยุ่นได้ดี ความดันโลหิตจะค่อยๆ ลดลงสู่ระดับปกติ หัวใจไม่ต้องทำงานหนักเกินไป ลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะยาวได้ดีทีเดียว

3. ภูมิคุ้มกัน

แอลกอฮอล์เป็นตัวกดภูมิคุ้มกันที่สำคัญของร่างกาย เมื่อคุณผู้อ่านที่เป็นวัยทองลดการดื่ม ระบบภูมิคุ้มกันจะค่อยๆ ฟื้นตัว เม็ดเลือดขาวทำงานได้ดีขึ้น ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ แผลหายเร็วขึ้น และลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่างๆ ได้ด้วย

4. การนอนหลับที่มีคุณภาพ

แม้ว่าแอลกอฮอล์จะทำให้ง่วงและหลับง่าย แต่จะคุณผู้อ่านอาจจะไม่ได้หลับลึก ทำให้สมองยังคงทำงานอยู่นั้นเอง และยังสามารถรบกวนวงจรการนอนในช่วงหลังได้อีกด้วย เมื่อลดการดื่มลงคุณภาพการนอนจะดีขึ้นอย่างชัดเจน การนอนจะเป็นไปตามวงจรธรรมชาติ หลับลึก และตื่นมาสดชื่น ร่างกายได้พักฟื้นอย่างเต็มที่เลยแหละ

5. ผิวพรรณที่เปล่งประกาย

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าแอลกอฮอล์ทำให้ร่างกายขาดน้ำและวิตามินสำคัญ เมื่อลดการดื่มผิวจะได้รับการฟื้นฟู ความชุ่มชื้นกลับมา ริ้วรอยลดลง สีผิวสม่ำเสมอ รอยแดงจากหลอดเลือดฝอยจางหาย ทำให้ดูอ่อนเยาว์และสดใสขึ้นเลย

การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ

1. อารมณ์ที่มั่นคง

คุณผู้อ่านหลายท่านน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าแอลกอฮอล์มีผลต่อสารสื่อประสาทในสมอง เมื่อลดการดื่ม สมองจะปรับสมดุลสารเคมีต่างๆ เหล่านี้ ทำให้อารมณ์มั่นคงขึ้น ไม่ขึ้นๆ ลงๆ จัดการความเครียดได้ดีขึ้น และมีความสุขจากธรรมชาติโดยไม่ต้องพึ่งแอลกอฮอล์

2. ความจำที่แม่นยำ

สมองที่ไม่ถูกรบกวนจากแอลกอฮอล์จะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ความจำทั้งระยะสั้นและระยะยาวจะดีขึ้น สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ดี และประมวลผลข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น ลดความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

3. สมาธิที่เพิ่มขึ้น

เมื่อลดการดื่มการทำงานของสมองที่ดีขึ้นส่งผลให้มีสมาธิจดจ่อกับงานได้นานขึ้น ไม่วอกแวกง่าย การตัดสินใจมีเหตุผลมากขึ้น และสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม

4. ความวิตกกังวลที่ลดลง

เชื่อว่าทุกคนมีเหตุผลในการดื่มเหล้าที่แตกต่างกัน แม้หลายคนจะดื่มเพื่อคลายความกังวล แต่แอลกอฮอล์กลับเพิ่มความวิตกกังวลในระยะยาว และเมื่อลดการดื่มลง กลับพบว่าระดับความวิตกกังวลจะค่อยๆ ลดลง จิตใจสงบขึ้น มองโลกในแง่ดี และรับมือกับความเครียดได้ดีขึ้น

5. พลังงานชีวิตที่เพิ่มขึ้น

เมื่อร่างกายไม่ต้องใช้พลังงานในการกำจัดแอลกอฮอล์ คุณผู้อ่านจะรู้สึกว่าตนเองมีพลังมากขึ้น ตื่นเช้ามาพร้อมรับวันใหม่ มีแรงทำกิจกรรมต่างๆ และมีแรงบันดาลใจในการพัฒนาตัวเองมากขึ้น

เน้นย้ำให้คุณผู้อ่านทราบกันอีกครั้งว่า การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจไม่เกิดขึ้นในทันที แต่จะค่อยๆ สะสมและชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ การเห็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้นจะเป็นแรงจูงใจให้เราเดินหน้าลดการดื่มต่อไป และนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

ลักษณะเดียวกันกับทานอาหารเสริมเลยคุณผู้อ่าน ต้องค่อยๆ ทานและหมั่นสังเกตผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และเราขอเปิดตัวแนะนำ “ดีเน่ ฟวาโวพลัส” DNAe Flavoplus และ “ดีเน่ แอนโดรพลัส DNAe Andro plus” อาหารเสริมที่ผลิตและจัดทำขึ้นมาเพื่อคนวัยทองโดยเฉพาะ ช่วยบรรเทาอาการวัยทองที่เกิดขึ้น อาทิ อาการร้อนวูบวาบ อาการนอนไม่หลับ อาการอารมณ์แปรปรวนง่าย ที่สามารถพบเจอได้ ผลิตภัณฑ์นี้เป็นสูตรคุณหมอที่คัดสรรสารสกัดเข้มข้นจากธรรมชาติรวมไว้ให้ภายใน 1 แคปซูล

ดีเน่ แอนโดรพลัส DNAe Andro plus” อาหารเสริมสำหรับคุณผู้ชาย เพียงทานวันละ 1 แคปซูล หลังอาหารมื้อใดก็ได้ที่สะดวก ช่วยฟื้นฟูร่างกายในช่วงการลดการดื่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • โสมเกาหลีและฟีนูกรีก ช่วยเสริมสร้างพลังงานและความแข็งแรง ทำให้ร่างกายปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น
  • แอล-อาร์จีนีน ช่วยปรับสมดุลความดันโลหิตและการไหลเวียนเลือด ซึ่งมักได้รับผลกระทบจากการดื่มแอลกอฮอล์
  • กระชายดำและซิงค์ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและฟื้นฟูตับที่อาจอ่อนล้าจากแอลกอฮอล์ 
  • แปะก๊วย ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปสู่สมอง ทำให้มีสมาธิและความจำดีขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในช่วงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • งาดำ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่อาจได้รับความเสียหายจากการดื่ม ทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

“ดีเน่ ฟวาโวพลัส” DNAe Flavoplus ผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับคุณผู้หญิง กับสารสกัดโดดเด่นอย่าง “ถั่วเหลือง” ที่นำเข้าจากสเปน มีส่วนช่วยในการลดและแก้อาการร้อนวูบวาบในวัยทองได้ดี เพียงทานครั้งละ 1 แคปซูลหลังมื้ออาหารใดก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีสารสกัดตัวอื่นๆ ที่คุณหมอหลายๆ ท่านแนะนำให้ทานในมื้ออาหารสำหรับวัยทองอีก เช่น 

  • สารสกัดจากถั่วเหลืองและตังกุย ทำงานร่วมกันในการปรับสมดุลฮอร์โมน ซึ่งมักแปรปรวนในช่วงการลดการดื่ม นอกจากนี้ยังช่วยลดความเครียดและความวิตกกังวลที่อาจเกิดขึ้น
  • แปะก๊วย ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมอง ทำให้มีสมาธิดีขึ้นและความจำแจ่มใส ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในช่วงที่ร่างกายกำลังปรับตัว
  • งาดำ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่อาจเสียหายจากแอลกอฮอล์
  • แครนเบอร์รี่ออร์แกนิค ช่วยล้างสารพิษและดูแลระบบทางเดินปัสสาวะ 
  • อินูลิน พรีไบโอติก ช่วยฟื้นฟูระบบย่อยอาหารและลำไส้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการดูดซึมสารอาหารและการสร้างภูมิคุ้มกัน

ที่สำคัญมั่นใจได้กับสารสกัดเข้มข้นจากธรรมชาติ คัดเกรดพรีเมียม ที่มีเลขทะเบียน อย. มีใบวิเคราะห์การันตีสารสกัดนำเข้า มีค่าเปอร์เซนต์สารสำคัญ และไม่ตัดแต่งพันธุกรรม จากการพัฒนาสูตรและคิดค้นโดยทีมเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญจากโรงงานมาตรฐานสากล 

สรุป

การลดดื่มเหล้าในวัยทอง หากมองในแง่ดีก็เป็นอีกหนึ่งความท้าทายในเป้าหมายของการเข้าสู่ช่วงวัยทอง หากร่างกายพร้อม ใจพร้อม ด้วยแผนการที่ดีและการสนับสนุนที่เหมาะสม เราเชื่อว่าคุณผู้อ่านทุกคนสามารถทำได้ 

การเริ่มต้นปีใหม่ด้วยการดูแลสุขภาพเป็นของขวัญล้ำค่าที่เราให้กับตัวเองและครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการลดปริมาณการดื่มหรือเลิกดื่มอย่างถาวร ทุกก้าวที่เราก้าวไปคือการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของชีวิต