ปัญหาออฟฟิศซินโดรมในวัยทองร้ายแรงกว่าที่คิด

เมื่อคุณผู้อ่านได้ก้าวเข้าสู่โลกของวัยทอง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญของผู้หญิงที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องทำงานในออฟฟิศ ความเสี่ยงที่จะเกิดกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมยิ่งเพิ่มสูงขึ้น 

ออฟฟิศซินโดรม เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการทำงานเป็นเวลานาน พบได้บ่อยในกลุ่มคนทำงานทั่วไป แต่สำหรับผู้หญิงวัยทอง ปัญหานี้มีความซับซ้อนและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตมากกว่าปกติ เนื่องจากร่างกายกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งส่งผลต่อความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเอ็น ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยได้ง่ายขึ้นและความหนาแน่นของมวลกระดูกที่ลดน้อยลง  จากสถิติพบว่าผู้หญิงวัยทองที่ทำงานออฟฟิศมีโอกาสเกิดอาการออฟฟิศซินโดรมสูงถึง 60 – 70% โดยเฉพาะในช่วงต้นปีที่ต้องกลับมาทำงานหนักหลังจากพักยาวในช่วงของปีใหม่นั้นเอง

อาการออฟฟิศซินโดรมในผู้หญิงวัยทอง

อาการของออฟฟิศซินโดรมในวัยทอง เมื่อเกิดอาการบาดเจ็บหรือปวดเมื่อย ร่างกายจะใช้เวลาฟื้นตัวนานกว่าช่วงวัยอื่นๆ มากกว่าปกติ เนื่องจากกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ทำงานได้ช้าลง อาการปวดจึงอาจมีความรุนแรงและเรื้อรังมากขึ้น เมื่อไม่ได้รับการดูแลและรักษาที่มีความเหมาะสม

นอกจากนี้ความเครียดจากการทำงานยังอาจพ่วงกระทบต่ออาการวัยทองอาการอื่นๆ มาต่อเนื่องเพิ่มขึ้น เช่น อาการร้อนวูบวาบ หรืออาการนอนไม่หลับ ยิ่งส่งผลให้การฟื้นตัวช้าลง

อาการที่สามารถเกิดขึ้นกับร่างกายได้

  1. ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ
    • ปวดคอและบ่า เกิดจากการนั่งทำงานในท่าเดียวนานๆ
    • ปวดหลังส่วนล่าง พบบ่อยในผู้ที่นั่งทำงานไม่ถูกสุขลักษณะ
    • ปวดข้อมือและนิ้วมือ จากการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำนักงานต่อเนื่อง
  1. อาการชาและความผิดปกติของระบบประสาท
    • มีอาการชาปลายมือและนิ้ว
    • มีอาการชาบริเวณไหล่และต้นแขน
    • พบอาการเสียวแปลบตามแนวกระดูกสันหลัง
  1. ปัญหาสายตาและการมองเห็น
    • ตาแห้ง
    • ตาล้า
    • ปวดตา
    • มองเห็นไม่ชัด

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงอาการออฟฟิศซินโดรมวัยทอง

การเข้าใจถึงสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้เป็นก้าวแรกที่สำคัญในการป้องกันและจัดการกับออฟฟิศซินโดรมในวัยทอง ควรมีการปรับเปลี่ยนทั้งพฤติกรรมการทำงานและสภาพแวดล้อม รวมถึงการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ลองมาทำความเข้าใจและค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหานี้กัน

การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน

  1. ความแข็งแรงของกระดูกลดลง

เมื่อระดับเอสโตรเจนในร่างกายลดลง กระดูกจะสูญเสียแคลเซียมและแร่ธาตุอื่นๆ มากขึ้น ทำให้มวลกระดูกลดลงและเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุน โดยเฉพาะในตำแหน่งกระดูกสันหลังและสะโพก ซึ่งเป็นส่วนที่รับน้ำหนักมากในขณะนั่งทำงาน

  1. กล้ามเนื้อเสื่อมสภาพเร็วขึ้น

กล้ามเนื้อในช่วงวัยทอง จะมีการสลายตัวเร็วกว่าการสร้างใหม่ ซึ่งเมื่อมีการสลายมากกว่าการสร้าง ทำให้กล้ามเนื้อที่สร้างมาไม่ทันนั้นมีลักษณะลีบและอ่อนแรงลง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหลังและคอที่ต้องทำงานหนักในการรักษาท่าทางการนั่ง

  1. ความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อลดลง

เนื้อเยื่อพังผืดและเอ็นต่างๆ จะแข็งตัวและสูญเสียความยืดหยุ่นเมื่อมีอายุมากขึ้น ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่ไม่คล่องตัวและเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้ง่ายมากขึ้น

พฤติกรรมการทำงาน

  1. การนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานาน

เมื่อคุณผู้อ่านนั่งทำงานด้วยท่าทางซ้ำๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็งค้าง มีการไหลเวียนเลือดที่ไม่ดี และเพิ่มแรงกดทับที่กระดูกสันหลัง ซึ่งในวัยทองจะส่งผลกระทบรุนแรงกว่าวัยอื่น

  1. การใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องโดยไม่พัก

การจ้องหน้าจอและใช้แป้นพิมพ์เป็นเวลานาน ก็มีส่วนทำให้เกิดความเครียดที่กล้ามเนื้อตา คอ และไหล่ ซึ่งในวัยทองอาจทำให้เกิดอาการปวดเรื้อรังได้ง่ายตามมา

  1. การยกของหนักหรือเคลื่อนไหวร่างกายไม่ถูกวิธี

การยกของหรือเอี้ยวตัวหยิบของอย่างไม่ถูกวิธี อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและข้อต่อตามมา

  1. การทำงานล่วงเวลาบ่อยครั้ง 

เพราะการทำงานต้องการมีการพัก และคุณผู้อ่านทุกท่านควรมี Work Life Balance การมีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานไม่เพียงแต่เพิ่มความเครียดให้กับร่างกายเท่านั้น แต่ยังรบกวนการพักผ่อนที่จำเป็นสำหรับการฟื้นฟูร่างกายในวัยทองอีกด้วย

สภาพแวดล้อมการทำงาน

  1. โต๊ะและเก้าอี้ทำงานไม่เหมาะสม

โต๊ะและเก้าอี้ที่ไม่เหมาะสมกับสรีระของร่างกาย ส่งผลทำให้เกิดการทำงานในท่าทางที่ผิด จนเกิดอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพเรื้อรัง

  1. แสงสว่างไม่เพียงพอ

นอกจากสถานที่จะเอื้ออำนวยแล้ว แสงที่ไม่เพียงพอต่อการทำงานหรือมากเกินความจำเป็น จะทำให้เกิดความเครียดที่ดวงตาและอาจมีอาการปวดศีรษะหรือปวดลูกตาตามมา เชื่อว่าหลายท่านน่าจะเคยพบเจอบ้าง ซึ่งในวัยทองอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น

  1. อุณหภูมิห้องไม่เหมาะสม

สภาพอากาศที่ร้อนหรือเย็นเกินไป อาจกระตุ้นให้เกิดอาการในวัยทองอย่างอาการร้อนวูบวาบหรือหนาวสั่นที่พบได้บ่อยได้

  1. การจัดวางอุปกรณ์สำนักงานไม่เหมาะสม

การวางอุปกรณ์ในที่ทำงานที่ไม่มีความเหมาะสมทำให้ต้องเอื้อมหรือบิดตัวบ่อยๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ง่ายในวัยทอง

เริ่มต้นด้วยวิธีง่ายๆ ป้องกันออฟฟิศซินโดรมสำหรับผู้หญิงวัยทอง

เพราะเมื่อมีสาเหตุของการเกิดอาการ ก็ต้องมีแนวทางการป้องกันอย่างแน่นอน และการป้องกันตั้งแต่เนิ่นก็ไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงหรือเกิดอาการออฟฟิศซินโดรมตามมารบกวนได้อีกด้วย ทำให้การจัดการท่าทางการทำงานที่ถูกต้องมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิงวัยทอง เนื่องจากร่างกายในช่วงนี้มีความอ่อนไหวต่อการบาดเจ็บและต้องการการดูแลเป็นพิเศษ การทำความเข้าใจและปฏิบัติตามหลักการที่ถูกต้องจะช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้…

  1. การนั่งทำงาน
    • นั่งหลังตรง ศีรษะตั้งตรง การรักษาแนวกระดูกสันหลังให้ตรงมีความสำคัญมากในวัยทอง เนื่องจากกระดูกมีความเปราะบางมากขึ้น ซึ่งการนั่งหลังตรงช่วยกระจายแรงกดทับบนกระดูกสันหลังได้อย่างเหมาะสม ศีรษะควรตั้งตรงในแนวเดียวกับลำตัว เพื่อลดแรงกดที่คอและบ่า ซึ่งจะช่วยป้องกันอาการปวดคอและไมเกรนที่พบบ่อยในวัยทอง
  • หัวไหล่ผ่อนคลาย ไม่ยกสูง เมื่อหัวไหล่ได้รับการผ่อนคลายที่ดี จะช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อบ่าและคอได้ การยกไหล่สูงเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดการอักเสบของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ซึ่งแน่นอนว่าในวัยทองจะใช้เวลาฟื้นตัวนานกว่าปกติ แขนควรวางทำมุม 90 องศาเพื่อให้กล้ามเนื้อทำงานน้อยที่สุด
  • การวางเท้าและการใช้อุปกรณ์ เท้าที่วางราบกับพื้น จะช่วยรักษาสมดุลร่างกายและลดแรงกดที่หลังส่วนล่างของคุณผู้อ่านได้ดี หากเท้าไม่ถึงพื้น ควรใช้ที่พักเท้าช่วย นอกจากนี้การจัดวางหน้าจอให้อยู่ในระดับสายตา จะช่วยลดการเงยหน้าหรือก้มหน้ามากเกินไป ซึ่งอาจกระตุ้นอาการปวดศีรษะที่พบได้บ่อยในวัยทอง
  1. การยืดเหยียดร่างกายระหว่างวัน
    • ยืดเหยียดทุก 1 – 2 ชั่วโมง การยืดเหยียดช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ และป้องกันการเมื่อยล้า
    • ท่าบริหารคอและบ่า คุณผู้อ่านควรเริ่มค้รทำอย่างนุ่มนวลและค่อยเป็นค่อยไป หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่รุนแรงหรือกระชาก เน้นการยืดกล้ามเนื้อคอและบ่าอย่างช้าๆ เพื่อคลายความตึงและเพิ่มความยืดหยุ่น
    • ท่าบริหารข้อมือและนิ้วมือ การบริหารส่วนนี้ช่วยป้องกันการอักเสบของเส้นประสาทและเอ็น ซึ่งในวัยทองมักเกิดได้ง่ายจากการใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
    • การเดินรอบออฟฟิศ การเดินรอบออฟฟิศ นับว่าเป็นการออกกำลังกายแบบเบาๆ ที่เหมาะสมกับวัยทอง ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ลดความเสี่ยงของภาวะกระดูกพรุน และช่วยผ่อนคลายความเครียดระหว่างการทำงานได้
  1. ปรับสภาพพื้นที่การทำงานให้ถูกต้อง
    • การจัดการเก้าอี้ทำงานที่เหมาะสม การปรับความสูงของเก้าอี้เป็นพื้นฐานสำคัญที่สุด เพราะส่งผลโดยตรงต่อท่าทางการนั่งและการกดทับของกระดูกสันหลัง ความสูงที่เหมาะสม เท้าของคุณผู้อ่านจะต้องสามารถวางราบกับพื้นได้สบาย และต้นขาขนานกับพื้น หากเก้าอี้สูงเกินไปจะทำให้เกิดแรงกดที่ใต้ต้นขา ส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดที่ขา ซึ่งเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในวัยทอง
  • พนักพิงหลังควรมีความโค้งรับกับแนวกระดูกสันหลังส่วนล่าง ทั้งนี้ก็เพื่อให้ช่วยพยุงและลดแรงกดที่หมอนรองกระดูก ซึ่งในวัยทองมักมีการเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ รวมถึงแนะนำให้มีที่รองหลังส่วนล่าง ก็จะช่วยป้องกันอาการปวดหลังเรื้อรังได้ด้วย
  • ที่วางแขนควรปรับระดับได้  การวางแขนที่เหมาะสมจะช่วยลดความตึงเครียดที่คอและบ่า ซึ่งเป็นจุดที่มักมีปัญหาในผู้หญิงวัยทอง
  • ความสูงของโต๊ะ โต๊ะที่สูงเกินไปจะทำให้ต้องยกไหล่ขณะทำงาน ส่วนโต๊ะที่ต่ำเกินไปจะทำให้ต้องก้มตัว ทั้งสองกรณีล้วนส่งผลเสียต่อกระดูกสันหลังและกล้ามเนื้อ โต๊ะที่เหมาะสมควรอยู่ในระดับที่เมื่อนั่งแล้ว แขนวางบนโต๊ะทำมุม 90 องศาพอดี
  • พื้นที่วางอุปกรณ์ ควรจัดให้เป็นระเบียบและเพียงพอ อุปกรณ์ที่ใช้บ่อยควรวางในระยะที่เอื้อมถึงได้สะดวก ไม่ต้องบิดหรือเอี้ยวตัวมากเกินไป ซึ่งอาจกระตุ้นอาการปวดหลังในวัยทองได้
  • การจัดวางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ให้คำนึงถึงระยะห่างและมุมมอง ระยะห่างที่เหมาะสมคือ 50-70 เซนติเมตร ซึ่งจะช่วยลดความเครียดที่ตาและคอ หน้าจอควรอยู่ต่ำกว่าระดับสายตาเล็กน้อย เพื่อให้ก้มศีรษะประมาณ 15-20 องศา ซึ่งเป็นมุมที่สบายที่สุดสำหรับกล้ามเนื้อคอ
  • แสงธรรมชาติมีความสำคัญต่อการทำงานและสุขภาพตา ควรจัดโต๊ะทำงานให้ได้รับแสงธรรมชาติอย่างเหมาะสม แต่ไม่ควรให้แสงส่องเข้าตาโดยตรงหรือสะท้อนหน้าจอ เพราะจะทำให้เกิดความเครียดที่ตาและอาจกระตุ้นอาการปวดศีรษะที่พบบ่อยในวัยทอง

เคล็ด(ไม่)ลับท่าบริหารร่างกายลดอาการออฟฟิศซินโดรม

ท่าบริหารร่างกายที่เหมาะสมสำหรับผู้หญิงวัยทองที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม จำเป็นต้องเน้นความนุ่มนวล ไม่หักโหม และค่อยๆ เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ที่สำคัญต้องทำได้ทุกที่และทำได้ง่าย วันนี้เราเลยรวบรวมข้อแนะนำท่าที่สามารถทำได้ง่ายๆ ระหว่างนั่งทำงานที่โต๊ะมาฝากกัน

  • ท่าละลายความตึงคอ

ให้คุณผู้อ่านเริ่มจากการนั่งหลังตรง หลังจากนั้นให้หายใจเข้าลึกๆ แล้วค่อยๆ เอียงศีรษะไปทางขวา ให้หูขวาใกล้ไหล่ขวา ทำค้างไว้ 15 – 20 วินาที เมื่อรู้สึกถึงการยืดที่คอด้านซ้ายให้ค่อยๆ ยกศีรษะขึ้นตรง ทำสลับข้างซ้ายซ้ำข้างละ 3 – 4 ครั้ง ท่านี้จะช่วยคลายกล้ามเนื้อคอที่เกร็งจากการจ้องหน้าจอได้เป็นอย่างดี

  • ท่าผ่อนคลายบ่า 

เริ่มจากการนั่งหลังตรง พร้อมกับวางแขนข้างลำตัว ให้คุณผู้อ่านหายใจเข้าพร้อมยกไหล่ขึ้นสูงช้าๆ แล้วเกร็งค้างไว้ 3 วินาที จากนั้นหายใจออกพร้อมปล่อยไหล่ลงช้าๆ ทำซ้ำ 5 – 8 ครั้ง ท่านี้จะช่วยคลายความตึงที่บ่าและไหล่ได้

  • ท่าบิดสบายหลัง

ให้คุณผู้อ่านเริ่มต้นจากการนั่งหลังตรง เท้าวางราบกับพื้น หายใจเข้าลึกๆ ขณะยกแขนขวาขึ้นจับพนักเก้าอี้ด้านหลัง ค่อยๆ บิดลำตัวไปทางขวา หายใจออกช้าๆ ค้างไว้ 15 – 20 วินาที แล้วค่อยๆ หมุนกลับ ทำสลับข้าง ข้างละ 3 – 4 ครั้ง ท่านี้ช่วยคลายกล้ามเนื้อหลังที่เกร็งจากการนั่งนาน

  • ท่าคลายล็อคข้อมือ

ให้ทำการยื่นแขนไปข้างหน้า กำมือแน่นๆ แล้วค่อยๆ แบมือออก กางนิ้วให้กว้าง ค้างไว้ 5 วินาที ให้ทำสลับกำและแบ 8 – 10 ครั้ง จากนั้นหมุนข้อมือเป็นวงกลมช้าๆ 5 – 8 รอบ ทั้งตามและทวนเข็มนาฬิกา ท่านี้ช่วยป้องกันการอักเสบของเส้นประสาทข้อมือ และสุดท้าย

  • ท่าบริหารขาและเท้า

ให้เริ่มจากการนั่งบนเก้าอี้ ยกขาขวาขึ้นเหยียดตรง กระดกปลายเท้าขึ้นลงช้าๆ 10 – 15 ครั้ง แล้วทำวงกลมที่ข้อเท้า 5 – 8 รอบ ทำสลับขาซ้าย ท่านี้ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดที่ขาได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

การบริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอไม่เพียงช่วยบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรม แต่ยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ปรับปรุงการทรงตัว และช่วยให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นระหว่างวัน แต่หากคุณผู้อ่านอยากเสริมร่างกายภายในด้วยการดูแลสุขภาพจากการทาน เราก็มีอาหารเสริมคุณภาพดีที่ทำด้วยคนไทย คิดค้นด้วยคนไทย และเป็นสูตรของคุณหมอกับ…

“ดีเน่ ฟวาโวพลัส” DNAe Flavoplus ผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับคุณผู้หญิง กับสารสกัดเด่นอย่าง “ถั่วเหลือง” ที่นำเข้าจากสเปน มีส่วนช่วยในการลดและบรรเทาอาการวัยทอง ไม่ว่าจะเป็น อาการร้อนวูบวาบ อาการนอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวนง่าย ซึ่งอาการเหล่านี้มักเชื่อมโยงกับโรคต่างๆ มาในพร้อมกับวัยทอง ซึ่งดีเน่ได้เข้ามาตอบโจทย์ให้คุณผู้อ่านได้ดูแลตัวเองและดำเนินชีวิตได้อย่างสะดวกมากขึ้น เพียงทานครั้งละ 1 แคปซูลหลังมื้ออาหารใดก็ได้ ง่ายแบบนี้เลยละคุณผู้อ่าน นอกจากนี้ยังมีสารสกัดอื่นๆ อีกมากมาย

  • งาดำ ช่วยบำรุงเส้นผม ลดการอักเสบของกระดูกและข้อ
  • ตังกุย บำรุงเลือดให้ไหลเวียนได้ดีขึ้น ลดอาการร้อนวูบวาบ
  • แปะก๋วย เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปบำรุงสมอง ช่วยเพิ่มความจำ หลับสบาย
  • อินูลิน พรีไบโอติก ช่วยปรับสมดุลทางเดินอาหารและลำไส้ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  • สารสกัด Organic แครนเบอร์รี่ ช่วยให้ผิวเรียบเนียนกระจ่างใส เพิ่มคอลลาเจน ทำให้ผิวไม่เหี่ยวย่นแก่ก่อนวัยและมีงานวิจัยว่าสามารถลดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ลดอาการแสบขัด กะปริดกะปรอยได้

เรียกว่าครอบคลุม และสร้างความมั่นใจให้กับผู้อ่านได้อย่างแน่นอน เพราะสารสกัดเข้มข้นต่างๆ เหล่านี้ เป็นสารจากธรรมชาติ คัดเกรดพรีเมียม ที่นำเข้าและมีเลขทะเบียน อย. มีใบวิเคราะห์การันตีสารสกัดนำเข้า มีค่าเปอร์เซนต์สารสำคัญ และไม่ตัดแต่งพันธุกรรม จากการพัฒนาสูตรและคิดค้นโดยทีมเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญจากโรงงานมาตรฐานสากล 

บทสรุป

ออฟฟิศซินโดรมในผู้หญิงวัยทองเป็นปัญหาที่สามารถป้องกันและรักษาได้ หากมีความเข้าใจและใส่ใจดูแลตนเองอย่างถูกวิธี การผสมผสานระหว่างการปรับพฤติกรรมการทำงาน การออกกำลังกายที่เหมาะสม การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการจัดการความเครียด จะช่วยให้ผู้หญิงวัยทองสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี การเริ่มต้นดูแลตนเองตั้งแต่วันนี้จะช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และทำให้การทำงานในช่วงวัยทองเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขและมีคุณค่า