สาเหตุของโรคกระดูกพรุน

  1. ปัจจัยด้านอายุ

เมื่อมีอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มวลกระดูกในร่างกายลดลง เป็นผลทำให้เปราะบางและแตกหักง่าย เมื่อถูกกระทบกระเทือนแม้จะไม่รุนแรงก็ตาม นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องของการเสื่อมของเซลล์กระดูกตามธรรมชาติที่เกิดจากการทำงานที่ไม่สมดุล โดยมีสาเหตุมาจากการดูดซึมปริมาณแคลเซียลที่ลดลงตามวัยและไม่เพียงพอต่อการสร้างกระดูก ก่อให้เกิดปัญหาโรคกระดูกพรุนในวัยทองตามมา

  1. ปัจจัยด้านฮอร์โมน

ในช่วงอายุ 48- 52 ปี ร่างกายของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะเริ่มขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีหน้าที่ส่งเสริมการสร้างมวลกระดูกและป้องกันการสลายของมวลกระดูกที่อาจนำไปสู่กระดูกแตก เช่นเดียวกับผู้ชายในการขาดฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน

 หากไม่ได้รับการตรวจวินิจฉัยและให้การป้องกันโรคกระดูกพรุนในวัยทอง อาจรู้ตัวเมื่อกระดูกพรุนหรือกระดูกแตกหักแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกระดูกชนิดที่มีส่วนของกระดูกฟองน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก เช่น กระดูกสันหลัง กระดูกต้นขาและกระดูกปลายแขน 

  1. พฤติกรรมการใช้ชีวิต

ปฏิเสธไม่ได้ว่าพฤติกรรมการใช้ชีวิตล้วนทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนในวัยทอง โดยเฉพาะการขาดการออกกำลังกายเป็นเวลานาน ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกให้มีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น 

การสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่งที่ส่งผลให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง ซึ่งปริมาณแคลเซียมในร่างกายมีส่วนช่วยให้มวลกระดูกมีความแข็งแรง ไม่เสี่ยงต่ออาการกระดูกแตก ซึ่งหากร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนในวัยทองได้ ตลอดจนการรับประทานยาบางชนิดเป็นเวลานานก็มีความเสี่ยงเช่นกัน

อาการของโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนในวัยทอง มักจะไม่แสดงอาการในระยะแรกให้ผู้ป่วยได้รับรู้ จนกระทั่งเกิดภาวะแทรกซ้อน หรืออุบัติเหตุที่ทำให้กระดูกหัก กระดูกแตก ซึ่งคุณผู้อ่านสามารถสังเกตุอาการต่างๆ ได้ ดังนี้

  1. อาการเบื้องต้น
  • ปวดหลังเรื้อรัง
  • ความสูงลดลง
  • หลังค่อม
  • กระดูกแตกหักง่ายแม้เพียงการกระทบกระเทือนเล็กน้อย
  1. ตำแหน่งที่พบการแตกหักบ่อย
  • กระดูกสันหลัง
  • กระดูกสะโพก
  • กระดูกข้อมือ
  • กระดูกซี่โครง

กลุ่มเสี่ยงที่ควรเฝ้าระวัง

  1. ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
  • อายุ 45-55 ปี
  • เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย
  • เสี่ยงต่อการสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว
  1. ผู้สูงอายุ
  • อายุมากกว่า 65 ปี
  • มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม กระดูกแตกหักได้ง่าย
  • ร่างกายดูดซึมแคลเซียมเพื่อสร้างและซ่อมแซมกระดูกลดลง
  1. ผู้ที่มีประวัติครอบครัว
  • มีญาติสายตรงเป็นโรคกระดูกพรุน
  • มีประวัติกระดูกหักในครอบครัว

การรักษาโรคกระดูกพรุนในวัยทอง

1. การรักษาด้วยยา

เนื่องจากโรคกระดูกพรุนในวัยทองเกิดจากภาวะกระดูกเสื่อมที่มาจากหลายสาเหตุ หลักการรักษาจะกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูกและลดการทำงานของเซลล์สลายกระดูก มีทั้งการรับประทานยา การฉีดยา และการเพิ่มฮอร์โมน

ยาที่ใช้ในการรักษา

  • ยากลุ่ม Bisphosphonates
  • ยาฮอร์โมนทดแทน
  • ยาเสริมสร้างกระดูก
  • แคลเซียมและวิตามินดีเสริม

ข้อควรระวังในการใช้ยา

  • ต้องรับประทานตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • สังเกตผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นต่อร่างกาย
  • ตรวจติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอ

2. การรักษาแบบองค์รวม

การดูแลสุขภาพทั่วไปเพื่อรักษาสมดุลของร่างกายทั้งจากการออกกำลังกายที่เหมาะสม การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และการจัดการความเครียด สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นขั้นพื้นฐานที่ทุกคนสามารถทำได้ ซึ่งไม่เพียงป้องกันโรคกระดูกพรุนในวัยทองเท่านั้น ยังป้องกันโรคอื่นๆ ได้อีกด้วย

วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุนในวัยทอง

1. การรับประทานอาหาร

รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงและวิตามินดีให้เพียงพอเพื่อช่วยในการดูดซึมแคลเซียมให้กระดูกแข็งแรงและป้องกันกระดูกแตก อาทิ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ คะน้า ผักโขม งาดำ ถั่วเหลือง หรือถั่วชนิดต่างๆ ส่วนอาหารที่มีวิตามินดีสามารถหาทานได้จากปลาทะเลอย่าง ทูน่า แซลมอน ปลาทู  ไข่แดง เห็ด ตลอดจนการได้รับแสงแดดอย่างเหมาะสมในแต่ละวัน

และเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อร่างกาย การทานอาหารเสริม ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจไม่น้อยอย่าง DNAe flavoplas (ดีเน่ ฟลาโวพลัส ) ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ผลิตโดยคุณหมอและเภสัชกร ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสารกัดทางธรรมชาติที่มั่นใจได้ว่าปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และผ่านการรับรองจาก อย. 

  • ดีเน่ ฟลาโวพลัส (DNAe Flavoplus) สารสกัดเข้มข้นจากธรรมชาติเกรดนำเข้า มีสารสกัดจากแปะก๊วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปบำรุงสมอง ช่วยเพิ่มความจำ ทำให้หลับสบาย ตื่นเช้ามาแล้วสดชื่น นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการต่างๆ เช่น ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง การเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ เหงื่อออกกลางคืน ช่องคลอดแห้ง และอาการร้อนวูบวาบ ซึ่งเกิดขึ้นได้ในช่วงวัยทอง นับเป็นการบำรุงร่างกายควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพไปพร้อมๆ กัน
  • วิธีทาน เพียงรับประทานครั้งละ 1 เม็ด หลังมื้ออาหารที่สะดวก

*การทานอาหารเสริม ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ เพื่อให้แน่ใจว่าเหมาะสมกับสภาพร่างกาย และไม่มีปฏิกิริยากับยาอื่นๆ ที่กำลังรับประทานอยู่

2. การออกกำลังกาย

ไม่ว่าปัจจุบันคุณชอบออกกำลังกายหรือไม่เป็นก็ตาม การออกกำลังกายยังเป็นประโยชน์อย่างมาก นอกจากช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงแล้ว ยังสามาช่วยชะลอการเกิดโรคกระดูกพรุนในวัยทองได้ โดยเฉพาะการออกกำลังกายชนิดที่มีการลงน้ำหนักด้วยขา เช่น การเดินเร็ว การวิ่งเหยาะ หรือการเต้นแอโรบิก การออกกำลังกายโดยใช้แรงต้านอย่างการยกเวท และการออกกำลังกายเพิ่มการทรงตัวอย่างโยคะ หรือไทชิ (ไทเก็ก) สิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความมั่นคงในการทรงตัวของร่างกายและยังช่วยลดความเสี่ยงในการล้มที่จะก่อให้เกิดภาวะกระดูกแตกได้อีกด้วย

ข้อควรระวัง

  • เริ่มต้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป
  • หลีกเลี่ยงท่าที่เสี่ยงต่อการหกล้ม
  • ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มโปรแกรมการออกกำลังกาย

3. การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

  1. การเลิกบุหรี่
  • บุหรี่ลดการดูดซึมแคลเซียม
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญเสียมวลกระดูก
  • ลดประสิทธิภาพการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจนก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุนในวัยทอง
  1. การลดการดื่มแอลกอฮอล์
  • แอลกอฮอล์รบกวนการดูดซึมของแคลเซียม
  • เมื่อดื่มแล้วเกิดอาการมึนเมา เพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้มกระดูกแตก
  • ส่งผลเสียต่อการสร้างกระดูก
  1. การป้องกันการหกล้ม
  • จัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัย ทางเดินสะดวก ไม่มีของวางเกะกะ
  • ติดตั้งราวจับในห้องน้ำ ให้เดินจับได้อย่างสะดวก
  • ใช้รองเท้าที่มีพื้นกันลื่นเพื่อป้องกันการล้ม ลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ
  • เพิ่มแสงสว่างในบ้านให้มองเห็นหนทางได้ชัดเจน

เมื่อไรควรพบแพทย์ หากมีข้อสงสัยว่าจะเป็นโรคกระดูกพรุนในวัยทอง

  1. อาการที่ควรพบแพทย์ทันที
  • มีอาการปวดหลังรุนแรงเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน
  • ความสูงลดลงชัดเจนอย่างเห็นได้ชัด
  • กระดูกแตกหักได้ง่ายจากการกระทบกระเทือนแม้เพียงเล็กน้อย
  1. การตรวจคัดกรอง
  • ผู้หญิงที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง เช่น ผู้ที่มีโรคที่ทำให้กระดูกบางลงอย่าง โรคไทรอยด์เป็นพิษ
  • ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเอารังไข่ออกทั้งสองข้าง
  • ผู้ที่ได้รับยาที่ทำให้สูญเสียกระดูกมากกว่าปกติเพื่อรักษาโรค

สรุป

โรคกระดูกพรุนในวัยทองเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน การป้องกันและการดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีที่เพียงพอต่อร่างกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เหมาะสม 

ซึ่งหากคุณผู้อ่านมีความเสี่ยงหรือพบอาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม การป้องกันและการรักษาโรคกระดูกพรุนในวัยทองตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและคุณภาพชีวิตที่ดีในระยะยาว