สวัสดีปีใหม่ และคุณผู้อ่านหน้าใหม่ทุกท่าน ทั้งคุณผู้อ่านที่กำลังจะเข้าสู่การเป็นวัยทอง และคุณผู้อ่านที่เข้าสู่การเป็นวัยทองแล้ว “เพราะสุขภาพเสียแล้ว…เสียเลย ฟื้นกลับมายาก” แค่เริ่มจั่วหัวก็ทำเอาตกใจกันหมด แต่ไม่สายที่ปีใหม่นี้จะเริ่มต้นดูแลตนเองให้เป็นวัยทองที่แข็งแรง สุขภาพดี และเบิกบานต้อนรับปี 2025 ให้ผ่านไปได้อย่างฉลุย
ว่ากันว่า… วัยทอง เป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาสำคัญของชีวิต จากการที่ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งด้านฮอร์โมน ระบบต่างๆ ในร่างกาย และสภาพจิตใจ ฉะนั้นการเตรียมความพร้อมและวางแผนดูแลสุขภาพอย่างเป็นระบบจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ปีใหม่ 2025 ที่เราควรให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น
แล้วอาการของคนวัยทองเป็นอย่างไร?
อาการของคนวัยทองที่พบได้นั้นเรียกว่าแตกต่างกันออกไปในแต่ละคนเลยทีเดียว เช่น
- บางคนมีอาการร้อนวูบวาบ เดี๋ยวหนาว เดี๋ยวร้อน
- บางคนมีอาการหงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน
- บางคนมีอาการนอนไม่หลับ ชอบตื่นกลางดึก
- บางคนวัยทองก็มีอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน ก็ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับอีก
อาการทั้งหลายเหล่านี้ที่เมื่อเข้าสู่วัยทองจะเริ่มพบเจอนั้นเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายนั้นเอง ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งผู้ชาย และผู้หญิง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นก็ทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาเพิ่มเติมได้ ดังนั้น การวางแผนดูแลตนเองและการตรวจสุขภาพ จึงมีความสำคัญมากๆ และเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คุณผู้อ่านควรทำเป็นลำดับแรกๆ เพื่อดูแลสุขภาพให้เป็นวัยทองที่พร้อมรับทุกสถานการณ์นั้นเอง
วัยทอง ควรตรวจสุขภาพอะไรบ้าง?
การตรวจสุขภาพสำหรับวัยทอง ควรจะเน้นไปที่การตรวจร่างกายและการทำงานอวัยวะต่างๆ อย่างละเอียด เพื่อรับคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทางระบบที่สำคัญ เพราะวัยทอง ถือเป็นวัยที่ร่างกายถดถอย ส่วนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพที่ดีสะสมมาจากช่วงวัยทำงาน
โดยในวัยนี้…การตรวจสุขภาพต้องเน้นไปที่โรคที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เช่น หัวใจ ไต กระดูกพรุน ช่องท้อง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ฮอร์โมนต่าง ๆ มะเร็งลำไส้ เป็นต้น และแน่นอนว่าเราได้รวบรวมรายการตรวจสุขภาพพื้นฐานที่จำเป็น และครอบคลุมมาฝากด้วย จะมีอะไรบ้าง มาเริ่มดูกัน…
รายการตรวจสุขภาพพื้นฐานที่จำเป็น
- การตรวจสุขภาพทั่วไป
- ตรวจวัดความดันโลหิต
ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด รวมทั้งโรคไต และโรคแทรกซ้อนต่างๆ และหากมีการตีบ แตก หรือตันของหลอดเลือดสมองอย่างเฉียบพลัน อาจจะทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้ ดังนั้น ความดันโลหิตจึงมีความสำคัญ ที่ต้องใส่ใจดูแล และควรได้รับการตรวจอย่างละเอียด โดยเฉพาะกับผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือมีความดันโลหิตผันผวน - ตรวจน้ำตาลในเลือด
การตรวจน้ำตาลในเลือดมีความสำคัญเพื่อช่วยประเมินผลการรักษาและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานในระยะยาวได้ เช่น ภาวะไตเสื่อม ตาเสื่อม ระบบหลอดเลือดหัวใจและระบบปลายประสาทเสื่อม
- ตรวจไขมันในเลือด
ภาวะไขมันในเลือดสูงเป็นภาวะที่ไม่มีสัญญาณเตือนการเกิดโรคที่สามารถสังเกตได้ และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคถึงแก่ชีวิตมากมาย เพราะระดับไขมันในเลือดที่ไปเกาะอยู่ตามผนังและส่วนต่าง ๆ ของหลอดเลือดส่งผลโดยตรงต่อการเกิดหลอดเลือดตีบตัน โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ
- ตรวจการทำงานของไต
หากไตมีการทำงานที่เสื่อมสภาพลง อาจนำไปสู่ภาวะสารพิษตกค้างภายในร่างกายจนเกิดเป็นไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อโรคขนาดใหญ่มาทำลายเซลล์ร่างกายให้มีการทำงานที่แย่
- ตรวจการทำงานของตับ
เนื่องจากมีเส้นหลอดเลือดที่สำคัญไหลผ่าน คือ หลอดเลือดดำจากลำไส้ หลอดเลือดแดงจากหัวใจ และหลอดเลือดดำจากตับสู่หัวใจ นอกจากนี้ยังมีช่วยเก็บและสร้างสารสำคัญให้กับร่างกาย รวมถึงกำจัดของเสีย ตับจึงมีความสำคัญมากกว่าที่เราคิด
- การตรวจเฉพาะสำหรับวัยทอง
- ตรวจระดับฮอร์โมน
เพื่อทำให้ทราบและประเมินถึงฮอร์โมนในร่างกาย หลายครั้งการเจ็บป่วยหรือความผิดปกติที่คุณกำลังเผชิญ อาจไม่สามารถวินิจฉัยได้ด้วยการสังเกตอาการโรคเพียงอย่างเดียว แต่การตรวจระดับฮอร์โมนจะช่วยเป็นตัวชี้วัดว่าอาการผิดปกติที่กำลังเกิดขึ้นมาจากความผิดปกติของฮอร์โมนหรือไม่
- ตรวจมวลกระดูก
เมื่อถึงระยะหนึ่งร่างกายจะมีการสลายมวลกระดูกในร่างกาย รวมถึงการผลิตฮอร์โมนในร่างกายที่ลดลงเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทอง ทำให้หลายคนอาจมีภาวะกระดูกพรุนตามมาได้
- ประเมินสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
โรคหัวใจ จัดอยู่ในกลุ่มโรคที่ไม่แสดงอาการชัดเจน และไม่มีอาการนำที่สามารถสังเกตได้ และจากสถิติพบว่าคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดห้วใจเฉลี่ยมากถึงชั่วโมง 2 คน
- ตรวจคัดกรองมะเร็ง
แล้วต้องมีความถี่ในการตรวจสุขภาพที่เหมาะสมเท่าไหร่?
ร่างกายก็เปลี่ยนเสมือนรถยนต์ เมื่อมีการใช้งานทุกวัน อะไหล่ที่เคยสภาพดีก็จะค่อย ๆ สึกหรอ และเสื่อมสภาพลงเรื่อย ๆ การตรวจสุขภาพจึงเหมือนกับการพาร่างกายไปเข้ารับการตรวจเช็คสมรรถนะและสำรวจหาจุดที่ต้องมีการดูแลเพิ่มเติม เป็นสิ่งที่คุณผู้อ่านควรมอบให้แก่ร่างกายในทุก ๆ ปีเพื่อเป็นการใส่ใจและดูแลตัวเราให้ยังคงสุขภาพที่ดีและแข็งแรงอยู่เสมอ
โดยทั่วไปแล้วจะแนะนำให้ตรวจทุก 1 ปี สำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ความถี่ และรายละเอียดในการตรวจสุขภาพ แพทย์จะพิจารณาจากสุขภาพโดยรวม ประวัติครอบครัว และรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละบุคคล ในส่วนของคุณผู้อ่านที่มีโรคประจำตัวเพิ่มเติม แนะนำว่าควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาวางแผนการตรวจสุขภาพให้เหมาะสมกับสภาวะโรคของแต่ละท่านเพิ่มเติมด้วย
การวางแผนตรวจสุขภาพควรมีความสม่ำเสมอ โดยแบ่งเป็น:
- การตรวจประจำปี: อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- การตรวจติดตามผล: ทุก 3 – 6 เดือน (กรณีมีความเสี่ยงหรือโรคประจำตัว)
- การตรวจพิเศษเฉพาะโรค: ตามคำแนะนำของแพทย์
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดีในช่วงวัยทอง
การรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับวัยทอง
การรู้จักเลือกอาหารที่มีประโยชน์และรับประทานอย่างเหมาะสม จะช่วยลดปัญหาและปัจจัยเสี่ยงผลกระทบของอาการวัยทอง ไม่ว่าจะเป็นอาการร้อนวูบวาบ อาการนอนไม่หลับ เป็นต้น ช่วยให้คุณผู้อ่านมีสุขภาพที่ดี สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
- โปรตีนคุณภาพดี เช่น ปลาแซลมอน ไข่ อกไก่ ถั่วเหลืองและถั่วต่างๆ
- ผักและผลไม้หลากสี เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ บล็อกโคลี ดอกกะหล่ำ เป็นต้น
- อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นมไขมันต่ำ โยเกิร์ตไขมันต่ำ ผักเขียว
- อาหารที่มีใยอาหารเพียงพอ ลดอาการท้องผูก ท้องอืด เช่น ธัญพืชต่างๆ ผลไม้ต่างๆ
- หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด มัน เค็ม หวาน
การออกกำลังกายที่เหมาะสม
ด้วยตัวเลขอายุที่มากขึ้นและการสลายตัวของมวลกระดูกที่เพิ่มมากขึ้นตาม การออกกำลังกายนอกจากจะทำให้ร่างกายของเรามีความแข็งแรง ทนทานแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างร่างกาย มวลกล้ามเนื้อ และมวลกระดูก เมื่อทำควบคู่กับการรับประทานอาหารที่เสริมสร้างคุณภาพพร้อมคุณประโยชน์ที่ร่างกายต้องการได้รับนั้นเอง แนะนำการออกกำลังเป็น
- เดินเร็ววันละ 30 – 45 นาที
- โยคะเพื่อความยืดหยุ่น
- การออกกำลังกายแบบแอโรบิกเบาๆ
- การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เช่น เวทเทรนนิ่ง
- กิจกรรมทางน้ำ เช่น ว่ายน้ำ
การจัดการความเครียด
นอกจากความเครียดเป็นบ่อเกิดของโรคเกี่ยวกับทางจิตของเราแล้ว ยังทำให้คุณผู้อ่านสามารถอ้วนได้ และนำมาสู่โรคภัยต่างๆ ได้อีกด้วย ดังนั้น การจัดการความเครียดที่ดีนอกจากจะทำให้เราสมองปลอดโปร่ง ไม่คิดมาก วิตกกังวลแล้ว ยังช่วยให้เรามีความสุขเพิ่มมากขึ้นด้วย
- การทำสมาธิ
- การหายใจบำบัด
- การพูดคุยกับคนใกล้ชิด
- การทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ
- การพักผ่อนอย่างเพียงพอ
การสร้างความสุขในชีวิตประจำวัน
การดูแลตัวเองเป็นสิ่งที่สำคัญที่ช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดี แต่การดูแลตัวเองไม่ใช่แค่การหาความสุขให้กับตัวเองเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการดูแลความต้องการของตัวเองทั้งทางกายและใจ จะดีไหมถ้าเราสามารถสร้างสุขได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองเริ่มต้นวันง่ายๆ และวันดีๆ สร้างชีวิตให้พบเจอแต่ความสุข ด้วยการทำกิจกรรมที่คุณชื่นชอบ เช่น
- งานอดิเรก ดูหนัง วาดภาพ ฟังเพลง
- การเข้าสังคม พบเจอผู้คนกลุ่มใหม่ๆ ที่ชื่นชอบสิ่งเดียวกัน
- การท่องเที่ยว เปิดโลกกว้าง และมุมมองใหม่ๆ
- การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เช่น ภาษา บาริสต้า ทำอาการ
- การทำประโยชน์เพื่อสังคม เช่น การมอบอาหาร ทำบุญ อ่านหนังสือเพื่อคนตาบอด
การจัดการด้านการเงินเพื่อสุขภาพ
เรื่องการวางแผนที่เกี่ยวกับสุขภาพในอนาคต คือเรื่องสำคัญที่ทุกๆ คนต้องใส่ใจตั้งแต่วันนี้ และลงมือวางแผนเพื่อบริหารรายจ่ายให้ได้อย่างเหมาะสม เพราะความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้เสมอ ถ้าเราให้ความสำคัญกับการวางแผนค่าใช่จ่ายในส่วนนี้มากขึ้นเท่าไร โอกาสที่เราจะต้องสูญเสียเงินเป็นจำนวนมากๆ จนทำให้ฐานะการเงินของเราล้มเหลว ก็จะมีน้อยลง
- การทำประกันสุขภาพ
- การออมเพื่อการรักษาพยาบาล
- การวางแผนค่าใช้จ่ายประจำ
- การเตรียมเงินฉุกเฉิน
- การจัดสรรงบประมาณสำหรับการดูแลสุขภาพ
นอกจากการวางแผนออมทรัพย์เพื่อสุขภาพระยะยาวที่จะต้องใช้เวลาเก็บและการประเมินในแต่ละช่วงอายุนั้นๆ แล้ว การออมที่ไวที่สุดและเห็นผลต่อสุขภาพได้เรื่อยๆ คือ การออมสุขภาพด้วยอาหารเสริมจาก “ดีเน่ ฟวาโวพลัส” DNAe Flavoplus และ “ดีเน่ แอนโดรพลัส DNAe Andro plus”
“ดีเน่ แอนโดรพลัส DNAe Andro plus” อาหารเสริมสำหรับคุณผู้ชาย เพียงทานวันละ 1 เม็ด หลังอาหารมื้อใดก็ได้ที่สะดวก คุณก็จะได้รับคุณประโยชน์ เช่น
- ช่วยเพิ่ม สมรรถภาพทางเพศของผู้ชาย
- ช่วยเพิ่ม ฮอร์โมนในเพศชายสูงอายุ – วัยทอง
- ช่วยป้องกัน โรคต่อมลูกหมาก
- ช่วยสร้าง กล้ามเนื้อ ลดอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- ช่วยเพิ่ม ในเรื่องระบบหัวใจและหลอดเลือด
- ช่วยบำรุง ไขข้อและกระดูก ต้านอักเสบ ลดอาการปวด
“ดีเน่ ฟวาโวพลัส” DNAe Flavoplus ผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับคุณผู้หญิง กับสารสกัดเด่นอย่าง “ถั่วเหลือง” ที่นำเข้าจากสเปน มีส่วนช่วยในการลดและแก้อาการร้อนวูบวาบในวัยทองได้ดี เพียงทานครั้งละ 1 แคปซูลหลังมืออาหารใดก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีสารสกัดตัวอื่นๆ ที่คุณหมอหลายๆ ท่านแนะนำให้ทานในมื้ออาหารสำหรับวัยทองอีก เช่น
- งาดำ ช่วยบำรุงเส้นผม ลดการอักเสบของกระดูกและข้อ
- ตังกุย บำรุงเลือดให้ไหลเวียนได้ดีขึ้น ลดอาการร้อนวูบวาบ
- แปะก๋วย เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปบำรุงสมอง ช่วยเพิ่มความจำ หลับสบาย
- อินูลิน พรีไบโอติก ช่วยปรับสมดุลทางเดินอาหารและลำไส้ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
- สารสกัด Organic แครนเบอร์รี่ ช่วยให้ผิวเรียบเนียนกระจ่างใส เพิ่มคอลลาเจน ทำให้ผิวไม่เหี่ยวย่นแก่ก่อนวัยและมีงานวิจัยว่าสามารถลดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ลดอาการแสบขัด กะปริดกะปรอยได้
มั่นใจได้กับสารสกัดเข้มข้นจากธรรมชาติ คัดเกรดพรีเมียม ที่มีเลขทะเบียน อย. มีใบวิเคราะห์การีนตีสารสกัดนำเข้า มีค่าเปอร์เซนต์สารสำคัญ และไม่ตัดแต่งพันธุกรรม จากการพัฒนาสูตรและคิดค้นโดยทีมเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญจากโรงงานมาตรฐานสากล
สรุป
แม้ว่าหลายคนยังมีความสงสัย งุนงงและพยายามหาคำตอบเพื่อแก้ไขปัญหาว่าแท้จริงแล้ว? วัยทองมีอาการอย่างไร? แต่อยากให้คุณผู้อ่านทุกคนเชื่อเถอะว่าการดูแลสุขภาพในวัยทองนั้น เป็นการลงทุนระยะยาวที่คุ้มค่าต่อตัวเองมากที่สุด โดยเฉพาะการเริ่มต้นปีใหม่ 2025 ด้วยความตั้งใจที่จะวางแผนดูแลสุขภาพอย่างเป็นระบบและแน่วแน่ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณผู้อ่านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและมีสุขภาพแข็งแรงแบบเพื่อนรุ่นเดียวกันยังอิจฉาเลย