ไขข้อข้องใจ ภาวะ อ่อนเพลีย ในวัยทอง และวิธีรับมือที่ถูกต้อง!

ทำไมวัยทอง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย สาเหตุ และอาการ

  • การเข้าสู่วัยทองทำให้ ฮอร์โมนเอสโตรเจน ในร่างกายลดลง   ส่งผลให้เกิดอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย และปวดเมื่อยตามร่างกาย ฮอร์โมนที่แปรปรวนนี้ ทำให้ระบบการเผาผลาญของร่างกายช้าลง พลังงานลดลง และยังมีผลต่อการนอนหลับ ทำให้ผู้ที่มีอาการวัยทอง รู้สึกเหนื่อย และไม่มีแรง 

วิธีแก้ อาการ ปวดเมื่อยตามร่างกาย 

1. การยืดเหยียด และออกกำลังกายเบาๆ

  • ทำการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เช่น โยคะ หรือการเดินเบาๆ
  • ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือด และลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ

2.พักผ่อนให้เพียงพอ

  • การนอนหลับอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน
  • ช่วยให้ร่างกายมีเวลาในการฟื้นฟู และซ่อมแซมกล้ามเนื้อ

3.การนวดช่วยบรรเทาอาการ

  • การนวดเบาๆ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ

4.การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

  • อาหารที่มีวิตามิน และแร่ธาตุ เช่น ผัก ผลไม้ โปรตีนจากปลา  และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
  • การดื่มน้ำเพียงพอช่วยให้ร่างกายมีความชุ่มชื้น และลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ

9 วิธีลดอาการ อ่อนเพลีย ไม่มีแรงในวัยทอง

  1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ : เน้นโปรตีน ผัก และผลไม้ที่มีวิตามิน และแร่ธาตุ
  2. ออกกำลังกายเบา ๆ : เช่น การเดิน ว่ายน้ำ หรือโยคะ เพื่อเสริมสร้างพลังงาน และความแข็งแรง
  3. นอนหลับให้เพียงพอ : จัดเวลานอนให้เป็นระเบียบ และหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ หรือแอลกอฮอล์ก่อนนอน
  4. ดื่มน้ำให้เพียงพอ : การรักษาระดับน้ำในร่างกายช่วยให้ระบบต่าง ๆ ทำงานได้ดีขึ้น
  5. หลีกเลี่ยงความเครียด : ใช้เวลาในการผ่อนคลาย และหากิจกรรมที่ชื่นชอบทำ
  6. ทานอาหารเสริม : เช่น ดีเน่ ฟลาโวพลัส ช่วยบรรเทาอาการ อ่อนเพลีย และทำให้รู้สึกสดชื่น ช่วยเพิ่มพลังงาน
  7. รับแสงแดด : การออกไปรับแสงแดดในช่วงเช้า ช่วยกระตุ้นการผลิตวิตามินดี ซึ่งมีผลต่อระดับพลังงาน
  8. หายใจลึก ๆ : การหายใจลึก ๆ ช่วยเพิ่มออกซิเจนในร่างกายและลดความเครียด
  9. หากมีอาการรุนแรง ควรเข้าพบแพทย์ : หากอาการ อ่อนเพลีย รุนแรง หรือไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาวิธีรักษาที่เหมาะสม

อ่อนเพลีย เรื้อรัง สัญญาณโรคร้าย หรือแค่พักผ่อนไม่เพียงพอ?

สาเหตุของอาการ อ่อนเพลีย เรื้อรัง

  1. การขาดสารอาหาร
    • ร่างกายต้องการวิตามิน และแร่ธาตุ เช่น ธาตุเหล็ก วิตามินบี และแมกนีเซียม การขาดสารอาหารเหล่านี้อาจทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย
  2. การนอนหลับไม่เพียงพอ
    • การนอนหลับไม่เพียงพอ หรือการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพ อาจทำให้ร่างกายไม่สามารถฟื้นฟูพลังงานได้อย่างเต็มที่
  3. ความเครียด
    • ความเครียด และภาวะซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบต่อพลังงานของร่างกาย ทำให้รู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา
  4. โรคประจำตัว
    • บางโรคเช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ หรือโรคไทรอยด์ อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียเรื้อรังได้

วิธีสังเกตอาการ อ่อนเพลีย เรื้อรัง

  • อ่อนเพลีย ตลอดทั้งวัน แม้จะนอนหลับเพียงพอ
  • รู้สึกไม่มีแรง และไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
  • มีอาการปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ หรือตัวเบาหวิว
  • รู้สึกไม่มีสมาธิ และความจำไม่ดี

การตรวจสุขภาพ และดูแลตัวเอง

  1. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
    • พบแพทย์ เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี และตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุของอาการ อ่อนเพลีย
  2. ปรับปรุงการนอนหลับ
    • พยายามนอนหลับอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน และสร้างบรรยากาศการนอนที่ดี
  3. ทานอาหารที่มีประโยชน์
    • เลือกทานอาหารที่มีวิตามิน และแร่ธาตุ เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และธัญพืช
  4. ทานอาหารเสริมเพิ่มพลังงาน
    • แนะนำอาหารเสริม ดีเน่ ฟลาโวพลัส มีสารสกัดจาก แปะก๊วย ก่อนหลังมื้ออาหารเย็น ช่วยให้หลับสบาย ตื่นเช้ามาแล้วสดชื่น ลดอาการ อ่อนเพลีย ระหว่างวัน 
  5. ออกกำลังกายเป็นประจำ
    • การออกกำลังกาย ช่วยเพิ่มพลังงาน ลดความเครียด  อาการ อ่อนเพลีย และช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
  6. จัดการความเครียด
    • ใช้วิธีการผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิ การอ่านหนังสือ หรือการฟังเพลง ดูหนังที่ชอบ เพื่อช่วยลดความเครียด

วัยทองวัย 40+ ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย อ่อนเพลีย สะสม ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร?

ผลเสียของการ อ่อนเพลีย สะสมจากการทำงานหนัก พักผ่อนน้อย ในวัยทองวัย 40+

1.ผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน

  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้ป่วยง่ายขึ้น
  • เป็นหวัดและติดเชื้ออื่นๆ บ่อยขึ้น
  • ใช้เวลานานกว่าในการฟื้นตัวจากความเจ็บป่วย

2.ผลกระทบต่อระบบประสาท

  • รู้สึกอ่อนเพลีย และไม่มีเรี่ยวแรง
  • ขาดสมาธิและจดจ่อ
  • ความจำเสื่อม
  • หงุดหงิดง่าย และอารมณ์แปรปรวน
  • นอนหลับยาก

3.ผลกระทบต่อระบบฮอร์โมน

  • อาการวัยทองรุนแรงขึ้น เช่น ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน นอนไม่หลับ
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า และวิตกกังวล

4.ผลกระทบต่อสุขภาพกาย

  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ
  • ปวดศีรษะ
  • อ่อนเพลียเรื้อรัง
  • เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน  และโรคความดันโลหิตสูง

สำหรับผู้ชายวัย 40+ แนะนำทานอาหาร (ดีเน่ แอนโดรพลัส ) มีสารสกัดจากธรรมชาติ 7 ชนิด ที่ช่วยเพิ่มพลังงาน ลดอาการ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ในช่วงวัยทอง เช่น โสมเกาหลี , แปะก๊วย , งาดำ , ฟีนูกรีก (Fenugreek Extract) , กระชายดำ , Zinc , กรดอะมิโน (L’Arginine) 

สำหรับผู้หญิงวัย 40+ แนะนำอาหารเสริม (ดีเน่ ฟลาโวพลัส)  มีสารสกัดจากธรรมชาติ 6 ชนิด แก้อาการวัยทองโดยรวม และอาการ อ่อนเพลีย เช่น ถั่วเหลือง (นำเข้าจากประเทศสเปน) , ตังกุย , แปะก๊วย , งาดำ , Organic แครนเบอร์รี่ , (Prebiotic) 

อาหาร และโภชนาการที่ช่วยเพิ่มพลัง ลดความ อ่อนเพลีย เสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง

อ่อนเพลีย ไม่มีแรง กินอะไรดี?

  • การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ สามารถช่วยเพิ่มพลังงาน และลดความ อ่อนเพลีย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • เช่น ผักโขม บร็อคโคลี่ ส้ม และสตรอว์เบอร์รี่ อุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุที่สำคัญ ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและให้พลังงาน 

อ่อนเพลียง่าย สาเหตุการเกิดโรค?

  • อาการ อ่อนเพลีย ง่ายอาจเกิดจากหลายสาเหตุ รวมถึงการขาดวิตามิน และแร่ธาตุสำคัญ เช่น วิตามินดี ธาตุเหล็ก และแมกนีเซียม การพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียดสูง และการดื่มน้ำน้อยเกินไป 

อาการอ่อนเพลียยังอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคเรื้อรัง 

  • เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และภาวะซึมเศร้า การตรวจสุขภาพ และปรึกษาแพทย์เป็นสิ่งสำคัญในการหาสาเหตุ และวิธีการรักษาที่เหมาะสม

อาหารเสริมผู้สูงอายุ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง 

ดีเน่ ฟลาโวพลัส สำหรับผู้หญิง , ดีเน่ แอนโดรพลัส สำหรับผู้ชาย 

  • สำหรับผู้สูงอายุ ที่ต้องการเพิ่มพลังงาน ช่วยลดความ อ่อนเพลีย เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ได้รับการออกแบบมาเฉพาะ ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน เพิ่มพลังงาน และเสริมสร้างสุขภาพโดยรวม ด้วยสารสกัดจากธรรมชาติ ทำให้มั่นใจได้ในความปลอดภัย และผลลัพธ์

5 เครื่องดื่มเพิ่มพลังให้สดชื่น แก้อาการ อ่อนเพลีย ทำเองได้ที่บ้าน 

5 เครื่องดื่มเพิ่มพลังให้สดชื่น แก้อาการ อ่อนเพลีย ทำเองได้ที่บ้าน

1. น้ำเปล่า

  • น้ำเปล่าเป็นเครื่องดื่มที่สำคัญที่สุด สำหรับร่างกาย การดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยลดอาการ อ่อนเพลีย และเพิ่มความสดชื่นได้

2. น้ำมะพร้าว

  • น้ำมะพร้าวเป็นเครื่องดื่มที่มีอิเล็กโทรไลต์สูง ซึ่งจำเป็นต่อการรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย น้ำมะพร้าวมีโพแทสเซียมสูง ซึ่งช่วยลดอาการ อ่อนเพลีย และเพิ่มความสดชื่นได้

3. น้ำผลไม้

  • น้ำผลไม้สด เช่น น้ำส้ม น้ำแอปเปิล หรือน้ำฝรั่ง เป็นเครื่องดื่มที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยเพิ่มพลังให้ร่างกาย และแก้อาการ อ่อนเพลีย ได้

4. ชาเขียว

  • ชาเขียวมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกายจากความเสียหาย ชาเขียวยังมีคาเฟอีน ซึ่งช่วยเพิ่มความสดชื่น และลดอาการ อ่อนเพลีย ระหว่างวัน

5. สมูทตี้ผัก,ผลไม้

  • สมูทตี้ เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากผลไม้ ผัก และโยเกิร์ต โดยสามารถปรับเปลี่ยนส่วนผสมได้ตามความชอบ สมูทตี้เป็นเครื่องดื่มที่อุดมไปด้วย สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยเพิ่มพลังให้ร่างกาย และแก้อาการ อ่อนเพลีย ได้

อาหารบำรุงกำลัง แก้อาการ อ่อนเพลีย สำหรับวัย 40+

  • ธัญพืชไม่ขัดสี : ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์
  • ถั่วต่างๆ : ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วดำ
  • เนื้อสัตว์ : อกไก่ ปลาแซลมอน ไข่
  • ผักใบเขียว : ผักโขม คะน้า บร็อคโคลี่
  • ผลไม้ : กล้วย แอปเปิ้ล ส้ม

วัย 40+ อ่อนเพลีย ง่าย อาหาร และเครื่องดื่มที่ควรหลีกเลี่ยง!

  • อาหารที่มีน้ำตาลสูง : น้ำอัดลม ขนมหวาน
  • อาหารแปรรูป : ไส้กรอก แฮม เบคอน
  • อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง : เนื้อสัตว์ติดมัน เนย ชีส
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ : เบียร์ ไวน์ สุรา

เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง : กาแฟ ชา โกโก้