“วัยทอง” เป็นช่วงวัยที่ร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งการเผาผลาญที่ช้าลง ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง และความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น หนึ่งในภัยเงียบที่คนวัยทองควรให้ความสำคัญคือ “ไขมันพอกตับ” ซึ่งเป็นภาวะที่มีการสะสมของไขมันในเซลล์ตับมากเกินปกติ
“ไขมันพอกตับ” เป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน โดยเฉพาะในกลุ่มคนวัยทอง โดยจากสถิติพบว่าประมาณ 25 – 30% ของประชากรไทยมีภาวะไขมันพอกตับ และพบมากถึง 60 – 70% ในผู้ที่มีโรคอ้วนหรือเบาหวาน สิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นของโรคนี้ คือ ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการในระยะแรก ทำให้วัยทองหลายคนละเลยและไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จนกระทั่งโรคลุกลามกลายเป็นตับอักเสบ ตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้ในที่สุด
“ตับ” อวัยวะสำคัญที่ต้องดูแล
ก่อนที่เราจะพาคุณผู้อ่านไปเจาะลึกเรื่อง “ไขมันพอกตับ” นั้น เราอยากพาทุกๆ ท่านมาทำความเข้าใจกับ “ตับ” ซึ่งเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดภายในร่างกายกันก่อน ตับตั้งอยู่บริเวณชายโครงด้านขวา มีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัมในผู้ใหญ่ โดยทำหน้าที่หลักๆ คือ
- การเผาผลาญสารอาหารและพลังงาน ตับ ทำหน้าที่เผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน รวมทั้งควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด กระบวนการนี้จะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อเข้าสู่วัยทอง ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดไขมันพอกตับได้ง่ายขึ้น
- การขจัดสารพิษ ตับ ทำหน้าที่กำจัดสารพิษต่างๆ ออกจากร่างกาย ทั้งที่เกิดจากกระบวนการเมตาบอลิซึมปกติและสารพิษจากภายนอก เช่น แอลกอฮอล์ ยา และสารเคมีต่างๆ
- สร้างน้ำดี ตับ ผลิตน้ำดีซึ่งมีความสำคัญในการย่อยไขมัน ช่วยให้ร่างกายดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมันได้ เช่น วิตามิน A, D, E และ K
- สร้างโปรตีนในเลือด ตับ สร้างโปรตีนสำคัญหลายชนิด เช่น อัลบูมิน ซึ่งช่วยรักษาสมดุลของของเหลวในร่างกาย และโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด
- สะสมสารอาหาร ตับ ทำหน้าที่เก็บสะสมวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น เหล็ก ทองแดง วิตามิน A, D, E, K และวิตามิน B12
- สร้างภูมิคุ้มกัน ตับมีเซลล์คูปเฟอร์ ซึ่งเป็นเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ช่วยกำจัดแบคทีเรียและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายทางกระแสเลือด
การเปลี่ยนแปลงของตับในวัยทอง
เมื่อคุณผู้อ่านเข้าสู่วัยทอง การทำงานของตับจะเริ่มเปลี่ยนแปลงไป โดยมีปัจจัยสำคัญ ดังนี้…
- มวลตับลดลง เมื่อก้าวเข้าสู่วัยทองแล้ว ตับจะมีขนาดและน้ำหนักลดลงประมาณ 20 – 40% เมื่อเทียบกับวัยหนุ่มสาว ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
- การไหลเวียนเลือดลดลง เลือดที่ไหลผ่านตับลดลง ทำให้การขนส่งสารอาหารและการกำจัดของเสียไม่มีประสิทธิภาพเท่าเดิม
- การเผาผลาญที่เปลี่ยนแปลง เมตาบอลิซึมทำงานช้าลง ทำให้การเผาผลาญไขมันในวัยทองไม่ดีเท่าเดิม จึงมีโอกาสเกิดการสะสมไขมันในตับได้มากขึ้น
- ความไวต่อการอักเสบเพิ่มขึ้น ตับมีความไวต่อการอักเสบมากขึ้น ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการเกิดโรคตับอักเสบและตับแข็งในระยะต่อมาของวัยทอง
- ความสามารถในการฟื้นฟูลดลง แม้ตับจะเป็นอวัยวะที่สามารถสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนเซลล์ที่เสียหายได้ แต่ในวัยทอง…ความสามารถนี้จะลดลงอย่างมาก ทำให้การฟื้นตัวจากความเสียหายช้าลง
จากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่เพิ่มเติมเข้ามาตามช่วงอายุจนถึงก้าวเข้าสู่วัยทอง เช่น การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกายที่ลดลง และโรคประจำตัวต่างๆ ล้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด “ไขมันพอกตับ” ในวัยทอง นี่คือเหตุผลสำคัญที่คนวัยทองควรใส่ใจดูแลสุขภาพตับเป็นพิเศษ
ไขมันพอกตับคืออะไร? เข้าใจภาวะที่พบบ่อยในวัยทอง
“ไขมันพอกตับ” หรือในทางการแพทย์เรียกว่า ภาวะตับคั่งไขมัน (Hepatic Steatosis) คือ ภาวะที่มีการสะสมของไขมันในเซลล์ตับมากกว่า 5 – 10% ของน้ำหนักตับ หรือพบว่ามีหยดไขมันสะสมในเซลล์ตับมากกว่า 5% ของเซลล์ตับทั้งหมด เมื่อตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
ในสภาวะปกติ ตับจะมีไขมันสะสมอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่เมื่อมีปัจจัยกระตุ้น เช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงเป็นเวลานาน การดื่มแอลกอฮอล์ หรือมีโรคประจำตัวบางอย่าง จะทำให้เกิดการสะสมของไขมันในตับมากขึ้นจนเกิดเป็นโรค
จะรู้ได้ยังไง? ว่าเป็น “ไขมันพอกตับ”
โดยทั่วไป แพทย์จะวินิจฉัยว่าผู้ป่วยมีภาวะไขมันพอกตับเมื่อ…
- มีไขมันสะสมในตับมากกว่า 5% ของเซลล์ตับทั้งหมด เมื่อตรวจด้วยการตัดชิ้นเนื้อตับ
- ตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจด้วยภาพถ่ายทางการแพทย์ เช่น อัลตราซาวด์ แสดงลักษณะตับที่มีความสว่างมากขึ้น หรือมีลักษณะสะท้อนคลื่นเสียงแตกต่างจากตับปกติ
- มีค่าเอนไซม์ตับสูงกว่าปกติ เช่น AST (aspartate aminotransferase) และ ALT (alanine aminotransferase)
ประเภทของโรคไขมันพอกตับ
ปัจจุบันทางการแพทย์ได้แยกประเภทของไขมันพอกตับเป็น 2 ประเภทหลัก ตามสาเหตุการเกิดโรค โดยมีรายละเอียด ดังนี้…
1. ไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (Non-Alcoholic Fatty Liver Disease – NAFLD)
NAFLD เป็นประเภทของไขมันพอกตับที่พบบ่อยที่สุดในปัจจุบัน โดยเฉพาะในวัยทองเกิดในผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์น้อยหรือไม่ดื่มเลย (น้อยกว่า 20 กรัมต่อวันในผู้หญิง หรือน้อยกว่า 30 กรัมต่อวันในผู้ชาย) NAFLD สามารถแบ่งย่อยได้เป็น
- 1.1 ไขมันพอกตับอย่างง่าย (Simple Steatosis หรือ Non-Alcoholic Fatty Liver – NAFL)ในระยะนี้มีเพียงการสะสมของไขมันในเซลล์ตับ โดยไม่มีการอักเสบหรือพังผืด วัยทองที่ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ และมีการดำเนินโรคที่ไม่รุนแรง หากได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม สามารถฟื้นฟูให้กลับมาเป็นปกติได้
- 1.2 ตับอักเสบจากไขมันที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (Non-Alcoholic Steatohepatitis – NASH) NASH เป็นรูปแบบที่รุนแรงกว่า โดยนอกจากมีการสะสมของไขมันแล้ว ยังมีการอักเสบของเซลล์ตับร่วมด้วย ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดพังผืดในตับ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม NASH มีความเสี่ยงที่จะพัฒนาไปเป็นตับแข็ง และมะเร็งตับได้ในที่สุด
ในวัยทอง โอกาสที่ NAFL จะพัฒนาไปเป็น NASH มีประมาณ 10 – 20% และผู้ที่เป็น NASH มีโอกาสเกิดตับแข็งประมาณ 20 – 30% ภายในระยะเวลา 10 ปี
2. ไขมันพอกตับที่เกิดจากแอลกอฮอล์ (Alcoholic Fatty Liver Disease – AFLD)
AFLD เกิดในวัยทองที่ชื่นชอบการดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำและในปริมาณมาก (มากกว่า 20 กรัมต่อวันในผู้หญิง หรือมากกว่า 30 กรัมต่อวันในผู้ชายเป็นเวลานาน) แอลกอฮอล์จะถูกเผาผลาญที่ตับและก่อให้เกิดสารพิษที่ทำลายเซลล์ตับโดยตรง AFLD สามารถแบ่งย่อยได้เป็น
- 2.1 ไขมันพอกตับจากแอลกอฮอล์ (Alcoholic Fatty Liver) เป็นระยะแรกที่มีเพียงการสะสมของไขมันในตับ หากวัยทองหยุดดื่มแอลกอฮอล์ ตับสามารถฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติได้ภายใน 4 – 6 สัปดาห์
- 2.2 ตับอักเสบจากแอลกอฮอล์ (Alcoholic Hepatitis) ในระยะนี้ นอกจากมีการสะสมของไขมันแล้ว ยังมีการอักเสบของเซลล์ตับร่วมด้วย หากวัยทองยังคงดื่มแอลกอฮอล์ต่อไป จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดตับแข็งอย่างมาก
- 2.3 ตับแข็งจากแอลกอฮอล์ (Alcoholic Cirrhosis) เป็นระยะสุดท้ายของโรคตับจากแอลกอฮอล์ที่มีการเกิดพังผืดในตับอย่างถาวร ทำให้โครงสร้างของตับเปลี่ยนแปลงไป และการทำงานบกพร่องอย่างรุนแรง วัยทองที่ป่วยในระยะนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับสูงถึง 1 – 2% ต่อปี
ความแตกต่างระหว่าง NAFLD และ AFLD
แม้ว่าทั้ง NAFLD และ AFLD จะมีลักษณะทางพยาธิวิทยาที่คล้ายคลึงกัน แต่มีความแตกต่างสำคัญ
- สาเหตุ: NAFLD เกิดจากปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคอ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง / ในขณะที่ AFLD เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน
- กลไกการเกิดโรค แม้จะมีกลไกที่คล้ายกันบางประการ แต่ AFLD มีการทำลายเซลล์ตับโดยตรงจากแอลกอฮอล์และสารเมแทบอไลต์ของมัน / ขณะที่ NAFLD มักเกี่ยวข้องกับภาวะดื้อต่ออินซูลินและการอักเสบเรื้อรัง
- การรักษา: การรักษา AFLD เน้นที่การหยุดดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด /ในขณะที่ NAFLD เน้นการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต การควบคุมน้ำหนัก และการจัดการโรคร่วมต่างๆ
- การพยากรณ์โรค: AFLD มีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปเป็นตับแข็งได้เร็วกว่า NAFLD หากวัยทองที่ป่วยยังคงดื่มแอลกอฮอล์ต่อไป
ไขมันพอกตับจากสาเหตุอื่นๆ
นอกจากสองประเภทหลักข้างต้นแล้ว ยังมีไขมันพอกตับที่เกิดจากสาเหตุรองได้อีกด้วย และวัยทองทำควรทำความเข้าใจเพิ่มเติม โดยมีแยกย่อย ดังนี้
- ยาและสารพิษ ยาบางชนิด เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาต้านไวรัส ยาเคมีบำบัด หรือสารพิษบางอย่าง สามารถทำให้เกิดไขมันพอกตับได้
- โรคทางเมตาบอลิซึม เช่น โรค Wilson’s disease (มีการสะสมของทองแดงในตับ), โรคเก็บสะสมไกลโคเจน (Glycogen storage disease), ภาวะขาดโปรตีนพลังงาน (Protein-calorie malnutrition)
- ภาวะทางพันธุกรรม เช่น Abetalipoproteinemia (ความผิดปกติในการขนส่งไขมัน) หรือ Familial hypobetalipoproteinemia
- ภาวะทางฮอร์โม เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ, โรค Cushing’s syndrome, หรือภาวะพร่องฮอร์โมนเพศ
- โรคตับอักเสบจากไวรัส การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ โดยเฉพาะไวรัสตับอักเสบซี อาจทำให้เกิดการสะสมของไขมันในตับได้
การตรวจคัดกรองไขมันพอกตับ จึงควรเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสุขภาพประจำปีของวัยทอง โดยเฉพาะในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น มีโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือมีประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้สามารถตรวจพบและเริ่มการรักษาตั้งแต่ระยะแรก ก่อนที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่ไม่สามารถย้อนกลับได้
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของไขมันพอกตับในวัยทอง
“ไขมันพอกตับ” เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในวัยทอง โดยมีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่หลากหลาย การเข้าใจถึงปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้คุณผู้อ่านและวัยทองสามารถป้องกันและจัดการกับภาวะนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัย
1. การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน
เมื่อเข้าสู่ “วัยทอง” ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนอย่างมีนัยสำคัญ
- ในผู้หญิง การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนในช่วงวัยหมดประจำเดือนส่งผลให้การกระจายตัวของไขมันในร่างกายเปลี่ยนแปลง โดยมีการสะสมไขมันบริเวณช่องท้องและอวัยวะภายในมากขึ้นรวมถึงตับ นอกจากนี้เอสโตรเจนยังมีคุณสมบัติในการป้องกันการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระ เมื่อระดับฮอร์โมนนี้ลดลง จึงทำให้ตับมีความเสี่ยงต่อการอักเสบและถูกทำลายได้ง่ายขึ้น
- ในผู้ชาย: ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนที่ลดลงในวัยทองส่งผลให้มวลกล้ามเนื้อลดลง ขณะที่มีการสะสมไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเกิดไขมันพอกตับ
2. การเผาผลาญที่ช้าลง
อัตราการเผาผลาญพื้นฐานเมื่อเข้าสู่วัยทอง จะลดลงประมาณ 1 – 2% หลังอายุ 30 ปี ส่งผลให้
- ร่างกายใช้พลังงานน้อยลง แม้จะทำกิจกรรมเท่าเดิม
- หากยังบริโภคอาหารในปริมาณเท่าเดิม จะเกิดพลังงานส่วนเกินที่กลายเป็นไขมันสะสมในร่างกายและตับ
- กระบวนการเผาผลาญไขมันในตับมีประสิทธิภาพลดลง ทำให้เกิดการสะสมไขมันได้ง่ายขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงทางเมตาบอลิซึม
1. โรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน
น้ำหนักตัวของวัยทองที่เพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดของไขมันพอกตับประเภท NAFLD โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยทอง
- วัยทองที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 30 มีความเสี่ยงต่อการเกิดไขมันพอกตับสูงกว่าคนปกติถึง 5 – 6 เท่า
- การมีไขมันสะสมที่หน้าท้อง ซึ่งวัดได้จากเส้นรอบเอวที่มากกว่า 90 ซม. ในผู้ชายวัยทอง หรือมากกว่า 80 ซม. ในผู้หญิงวัยทอง มีความสัมพันธ์อย่างมากกับการเกิดไขมันพอกตับ
- ไขมันในช่องท้องจะหลั่งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ และฮอร์โมนที่ส่งผลกระทบต่อความไวของอินซูลิน
2. ภาวะดื้อต่ออินซูลินและเบาหวานชนิดที่ 2
วัยทองมักมีภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น…
- เมื่อเซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินน้อยลง ทำให้ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดของวัยทองสูงขึ้น
- ภาวะนี้ทำให้มีการขนส่งกรดไขมันอิสระจากไขมันในร่างกายไปยังตับมากขึ้น
- ตับจะสร้างไขมันเพิ่มขึ้นและเกิดการสะสมไขมันในตับมากขึ้น
- วัยทองที่ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีความชุกของไขมันพอกตับสูงถึง 60 – 70%
3. ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
ระดับไขมันในเลือดที่ผิดปกติ ซึ่งพบบ่อยในวัยทอง มีความสัมพันธ์กับไขมันพอกตับเช่นกัน
- ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง (มากกว่า 150 mg/dL)
- ระดับคอเลสเตอรอล HDL ต่ำ
– น้อยกว่า 40 mg/dL ในผู้ชายวัยทอง หรือ
– น้อยกว่า 50 mg/dL ในผู้หญิงวัยทอง
- ระดับคอเลสเตอรอล LDL สูง (มากกว่า 130 mg/dL)
4. กลุ่มอาการเมตาบอลิก
กลุ่มอาการเมตาบอลิกพบได้บ่อยในวัยทอง มีความสัมพันธ์อย่างมากกับไขมันพอกตับ โดยมีองค์ประกอบหลัก 3 จาก 5 ข้อต่อไปนี้
- รอบเอวมากกว่า 90 ซม. ในผู้ชาย / หรือมากกว่า 80 ซม. ในผู้หญิง
- ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดมากกว่า 150 mg/dL
- ระดับ HDL ต่ำกว่า 40 mg/dL ในผู้ชาย / หรือต่ำกว่า 50 mg/dL ในผู้หญิง
- ความดันโลหิตสูงกว่า 130/85 mmHg
- ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารมากกว่า 100 mg/dL
ปัจจัยด้านพฤติกรรมและการดำเนินชีวิต
1. การบริโภคอาหาร
รูปแบบการรับประทานอาหารมีผลอย่างมากต่อการเกิดไขมันพอกตับในวัยทอง
- อาหารที่มีน้ำตาลสูง การบริโภคเครื่องดื่มที่มีรสหวานและอาหารที่มีน้ำตาลสูงเพิ่มความเสี่ยงต่อไขมันพอกตับ เนื่องจากน้ำตาลฟรุกโตสจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันในตับโดยตรง
- อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารทอด และอาหารแปรรูปที่มีไขมันทรานส์สูง เพิ่มความเสี่ยงต่อการสะสมไขมันในตับ วัยทองควรระวัง
- อาหารประเภทแป้งขัดขาว อาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูง เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ตับต้องสร้างไขมันเพิ่มขึ้น
- ขาดอาหารที่มีประโยชน์ต่อตับ การรับประทานผักผลไม้น้อย ทำให้ร่างกายของวัยทองขาดสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินที่จำเป็นสำหรับการทำงานของตับ
2. การดื่มแอลกอฮอล์
คุณผู้อ่านทราบหรือไม่ว่าแอลกอฮอล์มีผลโดยตรงต่อการเกิดไขมันพอกตับ วัยทองท่านใดที่สามารถเลิกแอลกอฮอล์ได้แนะนำอย่างยิ่ง 11:01/68
- แม้จะดื่มในปริมาณที่ไม่ถือว่าเข้าข่าย AFLD (น้อยกว่า 20 กรัมต่อวันในผู้หญิง / หรือน้อยกว่า 30 กรัมต่อวันในผู้ชาย) แต่ก็ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด NAFLD
- ในวัยทองความสามารถในการเผาผลาญแอลกอฮอล์ลดลง ทำให้ตับได้รับผลกระทบจากแอลกอฮอล์มากขึ้นแม้จะดื่มในปริมาณเท่าเดิม
- การดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับการมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น โรคอ้วน หรือเบาหวาน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดตับอักเสบและตับแข็งในอนาคต
3. การมีกิจกรรมทางกายน้อย
การขาดการออกกำลังกาย เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงสำคัญของไขมันพอกตับในวัยทอง โดยเฉพาะเมื่อยุคปัจจุบันที่มีสถานการณ์อื่นๆ เข้ามาเป็นปัจจัยจนเกิดการเลือกเวลาในการออกกำลังกายของวัยทอง 12:01/68 ก่อนลงเอยไม่ไปออกกำลังกายนั้นเอง
- วัยทองมักมีกิจวัตรประจำวันที่ใช้พลังงานน้อยลง ทั้งจากการทำงานและกิจกรรมยามว่าง
- การนั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ส่งผลให้การเผาผลาญไขมันลดลง
- การขาดการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ ทำให้มวลกล้ามเนื้อลดลง ซึ่งส่งผลให้การใช้พลังงานพื้นฐานลดลงด้วย
ปัจจัยทางพันธุกรรม
1. พันธุกรรม
พันธุกรรมมีบทบาทสำคัญในการเกิดไขมันพอกตับได้เช่นเดียวกัน
- วัยทองผู้ที่มีประวัติครอบครัว เป็นไขมันพอกตับมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป
- การกลายพันธุ์ของยีน PNPLA3 และ TM6SF2 เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดไขมันพอกตับและการดำเนินโรคที่รุนแรงขึ้น
- ความแตกต่างทางพันธุกรรมสามารถอธิบายได้ว่า ทำไมวัยทองบางท่านที่มีน้ำหนักปกติจึงเกิดไขมันพอกตับได้
2. เชื้อชาติและเพศ
- ชาวเอเชีย มีความเสี่ยงต่อการเกิดไขมันพอกตับสูงกว่าชาวตะวันตก แม้จะมีดัชนีมวลกายที่ต่ำกว่า
- ผู้ชายวัยทอง มีความเสี่ยงต่อการเกิดไขมันพอกตับสูงกว่าผู้หญิงในช่วงก่อนวัยหมดประจำเดือน
- หลังจากวัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงวัยทองมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งมีคุณสมบัติป้องกันตับ
สิ่งแวดล้อมและมลพิษ
1. สารพิษในสิ่งแวดล้อม
หากวัยทองท่านใด มีการสัมผัสสารพิษจากสิ่งแวดล้อมอยู่สม่ำเสมอ ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อไขมันพอกตับได้เช่นกัน
- สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การสัมผัสสารเคมีเหล่านี้เป็นเวลานานอาจส่งผลต่อการทำงานของตับ
- สารอนุพันธ์พีวีซี ที่พบในพลาสติกบางประเภทอาจรบกวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อและการเผาผลาญไขมัน
- โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท และแคดเมียม สามารถสะสมในร่างกายของวัยทองและส่งผลต่อการทำงานของตับ
- มลพิษทางอากาศ การสัมผัส ฝุ่น PM 2.5 06:02/68 เป็นเวลานานมีความสัมพันธ์กับการอักเสบเรื้อรังและโรคตับ
2. การสูบบุหรี่
การสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับไขมันพอกตับในวัยทอง
- สารพิษในบุหรี่ สามารถเพิ่มความเครียดออกซิเดทีฟ และการอักเสบในตับ
- การสูบบุหรี่เ พิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของไขมันพอกตับ
- ผู้ที่สูบบุหรี่และมีไขมันพอกตับมีความเสี่ยงสูงต่อการพัฒนาเป็นตับแข็งและมะเร็งตับ
อาการของโรคไขมันพอกตับที่วัยทองควรสังเกต
โรค “ไขมันพอกตับ” เป็นภัยเงียบที่มักไม่แสดงอาการชัดเจนในระยะเริ่มต้น โดยเฉพาะในวัยทอง ซึ่งอาจทำให้หลายคนละเลยและไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที ในระยะแรกของโรค ตับที่มีไขมันสะสม อาจทำงานได้เกือบปกติและไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติที่สังเกตได้ง่าย
อาการเริ่มต้นที่มักพบ
- ความอ่อนเพลียเรื้อรัง ผู้ป่วยวัยทองที่เป็นไขมันพอกตับมักจะรู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย แม้จะพักผ่อนเพียงพอ เนื่องจากตับที่ทำงานหนักต้องใช้พลังงานมากขึ้นในการเผาผลาญไขมันส่วนเกิน ในวัยทองที่ร่างกายเริ่มเสื่อมถอยอยู่แล้ว อาการเหนื่อยล้าอาจรุนแรงและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก
- ปวดบริเวณชายโครงด้านขวา วัยทองจะรู้สึกอาการปวด หรือรู้สึกไม่สบายบริเวณใต้ชายโครงด้านขวา เกิดจากตับที่มีขนาดโตขึ้นเนื่องจากการสะสมของไขมันไปกดเบียดอวัยวะข้างเคียง ความรู้สึกปวดอาจเป็นแบบตื้อๆ หรือรู้สึกตึงๆ บริเวณช่องท้องส่วนบนด้านขวา
- คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร เมื่อตับทำงานผิดปกติ การย่อยอาหารและการดูดซึมสารอาหารจะไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้วัยทองเกิดอาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร หรืออาเจียนได้ ในวัยทองที่มีการเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินอาหารอยู่แล้ว อาการเหล่านี้อาจทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารได้ง่าย
- ท้องอืด แน่นท้อง การที่ตับมีขนาดโตขึ้นและการทำงานของน้ำดีที่ผิดปกติ อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด แน่นท้อง โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ในกรณีที่ไขมันพอกตับรุนแรงขึ้น การทำงานของตับที่บกพร่องอาจส่งผลให้น้ำหนักลดลงโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้อย่างเต็มที่
อาการในระยะที่โรครุนแรงขึ้น
เมื่อโรคไขมันพอกตับดำเนินไปสู่การอักเสบของตับ (NASH) หรือตับแข็ง วัยทองอาจมีอาการต่อไปนี้ที่จะปรากฏชัดเจนขึ้น
- ตัวเหลือง ตาเหลือง (ภาวะดีซ่าน) เมื่อตับไม่สามารถกำจัดบิลิรูบิน (สารสีเหลืองที่เกิดจากการสลายของเม็ดเลือดแดง) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้บิลิรูบินสะสมในร่างกายและผิวหนัง ทำให้วัยทองมีผิวและตาขาวมีสีเหลือง
- ท้องมาน (Ascites) ในระยะตับแข็งอาจมีการคั่งของของเหลวในช่องท้อง ทำให้วัยทองมีท้องโตผิดปกติ รู้สึกหนัก และอึดอัด อาการนี้อาจทำให้เคลื่อนไหวลำบากและเพิ่มความเสี่ยงต่อการหกล้ม
- บวมที่ขาและเท้า การทำงานของตับที่บกพร่องทำให้การสร้างโปรตีนในเลือด เช่น อัลบูมิน ลดลง ส่งผลให้เกิดการคั่งของน้ำในเนื้อเยื่อ โดยเฉพาะบริเวณเท้าและข้อเท้าของวัยทอง
- เส้นเลือดขอดที่หน้าท้อง ในระยะตับแข็งเลือดที่ไหลกลับสู่หัวใจจะถูกกีดขวาง ทำให้เลือดต้องไหลผ่านเส้นเลือดสำรองบริเวณหน้าท้อง จึงเห็นเส้นเลือดใต้ผิวหนังโป่งพองชัดเจนของวัยทอง
- จ้ำเลือดง่าย ตับมีบทบาทสำคัญในการสร้างปัจจัยการแข็งตัวของเลือด เมื่อตับทำงานบกพร่อง จะทำให้เกิดจ้ำเลือดได้ง่าย แม้จากการกระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อย
- อาการทางระบบประสาท ในระยะรุนแรง สารพิษที่ตับไม่สามารถกำจัดได้จะสะสมในกระแสเลือดและส่งผลกระทบต่อสมอง ทำให้วัยทองเกิดอาการสับสน ความจำเสื่อม มือสั่น นอนไม่หลับ หรือซึมลง ภาวะนี้เรียกว่า ภาวะสมองเสื่อมจากตับ
- เลือดออกง่ายผิดปกติ เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน หรือประจำเดือนมามากผิดปกติในผู้หญิง เนื่องจากการสร้างปัจจัยการแข็งตัวของเลือดที่ผิดปกติ
อาการที่มักพบร่วมกับโรคอื่นในวัยทอง
ไขมันพอกตับมักพบร่วมกับโรคเรื้อรังอื่นๆ ในวัยทอง ซึ่งอาจมีอาการดังนี้
- น้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยวัยทองที่เป็นไขมันพอกตับ มักมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้มีอาการของน้ำตาลในเลือดสูง เช่น ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ หิวบ่อย และน้ำหนักลด
- ความดันโลหิตสูง อาจมีอาการปวดศีรษะ มึนงง หรือเลือดกำเดาไหล โดยเฉพาะในช่วงเช้า
- ระดับไขมันในเลือดสูง ไม่มีอาการเฉพาะ แต่มักตรวจพบจากการตรวจเลือดประจำปี
- ภาวะอ้วนลงพุง พบว่าผู้ที่มีไขมันสะสมบริเวณช่องท้อง (ลงพุง) มีความเสี่ยงต่อการเกิดไขมันพอกตับสูงกว่าคนทั่วไป
โรค “ไขมันพอกตับ” เป็นภัยเงียบที่อาจไม่แสดงอาการชัดเจนในระยะเริ่มต้น อาการของโรคมักไม่จำเพาะและอาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นอาการจากความเครียดหรือความเหนื่อยล้าทั่วไป การสังเกตอาการผิดปกติ เช่น อ่อนเพลียเรื้อรัง ปวดใต้ชายโครงขวา และความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร ร่วมกับการตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้วัยทองสามารถตรวจพบโรคได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งจะนำไปสู่การดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงในอนาคต
ภาวะแทรกซ้อนและอันตรายของไขมันพอกตับ
1. การพัฒนาไปสู่ตับอักเสบ
ในระยะแรก…ไขมันพอกตับอาจเป็นเพียงการสะสมของไขมันในเซลล์ตับโดยไม่มีการอักเสบ แต่หากวัยทองปล่อยไว้และไม่ได้รับการรักษา อาจพัฒนาไปสู่ภาวะตับอักเสบได้ ทั้งในรูปแบบของ NASH (Non-Alcoholic Steatohepatitis) หรือ Alcoholic Hepatitis ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดโรค
การอักเสบของตับจะก่อให้เกิดการทำลายเซลล์ตับอย่างต่อเนื่อง และกระตุ้นกระบวนการซ่อมแซมที่ไม่สมบูรณ์นำไปสู่การสร้างพังผืดในตับ โดยพบว่าผู้ป่วยไขมันพอกตับที่เข้าสู่วัยทองมีความเสี่ยงต่อการพัฒนาไปสู่ตับอักเสบสูงถึง 20 – 30% โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะอ้วนลงพุงหรือเป็นเบาหวาน
2. พังผืดในตับ
เมื่อตับอักเสบดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง กระบวนการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อตับจะเกิดขึ้นในรูปแบบที่ผิดปกตินำไปสู่การสร้างพังผืด ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่แข็งและไม่สามารถทำหน้าที่ได้เหมือนเนื้อตับปกติ
การเกิดพังผืดในตับสามารถแบ่งระดับความรุนแรงได้ตั้งแต่ระดับ 1 – 4 โดยระดับ 4 หมายถึงตับแข็ง ซึ่งในวัยทองอัตราการเกิดพังผืดในตับมีแนวโน้มสูงขึ้น และพัฒนาได้เร็วกว่าในวัยอื่น เนื่องจากความสามารถในการฟื้นฟูของตับลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น
3. ตับแข็ง
ตับแข็ง เป็นระยะสุดท้ายของโรคตับเรื้อรัง เกิดจากการที่พังผืดในตับแพร่กระจายไปทั่วทั้งตับ ทำให้โครงสร้างของตับผิดรูปไปอย่างถาวร เซลล์ตับปกติถูกแทนที่ด้วยเนื้อเยื่อพังผืด ส่งผลให้ตับไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
ผู้ป่วยไขมันพอกตับในวัยทองที่พัฒนาไปเป็น NASH มีความเสี่ยงที่จะเกิดตับแข็งประมาณ 20 – 30% ภายในระยะเวลา 10 ปี โดยในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50 ปี ความเสี่ยงนี้จะเพิ่มสูงมากขึ้นถึง 30 – 40% เลยทีเดียว
4. มะเร็งตับ
ผู้ป่วยที่มีไขมันพอกตับที่พัฒนาไปเป็นตับแข็ง มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับสูงถึง 1 – 4% ต่อปี นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่าผู้ป่วย NASH อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับได้แม้ยังไม่เกิดภาวะตับแข็ง โดยเฉพาะในผู้ป่วยวัยทองและผู้สูงอายุ
การอักเสบเรื้อรังในตับจะกระตุ้นให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์ตับ และเมื่อรวมกับความเสียหายของดีเอ็นเอจากภาวะ Oxidative stress ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการเกิดมะเร็งตับได้
5. ความล้มเหลวของตับ
ในกรณีที่รุนแรง…ไขมันพอกตับที่พัฒนาไปเป็นตับแข็งอาจนำไปสู่ภาวะตับวายได้ โดยเฉพาะเมื่อมีปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ เช่น การติดเชื้อ การได้รับสารพิษ หรือการใช้ยาบางชนิด
หากคุณผู้อ่านไม่เคยทราบภาวะตับวายในผู้ป่วยวัยทองมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 60 – 80% เมื่อไม่ได้รับการรักษาด้วยการปลูกถ่ายตับ และโอกาสในการได้รับการปลูกถ่ายตับมักมีข้อจำกัดมากขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ
ผลกระทบต่อระบบอื่นๆ ของร่างกาย
1. ระบบหัวใจและหลอดเลือด
“ไขมันพอกตับ” โดยเฉพาะ NAFLD มีความสัมพันธ์อย่างมากกับความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยวัยทองที่เป็นไขมันพอกตับมีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าคนทั่วไปถึง 2 – 3 เท่า จากโรคหัวใจและหลอดเลือดสูง 04:04/68
- การเพิ่มขึ้นของสารอักเสบในร่างกาย
- ภาวะดื้อต่ออินซูลินซึ่งส่งผลเสียต่อหลอดเลือด
- ความผิดปกติของไขมันในเลือด โดยเฉพาะระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงขึ้นและ HDL ที่ลดลง
- การเพิ่มขึ้นของภาวะลิ่มเลือดอุดตัน
ในวัยทองซึ่งมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว การมีไขมันพอกตับร่วมด้วยจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงนี้อย่างทวีคูณ
2. โรคไตเรื้อรัง 07:02/68
มีการศึกษาพบว่าผู้ป่วยวัยทองที่มีไขมันพอกตับมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังสูงกว่าคนทั่วไป 1.5 – 2 เท่า โดยความสัมพันธ์นี้สูงขึ้นตามความรุนแรงของไขมันพอกตับและพังผืดในตับ โดยมีกลไกที่เชื่อมโยงระหว่างไขมันพอกตับกับโรคไตเรื้อรัง ได้แก่…
- ภาวะดื้อต่ออินซูลินซึ่งส่งผลเสียต่อไต
- การอักเสบทั่วร่างกาย
- ภาวะออกซิเดทีฟสเตรส
- ความผิดปกติของ renin-angiotensin system
3. โรคเบาหวานชนิดที่ 2
คุณผู้อ่านทราบหรือไม่ว่า…ไขมันพอกตับและเบาหวานชนิดที่ 2 มีความสัมพันธ์แบบสองทาง กล่าวคือ วัยทองที่เป็นเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการเกิดไขมันพอกตับ ขณะเดียวกันวัยทองที่มีไขมันพอกตับ แต่ยังไม่เป็นเบาหวานก็มีความเสี่ยงสูงที่จะพัฒนาเป็นเบาหวานได้ในอนาคต
4. ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
นอกจากนี้ ไขมันพอกตับยังอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้แก่
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ พบความสัมพันธ์ระหว่างไขมันพอกตับกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โดยเฉพาะในวัยทอและผู้ที่มีภาวะอ้วน
- โรคทางเดินน้ำดี มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี
- ภาวะ Sarcopenia เป็นภาวะมวลกล้ามเนื้อลดลงผิดปกติ พบบ่อยในผู้ป่วยไขมันพอกตับวัยทอง และทำให้พยากรณ์โรคแย่ลง
- ภาวะกระดูกพรุน ผู้ป่วย NAFLD มีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกพรุนสูงกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยทอง
- โรคซึมเศร้า พบความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยไขมันพอกตับสูงกว่าประชากรทั่วไป
ป้องกัน “ไขมันพอกตับ” ง่ายๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของวัยทอง
ไขมันพอกตับ เป็นภาวะที่สามารถป้องกันและฟื้นฟูได้โดยเฉพาะในระยะแรก การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของวัยทอง ถือเป็นแนวทางหลักในการป้องกันและรักษาภาวะนี้ ด้วยพื้นฐานของร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัย ทั้งการเผาผลาญที่ช้าลง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังที่เพิ่มขึ้น
ลองมาดูกันว่าวิธีการไหน…จะช่วยฟื้นฟูตับของวัยทองได้เป็นอย่างดี
การควบคุมน้ำหนักและการลดไขมันในร่างกาย
การลดน้ำหนัก เป็นวิธีการป้องกันและรักษาไขมันพอกตับที่ได้ผลดีที่สุด โดยเฉพาะในวัยทองที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน การลดน้ำหนักเพียง 5 – 10% ของน้ำหนักตัวเดิมสามารถช่วยลดปริมาณไขมันในตับได้อย่างมีนัยสำคัญ และยังช่วยปรับปรุงความไวต่ออินซูลิน ลดการอักเสบ และบรรเทาอาการต่างๆ ของโรคได้
- การลดน้ำหนักร้อยละ 3 – 5% ของน้ำหนักตัวสามารถลดไขมันในตับได้อย่างมีนัยสำคัญ
- การลดน้ำหนักร้อยละ 7 – 10% สามารถลดการอักเสบในตับและเริ่มฟื้นฟูเนื้อเยื่อตับที่เสียหาย
สำหรับวัยทองควรเน้นการลดน้ำหนักอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลีกเลี่ยงการอดอาหารหรือลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอาจส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อและมวลกระดูก ซึ่งมีแนวโน้มลดลงอยู่แล้วในวัยนี้ เป้าหมายที่เหมาะสมคือการลดน้ำหนัก 0.5 – 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
1. ลดการบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลสูง
น้ำตาลโดยเฉพาะฟรุกโตส (fructose) เป็นสาเหตุสำคัญของการสะสมไขมันในตับ วัยทองควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง น้ำอัดลม น้ำผลไม้ที่มีการเติมน้ำตาล ขนมหวาน และอาหารแปรรูปที่มีน้ำตาลสูง โดยในวัยทองความไวต่ออินซูลินลดลง ทำให้การบริโภคน้ำตาลมากเกินไปส่งผลเสียต่อตับมากกว่าในวัยหนุ่มสาว
โดยวัยทองควรหันเปลี่ยนมาเลือกเป็นกลุ่มผลไม้ที่อุดมด้วยวิตามินซี เช่น ส้ม กีวี สตรอเบอร์รี่ ช่วยกระตุ้นการสร้างกลูตาไธโอน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยในการขจัดสารพิษของตับ ผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง เช่น บลูเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ ช่วยลดการอักเสบและป้องกันความเสียหายของเซลล์ตับ
2. จำกัดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์
วัยทองควรลดการบริโภคเนื้อสัตว์ติดมัน อาหารทอด ขนมอบ และอาหารแปรรูปที่มีไขมันทรานส์สูง ไขมันเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงต่อการสะสมไขมันในตับและเพิ่มการอักเสบในร่างกาย ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการพัฒนาจากภาวะไขมันพอกตับไปสู่ตับอักเสบ
โดยวัยทองควรเลือกทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เช่น อกไก่ เนื้อปลา ไข่ขาว ช่วยซ่อมแซมเซลล์ตับและเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน แหล่งโปรตีนจากพืช 05:02/68 เช่น ถั่วเหลือง เต้าหู้ ถั่วลันเตา ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ ยังมีใยอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์ต่อตับ ควรบริโภคโปรตีน 0.8 – 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
3. เพิ่มการบริโภคไฟเบอร์
ไฟเบอร์ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ลดการดูดซึมไขมัน และส่งเสริมการขับถ่ายที่ดีให้แก่วัยทอง ควรบริโภคอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี และถั่วต่างๆ โดยวัยทองมักมีปัญหาท้องผูก การเพิ่มไฟเบอร์จึงมีประโยชน์ในหลายด้าน แนะนำให้ได้รับไฟเบอร์อย่างน้อย 25 – 30 กรัมต่อวัน
โดยแนะนำกลุ่มผักใบเขียว เช่น ผักคะน้า ผักโขม ผักบุ้ง มีคลอโรฟิลล์ที่ช่วยในการขับสารพิษออกจากร่างกาย นอกจากนี้ผักที่มีสีสันต่างๆ เช่น แครอท มะเขือเทศ พริกหวาน มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง ซึ่งช่วยปกป้องเซลล์ตับจากความเสียหาย
และในกลุ่มธัญพืชไม่ขัดสี อาทิ ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ขนมปังโฮลเกรน มีใยอาหารสูง ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และอุดมด้วยวิตามินบีที่สำคัญต่อการทำงานของตับ
4. เลือกแหล่งไขมันดี
วัยทองควรเลือกบริโภคไขมันไม่อิ่มตัวจากน้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว ปลาทะเล อโวคาโด และถั่วต่างๆ ไขมันเหล่านี้มีคุณสมบัติต้านการอักเสบและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพตับ โดยเฉพาะกรดไขมันโอเมก้า-3 จากปลาทะเลช่วยลดการอักเสบและไขมันในตับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยวัยทองสามารถหาได้จากปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ช่วยลดระดับไขมันในตับ และป้องกันการเกิดพังผืดในตับ วัยทองควรรับประทานปลาอย่างน้อย 2 – 3 มื้อต่อสัปดาห์
5. จำกัดการบริโภคแอลกอฮอล์
แอลกอฮอล์เป็นพิษต่อตับโดยตรง สำหรับวัยทองและผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับอยู่แล้ว ควรงดการดื่มแอลกอฮอล์โดยสิ้นเชิง สำหรับผู้ที่ยังไม่มีภาวะนี้เราขอดีใจกับคุณด้วยและควรจำกัดการดื่มให้อยู่ในระดับปลอดภัย คือไม่เกิน 1 ดื่มต่อวันสำหรับผู้หญิง และไม่เกิน 2 ดื่มต่อวันสำหรับผู้ชาย (1 ดื่มมาตรฐาน = เบียร์ 330 มล. หรือไวน์ 150 มล. หรือสุรา 45 มล.)
- ผู้ที่เป็นไขมันพอกตับจากแอลกอฮอล์ (AFLD) ต้องหยุดดื่มโดยสิ้นเชิง
- สำหรับผู้ที่เป็นไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (NAFLD) การดื่มแอลกอฮอล์แม้เพียงเล็กน้อยก็อาจเร่งการดำเนินโรคให้รุนแรงขึ้น จึงควรงดหรือจำกัดปริมาณให้น้อยที่สุด
6. การจัดสรรมื้ออาหาร
วัยทองควรรับประทานอาหารเป็นเวลาและหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อดึก เนื่องจากจะทำให้ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดการสะสมของไขมันในตับมากขึ้น การแบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อเล็กๆ หลายมื้อ (4 – 6 มื้อต่อวัน) อาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดความเครียดของตับได้
การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยทอง
อย่างที่เราเขียนแนะนำคุณผู้อ่านไปก่อนหน้านี้ว่าการออกกำลังกาย เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการป้องกันและรักษาไขมันพอกตับ โดยช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน ลดไขมันในร่างกาย และเพิ่มความไวต่ออินซูลินของวัยทองได้เป็นอย่างดี
ลองมาดูกันว่าคุณผู้อ่านสามารถออกกำลังกายแบบใดได้บ้าง ใครที่ทำอยู่แล้วก็ขอให้คุณทำต่อไปได้เลย!
1. การออกกำลังกายแบบแอโรบิก
วัยทองควรออกกำลังกายแบบแอโรบิกที่มีความหนักระดับปานกลาง เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน หรือเต้นแอโรบิกอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือประมาณ 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ การออกกำลังกายแบบแอโรบิกช่วยลดไขมันในตับได้โดยตรง แม้จะยังไม่มีการลดน้ำหนักที่ชัดเจน
สำหรับวัยทองควรเลือกการออกกำลังกายที่ไม่กระแทกข้อมากเกินไป และค่อยๆ เพิ่มความหนักและระยะเวลาตามความเหมาะสมของร่างกาย
2. การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
การฝึกด้วยน้ำหนัก หรือแรงต้าน 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์สำหรับวัยทอง จะช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ซึ่งจะเพิ่มอัตราการเผาผลาญพื้นฐานของร่างกาย ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และลดไขมันในตับ การเพิ่มมวลกล้ามเนื้อมีความสำคัญอย่างยิ่งในวัยทอง เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายเริ่มสูญเสียมวลกล้ามเนื้อตามธรรมชาติ
3. การฝึกความยืดหยุ่นและสมดุล
การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ โยคะ หรือไทชิ สามารถช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับวัยทอง และลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ ส่งเสริมการไหลเวียนเลือด ซึ่งช่วยให้ตับได้รับสารอาหารและออกซิเจนที่เพียงพอ นอกจากนี้…ยังช่วยลดความเครียด ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพตับโดยรวม
4. การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง
วัยทองท่านใดที่ชอบการนั่งหรือนอนเป็นเวลานานเกินไป ก็สามารถส่งผลเสียต่อการเผาผลาญได้ถึงแม้ว่าจะมีการออกกำลังกายเป็นประจำ คุณผู้อ่านควรลุกเดินหรือยืดเหยียดร่างกายทุก 30 – 60 นาทีที่ต้องนั่งทำงาน และพยายามเพิ่มกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน เช่น เดินขึ้นบันได ทำงานบ้าน หรือทำสวน
และเพื่อให้คุณผู้อ่านทุกท่านและวัยทองทุกคนได้เริ่มดูแลสุขภาพนับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจาก ดีเน่ DNAe ขอเป็นกำลังใจและเป็นอีกหนึ่งอาหารเสริมที่ดีต่อสุขภาพของวัยทองให้ได้รับการดูแลที่ดียิ่งขึ้น เหมือนกับเราที่ตั้งใจผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่เหมาะสมกับวัยทองทุกท่าน
ดีเน่ ฟลาโวพลัส (DNAe Flavoplus) ทางเลือกเพื่อสุขภาพวัยทองสำหรับคุณผู้หญิง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ได้รวบรวมสารสกัดธรรมชาติที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกายในหลายด้าน นอกจากจะช่วยดูแลสุขภาพตับของวัยทองแล้ว ยังช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้ในวัยทอง เช่น อาการร้อนวูบวาบ อาการนอนไม่หลับ เหงื่อออกง่ายตามมือ หรืออารมณ์แปรปรวน
- 1. สารสกัดจากถั่วเหลือง
ถั่วเหลืองอุดมไปด้วยไอโซฟลาโวน ซึ่งเป็นสารที่มีโครงสร้างคล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ช่วยบรรเทาอาการของวัยทองในสตรี เช่น อาการร้อนวูบวาบ และเหงื่อออกตอนกลางคืน
นอกจากนี้ ไอโซฟลาโวนยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งช่วยปกป้องเซลล์ตับจากความเสียหายและมีงานวิจัยบ่งชี้ว่าอาจช่วยลดการสะสมของไขมันในตับได้ โดยการปรับปรุงการเผาผลาญไขมันและลดภาวะดื้อต่ออินซูลินซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของไขมันพอกตับในวัยทอง
- 2. สารสกัดจากตังกุย
สารประกอบในตังกุยมีฤทธิ์คล้ายเอสโตรเจนอ่อนๆ ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนและบรรเทาอาการวัยหมดประจำเดือน นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการปกป้องตับ โดยช่วยลดการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระ
มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากตังกุยอาจช่วยฟื้นฟูเซลล์ตับที่ได้รับความเสียหาย และลดระดับเอนไซม์ตับที่สูงผิดปกติ ซึ่งมักพบในผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับ
- 3. สารสกัดจากแปะก๊วย
สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อไขมันพอกตับในวัยทอง แปะก๊วยช่วยปรับปรุงการไหลเวียนเลือดไปยังตับ ซึ่งอาจส่งเสริมการทำงานของตับให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้สารต้านอนุมูลอิสระในแปะก๊วยยังช่วยลดการอักเสบและความเครียดออกซิเดชัน ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการเกิดและการดำเนินของโรคไขมันพอกตับ
- 4. สารสกัดจากงาดำ
กรดไขมันไม่อิ่มตัวในงาดำช่วยลดการอักเสบและปรับปรุงความไวต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรงในการป้องกันและจัดการกับภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (NAFLD) ที่พบบ่อยในวัยทอง นอกจากนี้งาดำยังช่วยลดระดับไขมันในเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของไขมันพอกตับอีกด้วย
- 5. ออร์แกนิค แครนเบอร์รี่
แครนเบอร์รี่ช่วยลดการอักเสบและความเครียดออกซิเดชันที่เกิดขึ้นในเซลล์ตับ นอกจากนี้สารสกัดจากแครนเบอร์รี่ยังช่วยในการขับสารพิษออกจากร่างกาย สนับสนุนการทำงานของตับในการกำจัดของเสียและสารพิษต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในวัยทองที่ความสามารถในการขจัดสารพิษของตับมีแนวโน้มลดลง
- 6. อินูลิน พรีไบโอติก
จุลินทรีย์ในลำไส้มีความสัมพันธ์โดยตรงกับสุขภาพตับ โดยเฉพาะในภาวะไขมันพอกตับ การมีสมดุลที่ดีของจุลินทรีย์ในลำไส้ช่วยลดการอักเสบ ปรับปรุงการเผาผลาญไขมัน และลดความเสี่ยงของไขมันพอกตับ นอกจากนี้เส้นใยอาหารยังช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดระดับคอเลสเตอรอล ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับในวัยทอง
*ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
และ ดีเน่ แอนโดรพลัส (DNAe Androplus) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ออกแบบมาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะของร่างกายในช่วงวัยทองของคุณผู้ชาย โดยเฉพาะการทำงานของตับซึ่งเป็นอวัยวะหลักในการเผาผลาญและกำจัดสารพิษต่างๆ ด้วยส่วนประกอบสารสกัดจากธรรมชาติสำคัญหลายชนิดที่อาจช่วยสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของผู้ที่อยู่ในวัยทอง โดยเฉพาะในแง่ของการดูแลตับและป้องกันไขมันพอกตับ อาทิ
- 1. สารสกัดจากโสมเกาหลี
- คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องเซลล์ตับจากความเสียหายที่เกิดจากออกซิเดชัน ซึ่งเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญของการเกิดไขมันพอกตับ
- ลดการอักเสบ เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้ไขมันพอกตับลุกลามเป็นตับอักเสบ โสมเกาหลีช่วยลดการหลั่งสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบ ซึ่งอาจช่วยชะลอการดำเนินของโรค
- ปรับปรุงการตอบสนองต่ออินซูลิน ปัจจัยเสี่ยงสำคัญของไขมันพอกตับในวัยทอง การศึกษาพบว่าโสมเกาหลีอาจช่วยเพิ่มความไวต่ออินซูลิน จึงอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและลดการสะสมของไขมันในตับ
- 2. สารสกัดจากฟีนูกรีก
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยปรับปรุงการตอบสนองต่ออินซูลิน และชะลอการดูดซึมน้ำตาลในลำไส้ ซึ่งช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดหลังอาหาร
- ลดระดับไขมันในเลือด สามารถลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของไขมันพอกตับ
- คุณสมบัติต้านการอักเสบ ฟีนูกรีกมีสารต้านการอักเสบที่อาจช่วยลดการอักเสบของเซลล์ตับในผู้ที่มีไขมันพอกตับ
- 3. แอล อาร์จีนีน
- เพิ่มการไหลเวียนเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนไปยังตับได้ดีขึ้น นำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์ตับได้มากขึ้น
- 4. สารสกัดกระชายดำ
- เพิ่มการไหลเวียนเลือด กระชายดำมีคุณสมบัติช่วยขยายหลอดเลือด ส่งผลให้การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงตับดีขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในวัยทองที่การไหลเวียนเลือดอาจลดลง
- สนับสนุนระบบภูมิคุ้มกัน กระชายดำช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งรวมถึงเซลล์คูปเฟอร์ในตับที่ช่วยกำจัดสิ่งแปลกปลอมและขจัดสารพิษ
- 5. ซิงค์ อะมิโน แอซิด คีเลท
- สนับสนุนการทำงานของเอนไซม์ในตับ สังกะสีเป็นส่วนประกอบสำคัญของเอนไซม์กว่า 300 ชนิดในร่างกาย รวมถึงเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญไขมันและกำจัดสารพิษในตับ
- ต้านการอักเสบและออกซิเดชัน สังกะสีมีคุณสมบัติต้านการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบในเซลล์ตับซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินของโรคไขมันพอกตับ
- สนับสนุนระบบภูมิคุ้มกัน สังกะสีช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีบทบาทในการป้องกันและซ่อมแซมความเสียหายของเซลล์ตับ
- ปรับสมดุลระดับน้ำตาลในเลือด สังกะสีมีส่วนในการควบคุมการหลั่งและการทำงานของอินซูลิน ช่วยปรับปรุงภาวะดื้อต่ออินซูลินซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของไขมันพอกตับ
- 6. สารสกัดจากแปะก๊วย
- เพิ่มการไหลเวียนเลือด แปะก๊วยมีคุณสมบัติขยายหลอดเลือดและป้องกันการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงตับได้ดีขึ้น ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในวัยทองที่การไหลเวียนเลือดไปยังตับลดลง
- คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระสูง สารสกัดจากแปะก๊วยอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ฟลาโวนอยด์และเทอร์พีนแลคโตน ที่ช่วยปกป้องเซลล์ตับจากความเสียหายที่เกิดจากออกซิเดชัน
- ลดการอักเสบ แปะก๊วยมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ช่วยลดการอักเสบในเซลล์ตับซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาจากไขมันพอกตับเป็นตับอักเสบ
- ปรับปรุงการทำงานของไมโทคอนเดรีย ไมโทคอนเดรียเป็นแหล่งผลิตพลังงานของเซลล์ ซึ่งมีการทำงานบกพร่องในผู้ที่เป็นไขมันพอกตับ สารสกัดแปะก๊วยอาจช่วยปรับปรุงการทำงานของไมโทคอนเดรียในเซลล์ตับ
- 7. สารสกัดจากงาดำ
- กรดไขมันไม่อิ่มตัว เช่น โอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 ที่มีบทบาทในการลดการอักเสบและปรับปรุงภาวะไขมันในเลือด
- สารต้านอนุมูลอิสระ: งาดำมีสารเซซามิน และเซซาโมลิน ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยปกป้องเซลล์ตับจากความเสียหาย
- แหล่งของวิตามินอีและแร่ธาตุ งาดำอุดมไปด้วยวิตามินอี แคลเซียม สังกะสี และแมกนีเซียม ซึ่งล้วนมีบทบาทในการสนับสนุนสุขภาพตับและการเผาผลาญไขมัน
- เพิ่มการขับน้ำดี สารในงาดำอาจช่วยกระตุ้นการผลิตและการหลั่งน้ำดี ซึ่งมีความสำคัญในการย่อยไขมันและการกำจัดของเสียออกจากตับ
*ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ดีเน่ ฟลาโวพลัส (DNAe Flavoplus) และ ดีเน่ แอนโดรพลัส (DNAe Androplus) เป็นทางเลือกสำหรับวัยทองที่ต้องการเสริมการป้องกันด้วยส่วนผสมจากสารสกัดธรรมชาติที่ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ตอบโจทย์ความท้าทายสองเท่าที่วัยทองต้องเผชิญทั้งจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและสภาวะแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย
คุณผู้อ่านสามารถดูแลตัวเองง่ายๆ ด้วยการทานครั้ง 1 แคปซูล หลังมื้ออาหารใดก็ตาม ตามด้วยน้ำเปล่า เพียงเท่านี้ร่างกายของคุณก็ได้รับการเสริมภูมิคุ้มกัน ทำให้วัยทองสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพแม้ในช่วงวิกฤตสิ่งแวดล้อม
สรุป
การป้องกัน “ไขมันพอกตับ” ด้วยการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ เป็นแนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับผู้ที่อยู่ในวัยทอง โดยเฉพาะการควบคุมน้ำหนัก การรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การลดความเครียด และการดูแลโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้อง
สิ่งสำคัญ คือ วัยทองต้องเข้าใจก่อนว่าการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ไม่ใช่เพียงการทำเป็นครั้งคราว แต่ต้องเป็นการปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนทีละเล็กละน้อย และค่อยๆ พัฒนาให้เป็นนิสัยในระยะยาว สำหรับผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับอยู่แล้ว การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ยังคงเป็นหัวใจสำคัญของการรักษา และหากทำอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ก็มีโอกาสที่ตับจะฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้ โดยเฉพาะในระยะแรกของโรค
ท้ายที่สุดนี้… การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม จะช่วยให้ผ่านช่วงวัยทองไปได้อย่างมีสุขภาพดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยปราศจากภัยเงียบอย่างไขมันพอกตับที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว คิดถึงสุขภาพ… คิดถึงดีเน่ DNAe