ความไม่สมดุลของฮอร์โมนในช่วงวัยหมดประจำเดือน หรือเรียกง่ายๆ ว่า “วัยทอง” กลายมาเป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาสำคัญในชีวิตของผู้หญิง โดยปกติจะเกิดขึ้นระหว่างอายุ 45 – 55 ปี รังไข่จะเริ่มหยุดปล่อยไข่ หรือไม่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนอีกต่อไป
ช่วงเวลานี้… ไม่เพียงแต่นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของผู้หญิง แต่ยังทำให้มีอาการบางอย่างที่คุณผู้อ่านบางท่านอาจได้พบเจอเพิ่มเติม เช่น อาการร้อนวูบวาบในวัยทอง อารมณ์แปรปรวน อาการนอนไม่หลับ เป็นต้น นอกจากนี้ในภาวะหลังวัยหมดประจำเดือนหรือวัยทอง ยังมีความเสี่ยงต่อโรคร้ายต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แล้วโรคร้ายที่อาจพบได้ในวัยทองมีอะไรบ้าง? แก้ได้อย่างไร? มาร่วมตามหาไปพร้อมๆ กัน
โรคร้ายที่อาจพบได้ในผู้หญิงวัยทอง
1. โรคหัวใจและหลอดเลือด
เมื่อผู้หญิงเข้าสู่ช่วงวัยทองแล้ว ระดับเอสโตรเจนก็จะเริ่มผลิตลดลงจนสุดท้ายไม่มีการผลิตออกมา ก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น และเพิ่มความเสี่ยงของการอุดตันเกิดเป็นโรคร้ายตามมา ซึ่งคุณผู้อ่านหลายท่านอาจเคยพบว่าตนเองมีอาการใจสั่น หรือภาวะหัวใจเต้นเร็ว และอาจทำให้เกิดหัวใจวายได้
สัญญาเตือนโรคร้ายที่อาจพบได้ในผู้หญิงวัยทอง
- หายใจไม่อิ่ม แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก
- ทำอะไรก็เหนื่อยง่าย
- ปวดกราม ปวดแขน ปวดไหล่
วิธีป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
เพราะการเมื่อขาดตัวช่วยที่ทำให้ผนังหลอดเลือดมีความยืดหยุ่น จึงเพิ่มความเสี่ยงของการอุตตุนจากไขมัน ดังนั้น คุณผู้อ่านที่อยู่ในวัยทองหรือกำลังก้าวเข้าสู่วัยทองควรเริ่มต้นจากการป้องกันโรคร้ายด้วยตนเองง่ายๆ คือ
- การรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ และมีประโยชน์ ลดการบริโภคอาหารที่มีไชมันอิ่มตัว อาหารทอด อาหารไขมันสูง และรับประทานอาการประเภทกากใยจากผักใบเขียวเพิ่มมากขึ้น
- หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อาจเริ่มต้นง่ายๆ จากกิจกรรมที่ชอบ เช่น การเดิน การวิ่ง การตีแบคมินตัน เป็นต้น
- งดสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์
- ควบคุมน้ำหนัก และตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันและหาทางแก้ไขได้ทันท่วงที
2. โรคกระดูกพรุน
นอกจากโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดที่เป็นโรคร้ายที่พบเจอได้แล้ว การลดระดับของฮอร์โมนยังยังทำให้มวลกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว เพิ่มโอกาสการหักของกระดูกได้ง่าย เพราะกระดูกเปราะบาง จากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งมีบทบาทสำคัญในการรักษาสุขภาพกระดูกให้ดี ทำให้เป็นอีกหนึ่งโรควัยทองโดยเฉพาะผู้หญิงมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ชายถึง 1 ใน 3 เนื่องจากร่างกายสะสมเนื้อกระดูกได้น้อยกว่า และการลดระดับของฮอร์โมนอย่างรวดเร็ว พบว่าผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนจะสูญเสียแคลเซียม 1 – 2% ต่อปีเลยทีเดียว
วิธีป้องกันโรคกระดูกพรุน โรคร้ายในผู้หญิงวัยทอง
ภาวะกระดูกพรุนที่พบเจอได้ในผู้หญิงวัยองสามารถป้องกันได้ ด้วยการสะสมมวลกระดูกให้สูงในช่วงก่อนอายุ 35 ปี ผ่านการได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน โดยเฉพาะแคลเซียมที่ช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง สามารถพบแคลเซียมได้ในแหล่งอาหาร เช่น
- ปลาแซลมอน
- โยเกิร์ต
- นมไขมันต่ำ
- งาดำ
- มะเขือเทศ
ขณะเดียวกันคุณผู้อ่านและผู้หญิงทุกๆ คน ยังสามารถเพิ่มมวลกระดูกได้ ด้วยการออกกำลังกายจากการใช้เท้าและขา หรือมือและแขนในการรับน้ำหนักของตัวเอง เช่น การเต้นแอโรบิก วิ่ง เดิน หรือการออกกำลังแบบเวทเทรนนิ่ง ให้คุณผู้อ่านมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงห่างไกลจากโรคร้าย
3. โรคเบาหวาน
อีกหนึ่งโรคฮิตที่อาจมาพร้อมกับโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะผู้หญิงวัยทองที่รักการรับประทานเป็นชีวิตจิตใจและไม่มีเวลาออกกำลังกาย
“โรคเบาหวาน” เป็นโรคร้ายที่ไม่แสดงอาการจนกว่าคุณจะไปตรวจร่างกายและพบว่ามีค่าน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ และนำพามาด้วยโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ ความดันโลหิต ไขมันในเส้นเลือด และโรคไต เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิงวัยทอง ทำให้การดูดซึมอินซูลินลดลง เพิ่มความเสี่ยงเบาหวานนั่นเอง
สัญญาเตือนโรคร้ายที่อาจพบได้ในผู้หญิงวัยทอง
- ปัสสาวะมาก และบ่อยครั้ง โดยเฉพาะตอนกลางคืน
- คอแห้ง กระหายน้ำ
- มีแผลติดเชื้อที่ผิวหนังบ่อยๆ และหายช้า
- อาการคันที่อวัยวะเพศ หรือมีอาการตกขาว
- ชาปลายมือ ปลายเท้า
- หมดความรู้สึกทางเพศ
วิธีป้องกันโรคเบาหวานที่คุณควบคุมได้ด้วยตนเอง
- เลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเลือกรับประทานผักและผลไม้ที่ไม่หวาน เช่น มะลอกะ กล้วย อะโวคาโด ฝรั่ง
- ทานอาหารโปรตีนสูง สามารถลดอัตราการเกิดโรคเบาหวานในผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวานได้ โดยเน้นเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ โปรตีนจากพืช เช่น ปลา อกไก่ ถั่วเหลือง เต้าหู้
- หลีกเลี่ยงอาหารหรือจำกัดเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในส่วนประกอบมาก เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม รวมถึงการหลีกเลี่ยงน้ำตาลเทียม ซึ่งอาจทำให้กลับมาติดหวานและเกิดโรคร้ายตามมาได้
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ เพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
4. โรคซึมเศร้า
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในผู้หญิงช่วงวัยทอง ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อร่างกายและเกิดโรคร้ายตามมาเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสมอง ทำให้ผู้หญิงวัยทองหรือคุณผู้อ่านหลายท่านมีอารมณ์แปรปรวนจากสาเหตุการเปลี่ยนแปลงในชีวิตหลายๆ อย่าง อาทิ สภาวะสังคม ครอบครัว ตลอดจนร่างกายจากการหมดประจำเดือนหรือหมดภาวะเจริญพันธุ์ สารเคมีในสมอง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ ล้วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจของผู้หญิงในวัยทองตามมา
“ภาวะซึมเศร้า” เป็นภาวะและโรคร้ายที่พบได้มากที่สุด โดยผู้ที่มีอาการมักมาด้วยอารมณ์เศร้า เครียดง่าย วิตกกังวล หรือรู้สึกไม่มีความสุข อยากฆ่าตัวตาย ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางกาย เช่น การไม่มีแรงจะทำอะไร ไร้พลังงาน นอนไม่หลับหรือหลับมากเกินไป ตลอดจนความอยากอาหารที่เปลี่ยนไปจนน้ำหนักลดหรือเพิ่มผิดปกติ และในบางอ่านอาจมีอาการปวดหัว ปวดหลังไม่ทราบสาเหตุ นี่จะเป็นอีกหนึ่งโรคที่แม้ผู้ที่ยังไม่เข้าสู่วัยทอง หรือผู้ที่เข้าสู่วัยทองแล้ว ควรหมั่นสังเกตตนเองและป้องกันตั้งแต่เนิ่น
วิธีป้องกันโรคซึมเศร้าในผู้หญิงวัยทอง
อาการโรคซึมเศร้า ยังคงไม่มีวิธีรักษาหรือป้องกันภาวะซึมเศร้าได้ แต่หากคุณผู้อ่านพบว่าตนเองเริ่มมีอาการ หรือคาดว่าอาจจะเป็นอาการที่อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ ควรที่จะ…
- ควบคุมอารมณ์และความเครียดที่กำลังเกิดขึ้น ปล่อยให้ตนเองผ่อนคลาย ยืดหยุ่น รักและนับถือตนเองให้มากยิ่งขึ้น
- พูดคุยกับครอบครัว หรือสร้างเครือข่ายทางสังคมจากการพูดคุยกับเพื่อน โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ยากลำบาก เพื่อระบายความรู้สึกที่อัดอั้นในใจ
- เมื่อเริ่มรู้สึกมีอาการซึมเศร้า ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อป้องกันไม่ให้อาการแย่ลง จนเกิดเป็นโรคร้ายติดตัว การรักษาอย่างสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันไม่ให้ภาวะซึมเศร้าเกิดซ้ำได้
ดูแลตนเองให้ดียิ่งขึ้นจากมื้อหลัก ด้วยอาหารเสริม
การจะรับประทานสารอาหารดังกล่าวให้ครบทุกมื้อนั้น อาจเป็นเรื่องยากสำหรับบางท่าน ดังนั้น การมองหา “อาหารเสริม” เพื่อเติมเต็มให้สารครบถ้วนในแต่ละมื้ออาหาร จึงไม่ใช่เรื่องแปลกและเสียหายแต่อย่างใด นับเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่สำคัญ ป้องกันการเกิด ลด และแก้อาการร้อนวูบวาบในวัยทอง
แล้วอาหารเสริมที่ว่าควรจะเป็นอย่างไร วันนี้เรามีอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อว่า “ดีเน่ ฟวาโวพลัส” DNAe Flavoplus ผลิตภัณฑ์จากคุณหมอและเภสัญไทยที่น่าเชื่อถือ และมีงานวิจัยรองรับมากถึง 7 ชิ้น
“ดีเน่ ฟวาโวพลัส” DNAe Flavoplus เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมในรูปแบบแคปซูล ที่ใช้สารสกัดเข้มข้นจากธรรมชาติ เพียงทานครั้งละ 1 แคปซูลหลังมืออาหารที่สะดวก นอกจากสารสกัดหลักที่สำคัญอย่าง ถั่วเหลือง ที่มีไฟโตรเอสโตรเจน มีส่วนในช่วยลดอาการวัยทองแล้ว ยังมีสารสกัดตัวอื่นๆ ที่คุณหมอหลายๆ ท่านแนะนำให้ทานในมื้ออาหารอีก เช่น
- สารสกัดงาดำ ช่วยบำรุงเส้นผม ลดการอักเสบของกระดูกและข้อ ลดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- สารสกัดจากแปะก๋วย เพิ่มการไหลเวียนเลือดไปบำรุงสมอง ช่วยเพิ่มความจำ หลับสบาย ลดอาการนอนไม่หลับ ทำให้ตื่นเช้ามาแล้วสดชื่น
- อินูลิน พรีไบโอติก ช่วยปรับสมดุลทางเดินอาหารและลำไส้ ดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้น และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากโรคต่างๆ
สรุป
การป้องกันและดูแลตนเองของผู้หญิงในช่วงวัยทองนั้นต้องอาศัยความเข้าใจ การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ การดูแลสุขภาพอย่างองค์รวม ทั้งร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ จะช่วยให้คุณก้าวผ่านช่วงเวลานี้และปลอดโรคร้ายได้อย่างแน่นอน